Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21090
Title: ความคิดเห็นของครูภาษาไทยเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชน ที่มีต่อการใช้ภาษาไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of Thai language teachers concerning the influence of mass media on Thai language usage of secondary school students in Bangkok Metropolis
Authors: ปาริชาต พุดน้อย
Advisors: สายใจ อินทรัมพรรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: สื่อมวลชน -- ทัศนคติ
ครู -- ทัศนคติ
สื่อมวลชนกับเด็ก
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทย เกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีต่อการใช้ภาษาไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด จากนั้นนำไปแจกแก่ครูภาษาไทยจำนวน 200 คน จากโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 แห่ง แบบสอบถามที่นำมาวิจัย จำนวน 186 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าสื่อมวลชนช่วยส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียนด้านการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน อยู่ในระดับปานกลาง 2. ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าสื่อมวลชนช่วยส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียนด้านการฟัง เกี่ยวกับการให้ความรู้ความคิดเห็นใหม่ๆ จากการฟังข่าวสาร บทความ และความรู้ต่างๆ อยู่ในระดับมาก 3. ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าสื่อมวลชนช่วยส่งเสริมการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด และการอ่าน ของนักเรียนเกี่ยวกับการได้เห็นตัวอย่างการใช้ภาษาทั้งที่ดีและไม่ดีรวมทั้งได้แบบอย่างศิลปะการอ่านชนิดต่างๆ อยู่ในระดับมาก 4. ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าสื่อมวลชนช่วยส่งเสริมการใช้ภาษาไทยด้านการพูดของนักเรียน เกี่ยวกับได้แบบอย่างการออกเสียง ร, ล และตัวควบกล้ำ อยู่ในระดับมาก 5. ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าสื่อมวลชนมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก 6. ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าสื่อมวลชนช่วยส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียนเกี่ยวกับการเขียนสำนวนที่ถูกต้องเหมาะสม การใช้คำสะแลง การใช้คำฟุ่มเฟือย และใช้ภาษากำกวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย
Other Abstract: The objective of this study To study the opinions of the Thai language teachers concerning the influence of mass media on Thai language usage of secondary school students in Bangkok Metropolis. The researcher constructed a series of questionnaires consisting of checklists, rating scales and open-ended questions. The questionnaires were then sent to two-hundred Thai language teachers from fifteen secondary public schools in Bangkok Metropolis. One hundred and eighty six out of two-hundred distributed questionnaires (or ninety-three percent) were returned. The data were tabulated and analyzed by means of percentage, arithmetic means and standard diviation. The results were organised in forms of tables and essay. It is found in this study that : 1. The Thai language teachers conveyed opinions that mass media moderately promote the Thai language usage. 2. The Thai language teachers thought that the role of mass media in promoting listening skill through news, articles and other forms of knowledge is high. 3. The Thai language teachers had an idea that mass media highly promote listening, speaking and reading skills by portrayed good and bad examples in their writing. 4. The Thai language teachers believed that mass media highly promote the students speaking abilities in terms of the pronunciations of /r/, /1/ and cluster sound. 5. The Thai language teachers highly believed in the usefulness of mass media. 6. The Thai language teachers believed that mass media promote the usage of writing punning in the low degree of appropriateness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21090
ISBN: 9745612928
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichart_Pu_front.pdf385.62 kBAdobe PDFView/Open
Parichart_Pu_ch1.pdf498.95 kBAdobe PDFView/Open
Parichart_Pu_ch2.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Parichart_Pu_ch3.pdf304.11 kBAdobe PDFView/Open
Parichart_Pu_ch4.pdf526.04 kBAdobe PDFView/Open
Parichart_Pu_ch5.pdf541.33 kBAdobe PDFView/Open
Parichart_Pu_back.pdf545.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.