Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21189
Title: แนวทางป้องกันการเกิดอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
Other Titles: Guidelines for flood protection in Nakhon Chiang Mai municipality
Authors: ภาณุมาศ กำคำเพ็ชร
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nopanant.T@chula.ac.th
Subjects: อุทกภัย -- ไทย -- เชียงใหม่
การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- เชียงใหม่
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการเกิดอุทกภัย และผลกระทบที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 2) ศึกษาสาเหตุของการเกิดอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และ 3) เสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่มีแนวโน้มของการเกิดอุทกภัยที่รุนแรงมากขึ้น โดยในปีพ.ศ.2516 พบว่า เกิดอุทกภัยในบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำปิงเป็นบริเวณไม่กว้างมากนัก ต่อมาในช่วงปีพ.ศ.2537 - 2538 พบว่าสภาพการเกิดอุทกภัยเริ่มแผ่ขยายวงกว้างออกจากสองฝั่งแม่น้ำปิงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสภาพอุทกภัยเริ่มมีการท่วมขังเป็นเวลานานกว่าในอดีต มูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท และล่าสุดในปีพ.ศ. 2548 ได้เกิดน้ำท่วมรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการเกิดอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 5,000 ล้านบาท จากการศึกษาพบว่า การเกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีสาเหตุที่เกิดมาจากทั้งปัญหาภายในเขตเมืองและภายนอกเขตเมือง ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนจำนวนมากทั้งที่ตกภายในเมืองและที่มาจากภายนอกเมืองสะสมรวมกัน ประกอบกับมีการบุกรุกแหล่งต้นน้ำลำธารส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำลดลงไปเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถช่วยดูดซับน้ำไว้ได้ ทำให้ปริมาณน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำไหลลงมารวมกับปริมาณน้ำในเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง จนมีปริมาณน้ำเกินกว่าที่แม่น้ำปิงในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่จะรับได้น้ำจึงเอ่อล้นเข้าท่วมเมือง นอกจากนี้ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง รวมถึงการสร้างถนนขวางกั้นทางระบายน้ำและการสร้างสะพานที่มีคอสะพานล้ำเกินแนวแม่น้ำ ซึ่งมีผลต่อการกีดขวางการไหลของน้ำทำให้สภาพการระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ จึงเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ ผลการศึกษานำมาสู่การเสนอแนะแนวทางป้องกันการเกิดอุทกภัย ได้แก่ การสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อบรรเทาน้ำท่วม (Flood Mitigation Storage) การทำพื้นที่ชะลอน้ำ (แก้มลิง) การสร้างระบบคันป้องกันน้ำท่วม (Polder System) การปรับปรุงระบบการระบายน้ำ (Drainage System) การทำทางผันน้ำท่วม (Diversion Channel) และการทำแนวน้ำท่วมหลาก (Floodway) โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อการประเมินที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่คือ ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม ความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์ ความเหมาะสมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า การทำทางผันน้ำท่วม มีความเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มากที่สุด เนื่องจากเป็นการแก้ไขปัญหาที่สามารถลดปริมาณน้ำทางต้นน้ำที่จะไหลลงสู่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ได้และยังเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภายในเมืองได้ผลมากขึ้น จะต้องดำเนินการปรับปรุงระบบการระบายน้ำภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ได้
Other Abstract: The purpose of this study was aimed 1) to examine the ramification on the occurrence of the spat calamity and the effects of flooding in Chiang Mai municipality, 2) to investigate the causes of flooding in Chiang Mai municipality, and 3) to propose the preventive measures and solution coping with flooding issues faced by Chiang Mai municipality.The propensity of severe flooding disaster in Chiang Mai municipality is increased, Especially in 1973, the flooding in the precinct of the Ping River bank was not so much expanded to other neighboring areas. Later, during 1994-1995, the flooding was likely to expand its area beyond the Pink River bank, resulting in the effect of stagnicolous flooding for longer period than ever before, and damage value accounted for 1,000 million baht. Lastly, in 2005, it occurred the most severe flood since the flooding occurrence has ever happened in Chiang Mai municipality with damage value of 5,000 million baht. According to the research study, it found that flooding in Chiang Mai municipality was caused by the problems in the internal and external precinct of the township. The major causes of flooding were an excess of accumulated rainfall inside and outside the precinct of the township. The encroachment has led to the reduction in forestry areas disabled the natural water absorption of the plant roots. In addition, the rain runoff from water source gathered round into the stream in the city where it was characterized of marshy flooding area that resulted in the excess of water beyond the capacity of the Ping River, causing the influx of the flooding into the city area. In addition, issues of the water intrusion into the Ping River bank resulted in the reduction of the water magnitude. The water course was barred by road construction, and watershed line was encroached by bridge structure, resulting that the water flow was hindered and flowing was not as facile as ever before. The results have led to some suggestions and preventive measures for flooding. Flood mitigation storage, retention area, polder system, drainage system, diversion channel, and floodway are suggested depending on the solution appropriateness and evaluation on engineering, economics, social and environment criteria. It found that diversion channel was mostly applicable method for flooding solution in Chiang Mai municipality because it can reduce water amount overflowing Chiang Mai municipality. Another advantage of diversion channel is that it is a long term problem solving. However, water course in the precinct areas of Chiang Mai municipality should be improved for increased effectiveness of the flood protection.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21189
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.122
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.122
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phanumat_Ku.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.