Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20977
Title: | ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตชนบทจังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | Rural agricultural occupation in Chonburi Province |
Authors: | ปรีชา อุปโยคิน |
Advisors: | อมรา พงศาพิชญ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Amara.P@Chula.ac.th |
Subjects: | เกษตรกรรม -- ชลบุรี |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตชนบทจังหวัดชลบุรีนี้ต้องการศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมเกษตรกรรมในหมู่บ้านที่มีลักษณะแตกต่างกันทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาการเกษตรอย่างกว้างขวางจังหวัดหนึ่ง ผู้วิจัยได้อาศัยข้อมูลจากโครงการชลบุรี (ของวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ที่ได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐานและสำรวจสภาพทางภูมิศาสตร์ทั่วไปของจังหวัดเขตเมืองและชนบท สำหรับวิธีการที่ศึกษาวิจัยนั้นได้ใช้ 2 วิธี คือ แบบสังเกตและมีส่วนร่วมด้วยและการใช้แบบสอบถาม แต่ในส่วนที่จะเสนอเป็นวิทยานิพนธ์นี้จะศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นชนบท โดยมีเจ้าหน้าที่สถาบันดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดระยะเวลา 1 ปี ในหมู่บ้านซึ่งเป็นการศึกษาแบบใกล้ชิดระยะยาว เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างละเอียดและวิถีทางการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในชนบท วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานใดๆ หากแต่จะมุ่งศึกษาเพื่อจะทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับลักษณะสังคมเศรษฐกิจตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่ปรากฏหรืออาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญสำหรับประชาชนในภูมิภาคนี้ สำหรับตัวอย่างที่นำมาศึกษานี้ได้ใช้วิธีศึกษาครัวเรือนที่มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงการหน้าที่ที่มีต่อชุมชน (Functional Community) เป็นเกณฑ์ในการเลือก เพื่อที่จะได้เห็นลักษณะของชุมชนชนบทอย่างแท้จริง โดยไม่คำนึงถึงครัวเรือนที่มีอยู่ในเขตหมู่บ้านเดียวกันตามกฎหมาย แต่มิได้มีความสัมพันธ์กับสถาบันที่เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน หมู่บ้านแรกที่ศึกษานี้ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มทิศตะวันออกของจังหวัด คือ หมู่บ้านหนองไทร ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคมมีครัวเรือนตัวอย่าง 43 ครัวเรือน หมู่บ้านที่สองคือ หมู่บ้านหนองไผ่แก้ เป็นหมู่บ้านที่เกิดขึ้นในตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง มีครัวเรือนตัวอย่าง 43 ครัวเรือน และหมู่บ้านบางเสร่เป็นชุมชนชายทะเลในตำบลจอมเทียน อำเภอสัตหีบ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดเล็กจึงได้ศึกษาแบบประชากรทั้งหมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งหมด 119 ครัวเรือนสำหรับในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมนี้จะศึกษาเฉพาะจากครัวเรือนเกษตรกรรมที่มีที่ดินในการถือครองในการเพาะปลูกเท่านั้น ได้ตัวอย่างครัวเรือนที่ทำการเกษตรคือ หนองไทร 74 ครัวเรือน หนองไผ่แก้ว 40 ครัวเรือนและที่บางเสร่ 14 ครัวเรือน จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความสำคัญของเกษตรกรรมในหมู่บ้านชนบทในภูมิภาคแห่งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ หมู่บ้านหนองไทร เป็นชุมชนที่มีการอพยพตั้งรกรากนานกว่า 50 ปี เป็นระยะที่โรงงานอุตสาหกรรมยังไม่แพร่หลายประชากรที่เข้ามาบุกเบิกหวังที่จะทำนาเพื่อปลูกข้าวไว้บริโภคเป็นสำคัญ ขนาดที่ดินก็บุกเบิกเท่าที่กำลังความสามารถ ถึงแม้ว่าภายหลังเมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังและอ้อยขึ้นในท้องที่ใกล้เคียง เกษตรกรก็หันมาเพาะปลูกพืชเหล่านี้เพื่อเป็นรายได้บ้าง แต่การพัฒนาไม่ได้เต็มที่เพราะเกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินรายย่อยๆ และมีขนาดจำกัด สำหรับหมู่บ้านหนองไผ่แก้ว พบว่าการเข้ามาบุกเบิกครั้งแรกนั้นก็เพื่อเปลี่ยนสภาพป่าที่ดินทำไร่ ซึ่งต้องใช้ที่ดินเพาะปลูกจำนวนมาก เจ้าของที่ดินมักจะเป็นผู้มีอิทธิพลและเป็นนายทุนที่มิได้เพาะปลูกเอง เกษตรกรที่ทำไร่จึงมีสภาพที่เป็นผู้เช่าส่วนมาก ที่ดินส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์จึงไม่พบปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรมากเท่าใด อย่างไรก็ตาม