Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21214
Title: การศึกษาปัญหาต่างๆ ในระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบกไทย
Other Titles: A study of problems in the governmental fund accounting system of The Royal Thai Army
Authors: พิกุลทอง ตันพิบูลย์วงศ์
Advisors: สุภาพรรณ รัตนาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fcomsrt@phoenix.acc.chula.ac.th
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบกมีความสำคัญต่อกองทัพบกมาก อาทิเช่น ช่วยให้ผู้บริหารงานทราบถึงการรับจ่ายเงินในการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ ช่วยให้การรับจ่ายเงินของฝ่ายการเงินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็ว ซึ่งจะมีผลต่อขวัญของข้าราชการในกองทัพบกและมีผลต่อความมั่นคงของประเทศชาติด้วย เป็นต้น แต่ระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นระบบบัญชีที่ใช้มาเป็นเวลานานตั้งแต่ พ.ศ. 2479 แม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงบ้าง แต่ก็ยังไม่สบบูรณ์และไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานและปัญหาด้านอื่นๆ อีก ซึ่งทำให้ระบบบัญชีเงินราชการของส่วนราชการบางแห่งเกิดข้อบกพร่องและทุจริตขึ้น การปฏิบัติงานล่าช้าไม่เรียบร้อย ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยาก ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบบัญชีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้เขียนจึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนข้อแตกต่างของระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบก กับระบบบัญชีของพลเรือน เพื่อนำข้อดีต่างๆ ของระบบบัญชีของพลเรือนมาเป็นแนวทางปรับปรุงระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบกให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะทำการศึกษาจากข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จากตำราเอกสารทางราชการต่างๆ และรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้และประสบการในการทำงาน จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นในระบบบัญชีเงินราชการของกองทัพบกดังนี้ คือ 1. ปัญหาที่เกิดจากวิธีปฏิบัติทางบัญชีได้แก่ ก. การบันทึกการรับจ่ายผ่านธนาคาร ไม่สมบูรณ์ตามหลักบัญชีสากล ข. บัญชีเงินเบิกคลัง ไม่สามารถแสดงทางสถิติการรับและจ่ายเงินงบประมาณของแต่ละปีได้ตามความเป็นจริง ค. ระบบบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ให้ข้อมูลแก่ผู้บริหาร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ง. วิธีการบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการสอบยันเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง จ. หลักฐานที่ใช้ในการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้าง ทำให้ไม่สามารถแบ่งงานให้เจ้าหน้าที่ช่วยบันทึกและจ่ายเงิน ฉ. การทำรายการสอบยอดบัญชี ไม่สามารถทำโดยสรุปได้ เนื่องจากบัญชีแยกประเภทที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่มีลักษณะเป็นบัญชีคุมยอด ช. ข้อบังคับทางการเงินที่ประกาศใช้ใหม่บางข้อ ไม่สอดคล้องกับระบบบัญชีที่ใช้อยู่ ทำให้การลงบันทึกทางบัญชีของส่วนราชการต่างๆ ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2. ปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงาน มีดังนี้ ก. ปริมาณกำลังพลไม่สมดุลย์กับงาน ข. เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน ค. เจ้าหน้าที่ขาดความสนใจในการปฏิบัติงาน 3. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่เพียงพอและความไม่เหมาะสมของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 4. ปัญหาด้านการควบคุมภายในได้แก่ ก. กรรมการตรวจบัญชีไม่มีความรู้ทางด้านการเงินและการบัญชีอย่างเพียงพอ ข. การตรวจบัญชีประจำปีไม่สามารถกระทำภายในระยะเวลาที่กำหนด ค. ขาดความร่วมมือระหว่างผู้ตรวจและผู้รับการตรวจ ในการติดตามและกวดขันทำให้การแก้ไขข้อบกพร่องและทุจริตต่างๆ ที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ ปัญหาที่เกิดจากวิธีปฏิบัติทางบัญชี ทางแก้มีได้หลายทาง โดยการปรับปรุงแก้ไขระบบบัญชีเดิม หรือจะวางระบบบัญชีใหม่ เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถนำตัวเลขและข้อมูลต่างๆ จากระบบบัญชีไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร และควบคุมงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงาน ควรกำหนดปริมาณกำลังพลที่มีความรู้ความสามารถให้สมดุลย์กับปริมาณงาน ปัญหาทางด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ การสำรวจและจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ให้เพียงพอและเหมาะสมกับงาน ปัญหาทางด้านการควบคุมภายใน เสนอแนะให้เพิ่มกำลังพลที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการตรวจบัญชี เพิ่มความรู้แก่กรรมการ และวางมาตรการให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและระบบบัญชีที่ใช้ ดังนั้น จะเห็นว่าการดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ จะต้องศึกษาปัญหาข้อบกพร่องทั้งหมดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาพร้อมๆ กัน และเมื่อนำระบบใหม่มาใช้จะต้องมีการวางแผนและควบคุมให้ระบบใหม่ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Other Abstract: The importance of the governmental 'accounting system to the Army cannot be over emphasized. It helps the administrators keep account of allocated revenue and expenditure and other general financial information of the various Army units. What is of equal importance is that it will allow financial officials to offer prompt and accurate services, thereby giving a raise to the morale of the Army personnels which is considered essential to the national security. The present Army's accounting system has been used since 1936. Its undergoing of several revisions still leaves it some¬what imperfect and inefficient. There are loop-holes which cause graft and corruptions within the system. With the Army growing larger and organizations more complex, the slow, inefficient and out of date accounting seem to create discrepancies between the existing accounting system and what is expected out of it. The purpose of this study, is to find the problems and Shortcoming of the governmental accounting system using in the Royal Thai Army (RTA) today and to compare the civil services' accounting system with the RTA system in order to apply the advan¬tages of civil services' accounting system in the RTA. Informations and data are gathered from actual working experiences, official documents, openions of involved personnels, as well as studies and researches. Four majors problems are regarded as potential factors of the system's inefficiency and ineffectiveness : accounting proce¬dures, personnel, technology, And internal control. Some of the problems regarding the procedure are as follows. The payment and receiving of money through banks is not in accordance with the general accepted accounting principles. The Army's revenue and expenditure records are inaccurate. Statistical financial data cannot always be utilized by the administrator in their decision-makings. With regards to the personnel problems, it is found that there is in¬adequate manpower within the Army's finance department, and those personnels in charge lack interest, needed experience, and knowledge in accounting. In the area of technology, there is still much to be improved. Most of the mechanical equipment and other facilities are out-dated. Concerning internal control, the auditors seem to lack desirable knowledge in finance and accounting procedures. Annual auditing in some divisions is sometimes not conducted due to in¬adequate number of auditors. Moreover, there is no cooperation between the auditor and audited agency in the attempts to prevent loop-holes and corruptions. It is recommended that the present accounting system be improved or changed, taking these problems into consideration. Attention should not be focused on any single problem but all of them. If a new system is necessary, it should be carefully planned and implemented so that it reaches possible maximum efficiency and effectiveness.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21214
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pigooltong_Tu_front.pdf418.59 kBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch1.pdf360.76 kBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch2.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch3.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch4.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch5.pdf960.86 kBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch6.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_ch7.pdf306.85 kBAdobe PDFView/Open
Pigooltong_Tu_back.pdf254.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.