Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20397
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างประมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์รายวันในอากาศกับการมารับการรักษาด้วยอาการระบบหายใจเฉียบพลัน ณ รพ.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
Other Titles: Correlation between the daily sulphur dioxide level and the number of patients with acute respiratory symtom at Mae Moh Hospital, Amphoe Mae Moh, Lampang Province
Authors: เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
มลพิษทางอากาศ
ทางเดินหายใจ -- โรค
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเชิงนิเวศน์ (Ecological study) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์รายวันกับการมารับการรักษาด้วยอาการระบบหายใจเฉียบพลันในประชากร อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2550 และวิเคราะห์ข้อมูลโดย Generalized Linear Model ผลการศึกษาเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แยกตามตำบลที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ โดยทำการปรับตัวแปร ด้วยวันของสัปดาห์ที่ผู้ป่วยมารับการรักษา และข้อมูลอุตุนิยมวิทยา พบว่าจำนวนครั้งของผู้ป่วย ที่มารับการรักษาด้วยอาการระบบหายใจเฉียบพลันทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับปริมาณ SO₂ 24 ชั่วโมง ที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดในพื้นที่ ต.แม่เมาะ และ ต.นาสัก ณ วันที่มารับการรักษาและ 2 วัน ก่อนมารับการรักษาตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) จำนวนครั้งของผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยอาการระบบหายใจเฉียบพลันทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับปริมาณ SO₂ สูงสุด ที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดในพื้นที่ ต.บ้านดง ที่ 2 วันก่อนมารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในพื้นที่ อ.แม่เมาะทั้งหมด โดยทำการปรับตัวแปร ด้วยวันที่ผู้ป่วยมารับการรักษา ข้อมูลปริมาณ NO₂ และ PM₁₀ ที่เหมาะสมและข้อมูลอุตุนิยมวิทยา พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยอาการระบบหายใจส่วนบนอักเสบเนื่องจากการระคาย จำนวนครั้งของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับปริมาณ SO₂ สูงสุดที่ 2 วัน ก่อนมารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) สรุปผลการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นว่าพื้นที่ อ.แม่เมาะนั้นยังมีปัญหามลพิษอยู่ในระดับหนึ่งโดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อระบบหายใจของประชาชนอันเกิดจากการสัมผัสกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้งมีการเฝ้าระวังและแก้ไขอย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาดังกล่าว
Other Abstract: This ecological study aimed at determining correlation between the daily sulphur dioxide level and the number of patients with acute respiratory symptom at Mae Moh hospital, Amphoe Mae Moh, Lampang Province. A study was conducted during 1st November 2006 and 28th February 2007. The association was assessed using generalized linear model. The association was classified by sub-district and adjusted for day of week and weather variables. Results showed that the number of patients with acute respiratory symptom was statistically significant (p value < 0.05) with the level of 24 hr SO₂ that monitored in Sub-district Mae Moh and Na Sak at date of visit and two days before visit. The number of patients with acute respiratory symptom was statistically significant (p value < 0.05) with the daily level of peak SO₂ that monitored in Sub-district Baan Dong at two days before visit. The association in Amphoe Mae Moh was adjusted for date, weather variables, 24 hr NO₂ and 24 hr PM₁₀ and showed that the number of patients with irritant rhinitis symptom was statistically significant (p value < 0.05) with the daily level of peak SO₂ that monitored at two days before visit. In conclusion, this study showed that Amphoe Mae Moh has the problem about air pollution especially sulphur dioxide. This problem needs surveillance and attention from concerned authorities
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20397
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.501
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.501
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sethasiri_sa.pdf8.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.