Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20056
Title: Vaterbilder in Peter Hartlings Nachgetragene liebe, Christoph Meckels Suchbild. Uber meinen vater und Elisabeth Plessens Mitteilung an den Adel
Other Titles: ภาพของตัวละครพ่อในนวนิยายเรื่อง นาคเกทราเกนเนอ ลีเบอ ของเพเทอร์ แฮร์ทลิงซูคบิลท์. อือเบอร์ มายเนน ฟาเธอร์ ของคริสทอฟ เมคเคลและมิทไทลุง อัน เดน อาเดล ของเอลิซาเบธ เพล็สเซน
Authors: Atthaphon Techaphan
Advisors: Thanomnuan O'charoen
Aratee Kaewsumrit
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: othanomn@chula.ac.th
arateek@gmx.de
Subjects: Fathers
Fiction
Characters and characteristics
Fathers in literature
Hartlings, Peter. Nachgetragene Liebe -- Criticism and interpretation
Meckels, Christoph. Suchbild. Uber meinen vater -- Criticism and interpretation
Plessens, Elisabeth. Mitteilung an den adel -- Criticism and interpretation
Parent and child in literature
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Die vorliegende Arbeit beschaftigt sich mit der Darstellung von drei Vaterfiguren in Nachgetragene Liebe (1980) von Peter Hartling, Suchbild. Uber meinen Vater (1980) von Christoph Meckel und Mitteilung an den Adel (1976) Von Elisabeth Plessen. Untersucht wird die Darstellung der Vaterfiguren im Zusammenhang mit anderen Figuren, in erster Linie mit den Kinderprotagonisten. Herangezogen werden sowohl die sozialen und politischen Ereignisse, als auch die Elemente aus dem Lebenslauf der Autoren. Aus der Untersuchung geht hervor, dass die Vaterbilder in den drei Werken negativ prasentiert werden. Diese negativen Bilder, namlich die unerwunschten und nicht nachzuahmenden, hangen mit dem ideologischen Standpunkt der Kinderprotagonisten zusammen: Die Vaterfigur in Nachgetragene Liebe wird als schweigsam, introvertiert, unfahig in Kommunikation und Liebesbezeugungen, und nicht zuletzt als Gegenbild zum, heldenhaften "Adolf Hitler prasentiert. In Suchbild. Uber meinen Vater und Mitteilung an den Adel wird die Darstellung der Vaterbilder von der ideologischen Ambivalenz gepragt. Lebenswerte und Lebensstil der Vaterfiguren sind ebenso wie lyrische Eskapaden bzw. Standesbewusstsein mit der Realitatswahrnehmung und der Verstrickung in den Nationalsozialismus gekoppelt, durch die die Trennung zwischen den Ideologien der Vater-und der Kinderfiguren gekennzeichnet ist. Die Darstellung der negativen Vaterbilder funktionierl jedoch in allen drei Werken auf verschiedene Weise: In Nachgetragene Liebe betont sie die Fehlerhaftigkeit des Sohnes in der Kindheit und ermoglicht eine Versohnung, wahrend sie in Suchbild und Mitteilung an den Adel als eine kritische Reaktion der Kinder auf die Ideologie der Vaterfiguren dient
Other Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาพของตัวละครพ่อที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง นาคเกทราเกนเนอ ลีเบอ (Nachgetragene Liebe) ของเพเทอร์ แฮร์ทลิง (Peter Hartling) ซูคบิลท์. อือเบอร์ มายเนน ฟาเธอร์ (Suchbild. Uber meinen Vater) ของคริสทอฟ เมคเคล (Christoph Meckel) และมิทไทลุง อันเดน อาเดล (Mitteilung an den Adel) ของเอลิซาเบธ เพล็สเซน (Elisabeth Plessen) โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวละครพ่อกับตัวละครลูก รวมทั้งกับตัวละครอื่นๆ ภายในเรื่อง พร้อมทั้งวิเคราะห์การนำเสนอภาพตัวละครพ่อโดยพิจารณาจากสภาพสังคมและการเมืองในช่วงปี ค.ศ. 1970 และชีวประวัติบางส่วนของผู้ประพันธ์ประกอบ จากการวิจัยพบว่า ผู้เล่าเรื่องซึ่งเป็นตัวละครลูกได้นำเสนอภาพของตัวละครพ่อออกมาในทางลบ ซึ่งเป็นภาพที่น่าผิดหวังและไม่น่าเอาเป็นแบบอย่าง ทั้งนี้เป็นเพราะตัวละครพ่อและตัวละครลูกมีอุดมการณ์ทางการเมืองและค่านิยมทางสังคมที่ขัดแย้งกัน ตัวละครพ่อในเรื่อง นาคเกทราเกน เนอ ลีเบอ ถูกนำเสนอให้มีลักษณะของพ่อแบบคนรุ่นเก่าคือ เก็บงำความรู้สึก ไม่สื่อสารและไม่แสดงความรักที่มีต่อตัวละครลูก นอกจากนั้นยังมีลักษณะตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งเป็น "ภาพวีรบุรุษ" ของตัวละครลูก ในขณะที่ตัวละครพ่อในเรื่อง ซูคบิลท์. อือเบอร์ มายเนน ฟาเธอร์ และมิทไทลุง อัน เดน อาเดล ถูกนำเสนอให้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ย้อนแย้ง เนื่องจากค่านิยมในการใช้ชีวิตเช่นการหลีกหนีความเป็นจริงผ่านบทกวีหรือความยึดมั่นในความเป็นชนชั้นสูงของตัวละครพ่อเป็นปัจจัยปิดกั้นไม่ให้รับรู้ถึงความเป็นจริงและเหตุการณ์ทางสังคมและการเมือง และนำไปสู่การมีส่วนร่วมในลัทธินาซี ซึ่งการมีส่วนร่วมดังกล่าวถือเป็นเส้นแบ่งอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างตัวละครพ่อและตัวละครลูกออกจากกัน การเสนอภาพทางลบของตัวละครพ่อมีบทบาทต่างกันออกไปในแต่ละเรื่อง ในเรื่อง นาคเกทราเกนเนอ ลีเบอ ภาพที่น่าผิดหวังของตัวละครพ่อเน้นย้ำให้เห็นความผิดพลาดในวัยเด็กของตัวละครลูกที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับลัทธินาซี และเปิดโอกาสให้ลดความขัดแย้งระหว่างตัวละครทั้งสอง ในขณะที่ภาพลบของตัวละครพ่อในเรื่อง ซูคบิลท์. อือเบอร์ มายเนน ฟาเธอร์ และมิทไทลุง อัน เดน อาเดล คือการวิพากษ์ของตัวละครลูกต่ออุดมการณ์ทางการเมืองและค่านิยมทางสังคมของตัวละครพ่อ
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: German
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20056
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.973
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.973
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atthaphon_te.pdf963.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.