Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20994
Title: ความสนใจในการอ่านหนังสือนิทานประเภทต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Interest in reading story-books of prathom suksa three students in university demonstration schools, Bangkok Metropolis
Authors: ปริมวดี ประยูรศุข
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sumlee.T@Chula.ac.th
Subjects: ความสนใจในการอ่าน
วรรณกรรมสำหรับเด็ก
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษางานวิจัยในการอ่านเค้าเรื่องของนิทานประเภทต่างๆ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 2.เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการอ่านเค้าโครงเรื่องของนิทานประเภทต่างๆ ระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบตอนที่ 2 ความสนใจในการอ่านเค้าโครงเรื่องของนิทานประเภทต่างๆ เป็นแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า ตอนที่ 3 รายละเอียดอื่นๆ ในการอ่านเป็นแบบเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ แล้วนำแบบสอบถามไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2525 จำนวน 360 คน เป็นชาย 180 คน หญิง 180 คน ได้รับกลับคืนมา 295 คน เป็นชาย 159 คน หญิง 136 คน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า 1. นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีความสนใจในการอ่านเค้าเรื่องนิทาน 6 ประเภทอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะนิทานประเภท จินตนาการ อิงประวัติศาสตร์และศาสนา 2. ความสนใจในการอ่านนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ในเค้าเรื่องนิทานประเภทนิทานท้องถิ่น เทพนิยาย นิทานวรรณคดี และนิทานจินตนาการ ไม่แตกต่างกัน สำหรับนิทานประเภทนิทานปรัมปรา และนิทานอิงประวัติศาสตร์และศาสนา มีความแตกต่างกัน กล่าวคือนักเรียนหญิงมีความสนใจในการอ่านนิทานทั้ง 2 ประเภทมากกว่านักเรียนชาย ซึ่งถ้ากล่าวโดยสรุปถึงความสนใจในการอ่านนิทานทั้ง 6 ประเภท ระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงแล้ว พอจะกล่าวได้ว่า นักเรียนหญิงมีความสนใจในการอ่านเค้าเรื่องนิทานทั้ง 6 ประเภทมากกว่านักเรียนชาย โดยที่นักเรียนชายมีความสนใจนิทานปรัมปรา และนิทานอิงประวัติศาสตร์และศาสนา น้อยกว่านักเรียนหญิง 3. รายระเอียดอื่นๆ ในการอ่านเค้าเรื่องนิทานของนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่เลือกอ่านหนังสือนิทานตามความสนใจของตนเองมากที่สุด และถ้านักเรียนไม่มีหนังสือนิทานที่ต้องการอ่าน นักเรียนจะเลือกความช่วยเหลือจากครูและห้องสมุดมากที่สุด นอกจากนี้นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองในการอ่าน โดยที่ผู้ปกครองเป็นฝ่ายซื้อมาให้ และแนะนำให้อ่านมากที่สุด
Other Abstract: Purpose 1. To study the reading interest in the themes of children's story books of the Prathom Suksa three students in three university demonstration schools, Bangkok Metropolis. 2. To compare the reading interest in the themes of children's story books between male and female students in Prathom Suksa three in three university demonstration schools, Bangkok Metropolis. Procedures Questionnaires were constructed to be used as the instrument in this research. These questionnaires were deviled into 3 parts. The first part was to classify the status of the samples. The second part was to indicate the samples' reading interest. The last part was to obtain other reading details among the samples. The samples used in this research study consisted of 360 students, of which 180 were male students and the other 180 were female students of Prathom Suksa three in 3 university demonstration schools, Bangkok Metropolis, academic year 1982. Two hundred and ninety-five questionnaires were returned back, it was 159 male students and 136 female students. The obtained data were analized by means of percentage, mean, standard deviation and t-test. Research Findings 1. Both male and female students indicated their interest in reading all 6 themes of children's books especially those children's books that derived their stories from Fantasy, History and Religion. 2. There was no significant difference in the reading interest between male and female students when they were to read Legend, Myth, Thai Classic and Fantasy. However, there were some differences in the reading interest between male and female students when they were to read Fairy tale and History and Religion. The female students showed more interest in reading both types more than the male students. 3. The data collected manifested that most students selected books to read by themselves. They mainly selected the books that they were interested in. In the case that they couldn't find the books they needed they would request help from their teachers or use the libraries as their resources. In addition, the data indicated that the parents encouraged their children to read a great deal of books. They both purchased books for their children and supplied their children with necessary advices in reading books.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20994
ISBN: 9745621706
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Primwadee_Pr_front.pdf339.85 kBAdobe PDFView/Open
Primwadee_Pr_ch1.pdf353.53 kBAdobe PDFView/Open
Primwadee_Pr_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Primwadee_Pr_ch3.pdf281.84 kBAdobe PDFView/Open
Primwadee_Pr_ch4.pdf390.28 kBAdobe PDFView/Open
Primwadee_Pr_ch5.pdf335.14 kBAdobe PDFView/Open
Primwadee_Pr_back.pdf951.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.