Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19962
Title: | กายวิภาคของเส้นประสาท lateral femoral cutaneous ที่สัมพันธ์กับ inguinal ligament, anterior superior iliac spine, pubic tubercle และหลอดเลือดแดง femoral |
Other Titles: | Anatomy of the lateral femoral cutaneous nerve related to the inguinal ligament, anterior superior iliac spine, pubic tubercle and femoral artery |
Authors: | ปรเมศวร์ ดอกลำใย |
Advisors: | สิทธิพร แอกทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sithiporn.A@Chula.ac.th |
Subjects: | ประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เส้นประสาท lateral femoral cutaneous (LFCN) ออกจากด้านข้างของกล้ามเนื้อ Psoas ทอดข้ามกล้ามเนื้อ iliacus ไปยัง anterior superior iliac spine (ASIS) และลอดใต้ inguinal ligament (IL) ไปทางด้านข้างของต้นขนส่วนบน เนื่องจากเส้นประสาทนี้มีทางเดินชิดกับ ASIS และข้อสะโพก (hip joint) จึงทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บในระหว่างการทำหัตถการต่างๆ ลักษณะทางกายวิภาคของ LFCN มีความแปรผันค่อนข้างมาก ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลเกี่ยวกับแขนงของ LFCN ในแง่ของความแตกต่างระหว่างเพศและข้างซ้าย-ขวา ยังคงมีน้อย การศึกษานี้ได้ทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว ซึ่งทำการศึกษาทั้งหมด 85 ตัวอย่างจาก 43 ศพทั้ในเพศชายและเพศหญิง โดยการเลาะเนื้อเยื่อบริเวณ inguinal วัดระยะทางจาก LFCN ไปยัง จุดอ้างอิงทางกายวิภาค คือ ASIS, pubic tubercle (PT) และหลอดเลือดแดง femoral (FA) ตามแนวของ IL ส่วนมากพบเส้นประสาทที่เป็น single trunk (มากกว่า 65%) ซึ่งแตกแขนงระดับต่ำกว่า IL โดยพบได้มากถึง 4 แขนงและมีระยะทางเฉลี่ยน้อยกว่า 2 เซนติเมตร ทางด้าน medial ต่อ ASIS นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ระยะที่มากที่สุดประมาณ 6 เซนติเมตร ระยะทางของ LFCN ในกรณีของ bifurcation มีความใกล้เคียงเมื่อเทียบกับกรณีของ single trunk ในทางตรงกันข้าม ค่าที่ได้จะมีความแปรผันมากในกรณี 3 แขนงหรือ 4 แขนง (พบรวมกัน 3 ตัวอย่าง) เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างเพศและข้างซ้าย-ขวา พบไม่สมมาตรในแง่ของรูปแบบการแตกแขนง 25% จากตัวอย่างทั้งหมด อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างเพศหรือข้างในเรื่องระยะทางเล็กน้อย ข้อมูลเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บของ LFCN ในการทำหัตถการบริเวณสะโพกหรือต้นขา นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสำเร็จในการฉีดยาชาที่ LFCN อีกด้วย |
Other Abstract: | Lateral femoral cutaneous nerve (LFCN) emerges from the lateral border of the psoas major, and crosses the iliacus obliquely, running towards the anterior superior iliac spine and then passes behind the inguinal ligament to the lateral of the thigh. Because of its proximity to the anterior superior iliac spine (ASIS) and hip joint, the LFCN is prone to injuries during various procedures. Anatomy of this nerve is highly variable among studies. Moreover, measurement data regarding its branches including the differences between genders and sides are still lacking. This study was, therefore, done to clarify these issues. Eighty-five thighs from 43 cadavers of both genders were dissected at the inguinal region. Distances from each branch of the LFCN to palpable landmarks: the ASIS, pubic tubercle (PT) and femoral artery (FA) were measured along the IL. Up to four branches of the LFCN were found; however, the single trunk was the most common form (>65%). The common site of this pattern on the IL was within 2 cm medial to the ASIS but could be present at over 6 cm. The distances in case of bifurcation were mostly comparable to those of the single trunk. In contrast, the values varied considerably in the cases with three or more branches (three cases). Regarding side and gender, asymmetry in the branching pattern was found in one fourth of specimens. However, only some minor differences between genders or sides in the measurement data were seen. These findings suggest that asymmetry and multiple branches of the LFCN should be concerned. The measurement data are also useful for localizing the LFCN with higher accuracy |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19962 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1999 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1999 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Porames_do.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.