สภาพการดำรงชีวิตของเกษตรกรยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของนายทุนทีคอยเอารัดเอาเปรียบและมุ่งแต่ประโยชน์จากที่ดินฝ่ายเดียวมากกว่าที่จะสนใจปรับปรุงคุณภาพของดินหรือลงทุนร่วมกับผู้เช่าเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ส่วนหมู่บ้านบางเสร่นั้น โดยที่สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทำให้เกษตรกรรมลดความสำคัญลงไป เนื่องจากที่เป็นชุมชนชนบทชายทะเล ที่ตั้งมานานที่สุด การเกษตรกรรมได้เข้ามาถึงจุดที่ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้มีปัจจัยหลายประการ เช่น มีที่ดินจำกัด ในชุมชนมีการประกอบอาชีพประมง การค้า ธุรกิจมากรายได้ที่ได้จากอาชีพอื่นมีอัตราสูง นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งรับซื้อ ความสำคัญของการเกษตรกรรมจึงลดลงไป ผลจากการศึกษาครั้งนี้พอจะเป็นแนวทางช่วยการตัดสินใจของผู้ที่จะสนใจในการวางแผนพัฒนาด้านเกษตรกรรมในภูมิภาคนี้ หรือที่อื่นๆ ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับภาค หรือทั้งประเทศ โดยเฉพาะเกี่ยวกับความป้องกันความสูญเปล่าในทางเศรษฐกิจเอารัดเอาเปรียบของนายทุน การฟื้นฟูและรักษาสภาพดินโดยการทดลองปลูกพืชอื่นๆ หมุนเวียนการใช้กรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ ฯลฯ เพื่อยกระดับการครองชีพของเกษตรกรให้ดีขึ้นตามแผนพัฒนาประเทศต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to gather facts about agricultural Conditions in rural villages of Chonburi Province, since Chonburi is a province widely developed in agriculture and industry. Information and data used in this study have dean obtained from the study of Socio-economic profile in Chonburi Project of the Chulalongkarn University Social Science Research Institute, carried out during the period of 1970-1972. Interview guides, questionnaires, and participant observation were used to obtain information from farmers in the three villages studied. The object of this study is to try to understand the socio¬economic nature of three agricultural communities in terms of crop cultivation : rice, cassava and sugarcane. The following three villages have been chosen as sample villages in this study Muban Nang Sai in Amphur Panat-Nikom, Muban Nong PaiKeaw in Amphur BanBung, and Muban BangSa-rai in Amphur Sattahip. From the villages studied, we find that in Nong Sai, a village whore rice, cassava, vegetables and fruit trees are grown, there are two types of agriculture : rice for household consumption and cassava as industrial crop. In terms of agricultural activities, this village may be classified as an agro-industrial village. In contrast, in Nang Pai Keaw, the type of agricultural activities are also agro-industry but the crops planted in the village are sugarcane and cassava. The farmers have to rent large areas of land for farming. In terms of now technologies, farmers in the two villages are about as far advanced as one another. In Nong Sai, the farmers use pesticides and herbicides while the farmers in Nong Pai Keaw use tractors. The use of ace technology and not another depends on the local conditions and usefulness of the technology. Bang Sa-rae is the most advanced village among the three villages studied since the people are wage,-earners and fisherman. The village is located near Sattahip, therefore the farmers can become wage-earners and many do not work on agricultural land. anymore. Their income tends to be higher than that of the farmers working in the fields. This village cannot be classified as an agricultural village even though the type of agriculture practices is agro-industry because the farmers have small land and there is no more land to operate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20977 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preecha_Up_front.pdf | 364.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Up_ch1.pdf | 378.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Up_ch2.pdf | 406.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Up_ch3.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Up_ch4.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Up_ch5.pdf | 330.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Up_back.pdf | 226.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.