Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20068
Title: ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
Other Titles: Experience of nurses in caring for patients with influenza H1N1
Authors: ศิริพร บุญชาลี
Advisors: สุชาดา รัชชุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.Ra@Chula.ac.th
Subjects: ไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1 -- ผู้ป่วย -- การดูแล
พยาบาลกับผู้ป่วย -- ไทย
พยาบาล -- ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน และการสาธารณสุข รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศอย่างประมาณค่าไม่ได้ อีกทั้งการระบาดในครั้งนี้พบผู้ติดเชื้อเป็นบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth interview) จากพยาบาลวิชาชีพมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 16 คน เครื่องมือคือแนวคำถามในการสัมภาษณ์และตัวผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi (1978) ผลการศึกษา พบว่า ความหมายตามการรับรู้ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แบ่งได้เป็น 3 ประเด็น คือ การทำงานที่ต้องใช้ทักษะป้องกันการติดเชื้อ การทำงานบนความเสี่ยงกับคนไข้โรคติดเชื้อ และเป็นประสบการณ์การทำงานที่ใช้ทักษะเฉพาะทาง ผลการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ พยาบาลเกิดความรู้สึกกลัวและเครียดต่อภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน ซึ่งการเตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานจะทำให้ความรู้สึกกลัวและเครียดลดลง สำหรับประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานของพยาบาล คือ ให้การดูแลและรักษาพยาบาลตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย ใช้ทักษะการประสานงานเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้พยาบาลต้องมีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อจากการปฏิบัติงานโดย 1) วางแผนการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) การดูแลตนเองให้แข็งแรง และ 3) หลัก 3 ประการในการป้องกันการติดเชื้อขณะปฏิบัติงานคือ การเตือนสติตนเอง ต้องป้องกันทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วย และป้องกันตนเองแพร่เชื้อหลังปฏิบัติงาน ผลการศึกษายังพบได้ว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ปฏิบัติงานของตนด้วยจิตสำนึกต่อความหน้าที่ของพยาบาล โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าตอบแทน และสิ่งจูงใจใจที่ทำให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน คือความประทับใจที่หัวหน้าหอผู้ป่วยคอยช่วยเหลือด้านภาระงานอย่างเข้าใจ และให้คำปรึกษา การวิจัยในครั้งนี้ทำให้เข้าใจการรับรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งจัดได้ว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
Other Abstract: The spread of influenza A H1N1, a new emerging disease which is occurring all over the world including Thailand, has major impacts on people health, public health, and economic cost. It found that a lot of healthcare professions were infected. The purpose of this study was to explore meaning and working experiences of nurses who were caring for patients with influenza A H1N1. Study participants were sixteen nurses who had an experience in caring for influenza A H1N1 patients. The in-depth interview was used for data collection, and the Colaizzi’s method was used for data analysis. The results showed that there were three emerged from the data: working with protection themselves from infection disease, working with the risk regarding infected patients, and having experience in special skill working. The results indicated that experience of nurses in caring for patients with influenza A H1N1 were fear and stress of risk of infection which can be reduced by preparing for work readiness. The working experiences included providing nursing care based on patient’s problems, and using coordinating skill to enhance effective care. Nurses prevented themselves from infection by 1) undertaking effective nursing care plan; 2) making themselves healthy; 3) having three rules for prevention of infection which were reminding themselves, prevention infection during patient’s contact, and prevention the spread of infection post patient’s contact. In addition, the results pointed out that nurses working in influenza A H1N1 wards, worked with a sense of nursing mind regardless of any incentive. The motivation for moral and encouragement was impression on supporting and consulting from the head nurses. Results of this study provide more understanding of working experience of nurses who were caring for patients with influenza A H1N1. Results of this can be used to guide the development of the effectiveness and efficiency nursing service in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20068
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.403
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.403
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_bo.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.