Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20966
Title: | การใช้ประโยชน์ของแหล่งชุมชนประกอบการสอนสังคมศึกษา ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The use of community resources for teaching social studies in Chiang Mai lower secondary schools |
Authors: | ประหยัด สายวิเชียร |
Advisors: | พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของแหล่งความรู้ชุมชนประกอบการสอนสังคมศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงขอบเขต ลักษณะการใช้ ปัญหาและอุปสรรคตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครู นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเจ้าหน้าที่ประจำแหล่งความรู้ชุมชน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถาม 3 ชุดไปยังครูผู้สอนสังคมศึกษา จำนวน 30 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 300 คนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 10 โรงเรียนและเจ้าหน้าที่ประจำแหล่งความรู้ชุมชน 10 แหล่ง รวมจำนวนตัวอย่างประชากรทั้งหมด 340 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคำตอบ ผลการวิจัยปรากฏว่า ครูและนักเรียนทุกคนเคยใช้แหล่งความรู้ชุมชนบางแหล่งเพื่อประกอบการเรียนการสอนสังคมศึกษา ประเภทของแหล่งความรู้ชุมชนที่ครูและนักเรียนนิยมใช้มากที่สุดคือ สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เอกสารที่ตีพิมพ์ต่างๆและภาพยนตร์ แหล่งความรู้ชุมชนที่ใช้น้อยคือ ศูนย์การคมนาคม สถานกงศุลหรือสำนักงานของชาวต่างประเทศ วิธีการที่ครูและนักเรียนใช้แหล่งความรู้ชุมชนมากที่สุดคือ การไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่น เช่นห้องสมุดประชาชน เป็นต้น และการชมภาพยนตร์จากแหล่งความรู้ทางสังคมศึกษา วิธีการที่ใช้น้อยคือ การไปสัมภาษณ์ผู้มีความรู้ในชุมชน ส่วนวิธีการที่เจ้าหน้าที่ประจำแหล่งความรู้ชุมชนใช้มากในการให้บริการ คือ การบรรยาย การแจกเอกสาร การให้ขอยืมเอกสาร หรือวัสดุต่างๆ และการให้ค้นคว้าจากหนังสือ หรือเอกสารต่างๆ ภายในสถานที่แหล่งความรู้ วิธีการใช้น้อย คือการอภิปราย ปัญหาและอุปสรรคที่ครูและนักเรียนพบมากคือ จำนวนนักเรียนมาก ครูไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับเตรียมงาน โรงเรียนไม่จัดเวลาพิเศษเพื่อฟังวิทยากร และนักเรียนไม่รู้จักมารยาทในการฟัง ครูไม่มีเวลาและไม่สะดวกในการไปติดต่อของยืมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ เจ้าหน้าที่ประจำแหล่งความรู้ ประสบปัญหาในการบริการคือ ผู้ให้ใช้บริการไม่แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการพานักเรียนไปศึกษา ครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่ประจำแหล่งความรู้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า แหล่งความรู้ชุมชน มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนสังคมศึกษามาก เพาระช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์โดยตรง และกว้างขวางยิ่งขึ้น และเสนอแนะว่า จังหวัดโรงเรียน หรือกระทรวงศึกษาธิการ ควรจัดให้มีการอบรมครู และมีคู่มือครู เกี่ยวกับการใช้แหล่งความรู้ชุมชนออกเผยแพร่ ทางโรงเรียนควรจัดทัศนศึกษา จัดอภิปราย และมีการเชิญ วิทยากรมาบรรยายให้มากขึ้น และครูควรแจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่อง ที่ต้องการศึกษาให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study the use of community resources for teaching social studies concerning the scope, characteristics of use, problems and obstacles, the opinions and suggestions of teachers, students as well as community resource officers. Three kinds, of questionnaires were sent to 30 social studies teachers, 300 students in 10 Lower Secondary Schools and 10 community resource officers in Chiang Mai. There were altogather 340 samples. The collected data was analyzed by means of percentage, mean and standard deviation. The major findings were every teacher and student had ever used some of the community resources in learning and teaching social studies. The teaching aids from community resources that teachers and students most widely used were printed materials, films and natural resources while the least used were the communication centers, consulates and foreign agencees. Both teachers and students used these resources by most often go to study at the public library. The method of used least were interviewing resource persons in the community. The methods of rendering a service that the community resource officers most widely used were lecture, distribution of materials and facts in the text books while the least used was being resource persons in discussion. Problems and obstacles that teachers and students faced most often were that the students were over crowded, and had no etigettle in listening to guest speakers. The teachers had not enough time for planning activities and for borrowing and using audiovisual aids. Moreover the schools did not provide extra time for them to meet resource persons. Problems that the community resource officers mostly faced in giving services were that teachers did not plan well what they. wanted the students to study. The teachers, students and the community resource officers agreed that the community resources were of great benefit to the teaching and learning of social studies because they provided for students direct experiences. They then suggested that the province, schools or The Ministry of Education should have inservice training program for teacher and provide materials or hand books for using community resources. Schools should arrange field trips, exhibi¬tions and program for speakers. The teachers should inform the community resource officers in advance what they wanted their students to know. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20966 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayad_Sa_front.pdf | 360.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayad_Sa_ch1.pdf | 574.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayad_Sa_ch2.pdf | 282.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayad_Sa_ch3.pdf | 700.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayad_Sa_ch4.pdf | 370.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayad_Sa_back.pdf | 626.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.