Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21186
Title: การสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองของกลุ่มหญิงรักหญิง
Other Titles: Communication for self disclosure of female Homosexuals
Authors: ปัณณิกา จันทรปรรณิก
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: เลสเบี้ยน
รักร่วมเพศ
การเปิดเผยตนเอง
การสื่อสารระหว่างบุคคล
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะของการสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองต่อครอบครัวและสังคมของกลุ่มหญิงรักหญิงที่มีความแตกต่างกันในด้านอายุ อาชีพ รูปแบบการสื่อสารในครอบครัว วิธีการสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองและผลงานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจะเป็นหญิงรักหญิงจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย ที่มีอายุระหว่าง 21- 50 ปี เฉพาะที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะมีการเปิดเผยตนเองทั้งต่อครอบครัวและสังคมมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ครอบครัวที่มีการสื่อสารแบบเปิดและแบบปล่อยนั้นจะเอื้อต่อกลุ่มหญิงรักหญิงส่วนใหญ่ให้มีการเปิดเผยตนเองได้ง่ายกว่าครอบครัวที่มีการสื่อสารแบบปิด ด้านอาชีพนั้นพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มาจากอาชีพที่ง่ายต่อการเปิดเผยตนเองเช่น นักศึกษา พนักงานบริษัทเอกชน และธุรกิจส่วนตัวนั้นจะไม่ค่อยมีอุปสรรคในการเปิดเผยตนเอง ทำให้สามารถเปิดเผยตนเองได้ง่ายกว่าทั้งการเปิดเผยทางตรงและทางอ้อม ส่วนการที่ครอบครัวและสังคมจะยอมรับได้นั้นก็มาจากวิธีการสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองที่เหมาะสม สอดคล้องกับบรรทัดฐานของคนในครอบครัวและสังคม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะสามารถยอมรับได้ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีวิธีการสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองวิธีใดที่เหมาะสมที่สุด เพราะต่างก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์และพิจารณาถึงบริบทสภาพแวดล้อมของครอบครัวและสังคมเป็นจุดสำคัญ แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นั้นมักจะเลือกเปิดเผยตนเองทางอ้อมก่อนเสมอโดยจะสื่อสารออกมาทางอวัจนภาษา ส่วนวิธีการสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองในทางตรงนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสำคัญของบุคคลที่กลุ่มตัวอย่างมีปฏิสัมพันธ์ด้วย
Other Abstract: The objective of this research is to study and compare the communication characteristics of female homosexuals who has different on age, occupation, family communication, communication method on self-disclosure and communication result by studying thirty female homosexuals who are 21-50 years of ages and live in Bangkok. The contents of this quality research are indepth interview and non - participant observation. The results of the study are as follows : Mostly, the samples of female homosexuals disclose themselves to their family and social during teenage. They are easily to disclose themselves with an open – minded family and occupation. They have a freedom to conduct communications on self – disclosure in both direct and indirect method. The suitable communication on self – disclosure is the best method to allow their family and social to accept their behavior, which is related to their family and social norms. In addition, from this research we found that they have no perfect methods on self – disclosure due to family and social environment, including the relevant situation. However, most of sampling use the indirect method and body language to firstly express themselves. Moreover, the direct method is effective when they have interaction within group that has closed relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21186
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.987
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.987
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannika_Ja.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.