Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20881
Title: การวิเคราะห์เครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย
Other Titles: An analysis of Thai industrial clusters
Authors: พิสิฐ เจือไทย
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vanchai.R@chula.ac.th
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและสภาวะของลักษณะการดำเนินการในเครือข่ายวิสาหกิจ ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของเครือข่ายวิสาหกิจ ตลอดจนศึกษาและพัฒนาแนวทางความร่วมมือระหว่างกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ จากการรวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิพบว่ากลุ่มการผลิตและบริการในประเทศไทยที่มีการรวมกลุ่ม และมีความร่วมมือช่วยเหลือกันมีจำนวนทั้งสิ้น 322 กลุ่มความร่วมมือ ในจำนวนนี้มีกลุ่มที่เข้าข่ายเป็นเครือข่ายวิสาหกิจจำนวนทั้งสิ้น 152 กลุ่มเครือข่าย โดยมีระดับความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน ในการวิเคราะห์รูปแบบและลักษณะการดำเนินงานในเครือข่ายวิสาหกิจ ได้เลือกเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษา โดยศึกษาใน 2 กลุ่มความร่วมมือกล่าวคือ กลุ่มความร่วมมือที่มีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายวิสาหกิจแล้วโดยได้เลือกเครือข่ายฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเป็นต้นแบบ จากนั้นได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มความร่วมมือผู้ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังไม่มีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายวิสาหกิจ โดยใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาส และการวิเคราะห์องค์ประกอบ 4 ด้านเพื่อพิจารณาศักยภาพของกลุ่ม พบว่ากลุ่มความร่วมมือดังกล่าวมีความพร้อมและศักยภาพในการจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจหรือคลัสเตอร์ได้ แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งความร่วมมือภายในกลุ่ม ในส่วนของปัจจัยแห่งความสำเร็จและล้มเหลวของเครือข่ายวิสาหกิจได้ใช้เทคนิคเดลฟายในการวิเคราะห์โดยทำแบบสอบถาม 2 รอบ พบว่าสามารถแบ่งการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และล้มเหลวได้เป็น 2 ส่วนคือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จและล้มเหลวภายในและภายนอกเครือข่าย โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จภายในที่มีความสำคัญที่สุดก็คือสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจต้องมีจิตสำนึกที่จะรวมกลุ่มกัน และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ปัจจัยแห่งความสำเร็จภายนอกคือการสนับสนุนจากสถาบันต่าง ๆ สำหรับปัจจัยแห่งความล้มเหลวภายในเครือข่ายที่สำคัญคือกลุ่มเครือข่ายยังไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะทำการพัฒนา ส่วนปัจจัยแห่งความล้มเหลวภายนอกเครือข่ายที่มีความสำคัญคือขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Other Abstract: This research objective is to analyze characteristics and status of selected Thai industrial clusters in order to identify key success and failure factors of the clusters and consequently develop and suggest a possible partnership among the clusters So as to analyze characteristics and status, primary and secondary data of various industries at different levels of strengths, which comprise 322 partnership groups of which 152 are consider clusters, were gathered to select well-established clusters in electronic industry which is the hard disk drive cluster as an example to study the possibility of partnership development into a cluster among electronic parts group, which is not yet an industrial cluster, by SWOT analysis and Diamond Model. The analysis transpires that the electronic part partnership group has potential to develop into an Industrial cluster. The research also adopt a Delphi method by implementing structured interview twice to find out key success and failure factors, the research yields two conclusions. Firstly, among established industrial clusters, long-term trust in each another is the most important success factors, whereas the most significant key failure factor is lacking strength to expand into a larger cluster. Secondly, for those group preparing to develop to an industrial cluster, both success and failure factors are relying on government and institutional supports.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20881
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phisit_ju.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.