Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2107
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารที่มีโฟเลตกับภาวะโฟเลตในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน
Other Titles: Relationship between dietary folate intake and folate status among overweight adults
Authors: ก้องนภา สุวิชากร, 2522-
Advisors: อรอนงค์ กังสดาลอำไพ
วรางคนา วารีสน้อยเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Oranong.K@Chula.ac.th
Warangkana.W@Chula.ac.th
Subjects: กรดโฟลิก
โรคอ้วน
ภาวะขาดกรดโฟลิก
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังมากมาย โดยทั่วไปมีสาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลตและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงเพื่อประเมินภาวะโฟเลตในอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกินจำนวน 48 คน และน้ำหนักปกติจำนวน 31 คน ที่มาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ด้วยวิธีทางจุลชีววิทยาโดยใช้เชื้อ Lactobacillus casei, ATCC. No.7469 และประเมินพฤติกรรมการบริโภคโดยใช้แบบสอบถามอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมงและแบบสอบถามความถี่อาหารบริโภคกึ่งปริมาณเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารที่มีโฟเลตสูงกับภาวะโฟเลต ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 31.2 ของผู้มีน้ำหนักเกิน มีระดับโฟเลตในเม็ดเลือดแดงต่ำกว่ามาตรฐาน ปริมาณโฟเลตในเม็ดเลือดแดงเฉลี่ยของอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกินแตกต่างจากปริมาณโฟเลตในเม็ดเลือดแดงเฉลี่ยของอาสาสมัครที่มีน้ำหนักปกติอย่างมีนัยสำคัญ (109.60+-27.23 และ 186.40+-70.03 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ, p<0.05) ปริมาณโฟเลตที่ทั้งสองกลุ่มได้รับจากอาหารซึ่งคำนวณจากแบบสอบถามทั้งสองชนิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณโฟเลตในเม็ดเลือดแดง (p [มากกว่าหรือเท่ากับ] 0.001) และพบว่ากลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินได้รับโฟเลตจากอาหารประเภทถั่วและงาต่ำกว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับภาวะโฟเลตต่ำได้ ดังนั้นในผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรได้รับคำแนะนำให้มีการบริโภคแหล่งอาหารที่มีโฟเลตสูงเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันภาวะขาดโฟเลตซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
Other Abstract: Overweight is an important health problem and known to be associated with numerous chronic diseases. The diseases may be caused by a deficiency of folate due to inappropriate eating behaviour. Based on this assumption, this study investigated folate status and eating behaviour of 79 donors (48 overweight and 31 normal weight groups) at the National Blood Centre, Thai Red Cross Society. The folate contents in serum and red blood cells were determined by a microbiological method using Lactobacillus casei, ATCC. No. 7469. The donors also completed the semi-quantitative food frequency questionnaire (SFFQ) and 24-hour recalled questionnaire to assess dietary folate intakes. The experiment revealed that 31.2 percents of overweight adults had a lower red blood cell folate than the standard value. Moreover, the average value of red blood cell folate was significantly less than that of the normal weight group (109.60+-27.23 and 186.40+-70.03 ng/mL, respectively, p [is less than or equal to] 0.05). The result showeda relationship between red blood cell folate and dietary folate intakes in both groups. (p [is less than or equal to] 0.001). Considering the eating behaviour, it was observed that the overweight group consumed sesame and soy products less than the normal weight group. These findings indicated that the overweight persons should receive an appropriate dietary counseling. In particular, high- folate dietary source should be recommended for preventing them from folate deficiency and cardiovascular disease risks.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2107
ISBN: 9741752873
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kongnapa.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.