Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21209
Title: พฤติกรรมการเลือกตั้งทางการเมืองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Voting behavior in the second district, Lopburi Province
Authors: พิชัย อยู่คง
Advisors: ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: การเลือกตั้ง -- ไทย -- ลพบุรี
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบว่าการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 นั้นประชาชนได้มีพฤติกรรมทางการเมืองอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงทัศนะทางการเมืองในหมู่ประชาชนหรือไม่ และการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนมีลักษณะสมเหตุสมผลตามระบอบประชาธิปไตยเพียงใด โดยการศึกษาจากกรณีเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่มีความเป็นไปได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทัศนะทางการเมืองของประชาชน เนื่องจากปรากฏว่าผลการเลือกตั้งในเขตนี้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคพลังใหม่ซึ่งเป็น “พรรคก้าวหน้า” ได้รับเลือกตั้งด้วย ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมาในท้องที่จังหวัดนี้ไม่เคยมี “พรรคก้าวหน้า” ได้รับเลือกตั้งเลย จากการวิเคราะห์ได้พบว่า ประชาชนทั่วไปยังไม่มีความตื่นตัวทางการเมือง โดยพบว่าประชาชนขาดความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ทั้งในด้านสิทธิของตนและในด้านการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้ง ปรากฏว่าประชาชนยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นมาในอดีต กล่าวคือประชาชนส่วนใหญ่ได้ออกเสียงเลือกตั้งโดยนิยมคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เหมือนกับการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ดังนั้นการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคพลังใหม่ได้รับเลือกตั้งจึงเป็นเพราะมีคุณสมบัติตรงกับทัศนะของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การที่ประชาชนตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งโดยยึดมั่นตัวบุคคล ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาความเป็นอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สำคัญในตนเอง และไม่ผู้พันกับพรรคการเมือง และจะนำไปสู่ปัญหาความอ่อนแอในสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในที่สุด การตัดสินใจในลักษณะเช่นนี้จึงไม่เป็นการสมเหตุสมผลตามระบอบประชาธิปไตย.
Other Abstract: This study aims to explore the voting behavior of the peo¬ple in the second district, Lopburi Province 1975, so as to find out whether there is any change in their political behaviors and attitudes, as well as their docision-making on the matter: The finding are (1) that the candidate of the New Force Party the so-called "progressive party" won the election of 26 January 1975, which appears to be a new phenomena in Thailand in so far as Thai elections are concerned; and (2) that there is little change in the voters' attitudes on the ground that they vote for a person with good qualifications, not a person with wealth who give bribery to the voter. However, the voter still considers a candidate's personality as the criterion for making their decisions. The voter are not aware of political party's platforms, but its candidate. They highly look upon candidate's personality and other qualifications, such as knowledgeability, honesty, candor and wisdom. This presents a serious problems for Thailand's political development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21209
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_Yo_front.pdf321.87 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Yo_ch1.pdf681.23 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Yo_ch2.pdf821.78 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Yo_ch3.pdf820.74 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Yo_ch4.pdf355.75 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Yo_back.pdf462.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.