Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20310
Title: แนวทางการออกแบบชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านสาขลา จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Urban design guidelines for flood-risk areas: a case study of Ban Sakhla community, Samut Prakan province
Authors: สิริมา ศรีสุวรรณ์
Advisors: นิรมล กุลศรีสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Niramol.K@Chula.ac.th
Subjects: การออกแบบชุมชน -- ไทย -- บ้านสาขลา (สมุทรปราการ)
พื้นที่น้ำท่วมถึง -- ไทย -- บ้านสาขลา (สมุทรปราการ)
การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- บ้านสาขลา (สมุทรปราการ)
Communities -- Design -- Thailand -- Ban Sakhla (Samut Prakan)
Floodplains -- Thailand -- Ban Sakhla (Samut Prakan)
Flood control -- Thailand -- Ban Sakhla (Samut Prakan)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังคมไทยได้ชื่อว่าเป็นสังคมเมืองน้ำ มีชุมชนริมน้ำจำนวนมากและต่างมีภูมิปัญญาในการใช้ชีวิตและสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับน้ำในรูปแบบต่างๆ ได้ แต่เนื่องจากปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่มากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมชุมชน ภูมิปัญญาที่มีมาในอดีตจึงไม่สามารถรองรับระดับน้ำที่สูงขึ้นได้ รวมทั้งที่ผ่านมาการแก้ปัญหายังจำกัดอยู่ในระดับสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมเท่านั้น ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชน ดังนั้นจึงควรมีการแนะนำแนวทางการออกแบบองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชนริมน้ำเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้ โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ ได้แก่ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางกายภาพของชุมชนกับระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ 2) ศึกษาแนวคิดการออกแบบพื้นที่ชุมชนให้เข้ากับความเสี่ยงภัยน้ำท่วม และ 3)เสนอแนวทางออกแบบองค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมรูปแบบต่างๆ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาผ่านชุมชน “บ้านสาขลา” ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับระบบน้ำ และมีการใช้งานของพื้นที่หลายรูปแบบ การศึกษาพบว่าชุมชนริมน้ำแห่งนี้มีองค์ประกอบทางกายภาพที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในชุมชน มีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับการใช้งานในระดับกลุ่มอาคารให้เชื่อมต่อกับพื้นที่ริมน้ำและบกได้อย่างเป็นระบบและมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามปัจจุบันชุมชนกำลังประสบปัญหาระดับน้ำขึ้นน้ำลงที่สูงขึ้นกว่าในอดีต และมีแนวโน้มจะเกิดน้ำท่วมมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ชุมชนต้องปรับตัวเพื่อเลี่ยงระดับน้ำ แต่การปรับตัวในปัจจุบันได้ทำให้องค์ประกอบทางกายภาพของชุมชนที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นระบบและขาดความต่อเนื่อง จนนำไปสู่ปัญหาดังต่อไปนี้ 1) ขาดที่ว่างสำหรับทางสัญจรเชื่อมพื้นที่น้ำ-บก 2) ขาดที่ว่างสำหรับคัดสินค้าประมงในครัวเรือน 3) การปรับตัวของกลุ่มอาคารและทางสัญจร ทำให้เกิดการปิดล้อมและเกิดพื้นที่ว่างใช้งานไม่ได้จนเป็นแหล่งเสื่อมโทรม 4) ระดับโครงข่ายการสัญจรใช้งานได้ไม่ต่อเนื่อง 5) มีปรับเปลี่ยนการใช้งานของอาคารและที่ว่างขัดกับความต้องการใช้งานจริง และ6) สูญเสียพื้นที่ใช้งานระดับล่าง เนื่องจากการปิดล้อมรั้วพื้นที่ริมน้ำ ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขที่เสนอแนะคือ มีการเปลี่ยนรูปแบบองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน ประกอบด้วย การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์อาคาร ระบบคมนาคมสัญจร ระบบที่ว่างที่ใช้ทำกิจกรรมของชุมชน ตามลักษณะการใช้งาน ลักษณะน้ำขึ้น-น้ำลงที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งตามระดับน้ำท่วมที่คาดการณ์ในอนาคต
Other Abstract: Thailand is known for begin a waterfront city. There are many waterfront communities where the local people have dispensed the wisdom of being adaptable to the water. However, due to the fact that the global warming has influenced water level and increased flood risk in communities, the local wisdom seem unable to cope with higher water levels. In general, the solutions for such problems have been based upon architectural and engineering aspect, rather than on local sustainability .So, some appropriate guidelines on the adaptation of physical elements of waterfront communities are required. The objective of this research are 1) to study the inter-relationship between physical elements of the community and the changing of water levels, 2) to study some design concepts in order to cope with flood risk, and 3) to propose physical design components for different types of flood risk areas. Within this research, Ban Saklah was chosen as a case study because of its close relation to the water and its various types of space uses. The study found that the varieties of space uses in this community were related physical elements and the life styles of local people. Land allocation for buildings usage was also in accordance with water levels and geographical features. However, the community had been suffering from the changing of water levels and the predictions about flooding in the future. The people had adapted themselves by staying away from water. As a result, the physical element of the community became less interconnected. The following problems ware found: 1) a lack of a spatial linkage between water area and land area, 2) a lack of space and household fishery, 3) an unused and dilapidated areas cause by building blocks and walkway changes. 4) a failure of pedestrian circulation, 5) a conflict of land use and 6) a lost of ground space because the water front area had been fencing off to prevent flood levels. For solutions, physical elements of the community should be changed, for instance: and use, building use, transportation systems and open space for community activities, such elements should be adapted in accordance with spatial utilization, nature of tide levels and the changing of flood levels in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20310
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2164
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2164
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirima_sr.pdf18.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.