Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20400
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: The effect of self-management program on reducing acute exacerbations in persons with chronic obstructive pulmonary disease
Authors: รัตนา พรหมบุตร
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: ปอด -- โรค
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการตรวจรักษา ณ คลินิกอายุรกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระบี่ จำนวน 40 คน เลือกเข้ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองโดยการจับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค และประเภทของยาที่รักษา กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองที่สร้างจากแนวคิดการจัดการตนเองของ Bourbeau และคณะ (2003) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด โดยการวัดอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองมีอาการกำเริบเฉียบพลันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก (สมรรถภาพปอด) เพิ่มขึ้น ([x-bar] = 373.50, SD = 39.11) 2. อาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก (สมรรถภาพปอด) เพิ่มขึ้น ([x-bar]กลุ่มทดลอง= 373.50, SD = 39.11,[x-bar] กลุ่มควบคุม = 231.00, SD =33.86)
Other Abstract: The purpose of this quasi - experimental research were to study the effect of the self - management program on reducing acute exacerbations in persons with chronic obstructive pulmonary disease and to compare acute exacerbrations in persons with chronic obstructive pulmonary disease. The sample were 40 COPD persons at the medical clinic in out patient department, Krabi Hospital, were purposively selected by a matched pair technique into a control group and an experimental group. Both groups were matched pair for age, illness severity, and treated medication. The experimental group received the six - week session of self -management program, while the control group received conventional nursing care. Statistical techniques used in data analysis were frequency, percentage, means, standard deviation and t - test. The results of this study demonstrated that: 1. The experimental group showed on reducing acute exacerbations in persons with COPD after receiving the self - management program were significant difference at level of .05. 2. The mean of acute exacerbations in persons with COPD in the experimental and the control group were significant difference at level of .05 and the experimental group had higher level of Peak Expiratory Flow Rate ([x-bar] experimental group= 373.50, SD = 39.11, [x-bar] control group = 231.00, SD = 33.86).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20400
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.521
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.521
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattana_Pr.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.