Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20996
Title: การเปรียบเทียบความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of knowledge in enviornment conservation and its application in daily life of prathom suksa six students in elementary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration
Authors: ปริศนา ใจทน
Advisors: ดวงเดือน อ่อนน่วม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษาขั้นประถม -- ไทย -- หลักสูตร
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ -- การศึกษาและการสอน
นิเวศวิทยา -- การศึกษาและการสอน
กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความสามรถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมและแยกเพศ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการนำความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปใช้ในชีวิตประจำวันระหว่างนักเรียนที่มีความรู้ต่างกันโดยรวมและแยกเพศ สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่าความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 2. นักเรียนเพศเดียวกันในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่าความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูง มีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่านักเรียนที่มีความรู้ปานกลางและต่ำ 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปานกลางมีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่านักเรียนที่มีความรู้ต่ำ 5. นักเรียนเพศเดียวกันในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงมีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่านักเรียนที่มีความรู้ปานกลางและต่ำ 6. นักเรียนเพศเดียวกันในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปานกลางจะมีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่านักเรียนที่มีความรู้ต่ำ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2528 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 โรง รวม 476 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2 ชุดคือ ชุดแรกเป็นแบบทดสอบความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุดที่สองเป็นแบบทดสอบการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบอัตราส่วนด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe’ Test for all possible comparison) สรุปผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันสูงกว่าการมีความรู้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพศเดียวกัน มีความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันสูงกว่าการมีความรู้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูง มีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสูงกว่านักเรียนที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปานกลาง มีความสามารถในการนำไปใช้ไปใช้ในชีวิตประจำวันสูงกว่านักเรียนที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. นักเรียนชายและหญิงที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงมีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสูงกว่านักเรียน เพศเดียวกันที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปานกลางและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 6. . นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปานกลาง มีความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสูงกว่านักเรียน เพศเดียวกันที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: Purposes The purposes of this study were (1) to compare the knowledge in environment conservation and its application in daily life of Prathom Suksa Six students: with and without classified by sex, and (2) to compare abilities to apply knowledge in daily life of Prathom Suksa Six students among students with different levels of knowledge: with and without classified by sex. Hypotheses 1. Prathom Suksa Six students had knowledge in environment conservation more than abilities to apply knowledge in daily life. 2. Prathom Suksa Six students, both males and females, had knowledge in environment conservation more than abilities to apply knowledge in daily life. 3. Prathom Suksa Six students with different levels of knowledge in environment conservation had different abilities to apply knowledge in daily life as follows: 3.1 Students with high level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with average and low level of knowledge. 3.2 Students with average level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with low level of knowledge. 4. Prathom Suksa Six students, both males and females, with different levels of knowledge in environment conservation had different abilities to apply knowledge in daily life as follows: 4.1 Students with high level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with average and low levels of knowledge. 4.2 Students with average level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with low level of knowledge. Procedures Samples used in this study were 476 Prathom Suksa Six students in the academic year 1985 from 16 schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. The samples were selected by using multistage cluster random sampling technique were two type of tests which were constructed by the researcher. The first teat was the test of knowledge in environment conservation and the second one was the application test. The data were analyzed by using the T-test, One-way Analysis of variance and the Scheffe' test. Findings 1. Prathom Suksa Six students had higher abilities in applying knowledge of environment conservation in daily life than having knowledge at .05 significant level. 2. Prathom Suksa Six students, both males and females, had higher abilities in applying knowledge of environment conservation in daily life than having knowledge at .05 significant level. 3. Prathom Suksa Six students with different levels of knowledge in environment conservation had different abilities to apply knowledge in daily life as follows: 3.1 Students with high level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with average and low levels of knowledge at .05 significant level. 3.2 Students with average level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with low level of knowledge at .05 significant level. 4. Prathom Suksa Six students both males and females with different levels of knowledge in environment conservation had different abilities to apply knowledge in daily life as follows: 4.1 Students with high level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with average and low levels. Of knowledge at .05 significant level. 4.2 Students with average level of knowledge in environment conservation had higher abilities to apply knowledge in daily life than students with low level of knowledge at .05 significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20996
ISBN: 9745673676
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prisana_Ch_front.pdf399.27 kBAdobe PDFView/Open
Prisana_Ch_ch1.pdf360.38 kBAdobe PDFView/Open
Prisana_Ch_ch2.pdf612.89 kBAdobe PDFView/Open
Prisana_Ch_ch3.pdf336.21 kBAdobe PDFView/Open
Prisana_Ch_ch4.pdf312.89 kBAdobe PDFView/Open
Prisana_Ch_ch5.pdf410.41 kBAdobe PDFView/Open
Prisana_Ch_back.pdf755.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.