Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21256
Title: บทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศก์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: The roles of teachers and educational personnel appointed as supervisors of the faculty of education, Prince of Songkla University, Pattani campus working in the three southern border provices
Authors: วรภาคย์ ไมตรีพันธ์
Advisors: จุไรรัตน์ สุดรุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jurairat.Su@Chula.ac.th
Subjects: การนิเทศการศึกษา
Supervised study
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศก์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศก์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากร ได้แก่ ครูที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศ และปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีการศึกษา 2552 จำนวน 15 คน นักศึกษาปฏิบัติการสอน จำนวน 28 คน และ คณะกรรมการบริหารงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6 คน รวมจำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) นำเสนอในรูปแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของครูที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศ ประกอบด้วย 1. บทบาทในการนิเทศการสอน อาจารย์นิเทศทุกคนนิเทศการสอนสอดคล้องกับนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ มีการนิเทศเฉลี่ยเดือนละ 1-2 ครั้ง โดยการสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน การเยี่ยมชั้นเรียน การประชุมพูดคุย และมีการแนะนำแหล่งความรู้ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มีการนิเทศแผนการจัดการเรียนรู้โดยการตรวจแก้ไข เฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน ปัญหาที่พบคือ อาจารย์นิเทศบางคนขาดความเข้าใจบทบาทของตนเอง ไม่ค่อยมีเวลาในการนิเทศการสอน เนื่องจากมีภาระงานสอนมาก โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแหล่งเรียนรู้ที่จะค้นคว้า และการนิเทศแผนการจัดการเรียนรู้ไม่ได้ให้ข้อมูลป้อนกลับก่อนที่นักศึกษาจะสอนตามแผนนั้นๆ 2. บทบาทในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาปฏิบัติการสอน อาจารย์นิเทศมีการพบนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อให้คำปรึกษาด้านต่างๆ เช่น การวิจัยในชั้นเรียน การจัดทำแฟ้มสะสมงาน และสนับสนุนให้นักศึกษาช่วยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปัญหาที่พบ คือ อาจารย์นิเทศบางคนไม่มีความมั่นใจที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน และไม่ทราบแนวทางในการจัดทำแฟ้มสะสมงานตามที่คณะศึกษาศาสตร์กำหนด 3. บทบาทในการประเมินผลการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา อาจารย์นิเทศมีการประเมินผลการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาเป็นระยะๆ และมีการประเมินผลการวิจัยในชั้นเรียน ส่วนใหญ่มีการประเมินผลการจัดทำแฟ้มสะสมงาน และตัดสินผลการปฏิบัติการสอนร่วมกับครูพี่เลี้ยง หัวหน้าโปรแกรมวิชาเอกและผู้ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่พบคือ อาจารย์นิเทศมีมาตรฐานในการประเมินผลการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาที่แตกต่างกัน ไม่มีความถนัดในด้านการวิจัยในชั้นเรียน จึงส่งผลต่อความสามารถในการประเมินผลการวิจัยในชั้นเรียน และไม่มั่นใจว่าคะแนนที่ประเมินให้นักศึกษามีความเหมาะสมหรือไม่ 4. บทบาทในการสร้างความร่วมมือกับสถานศึกษาและสถาบันการผลิตครู อาจารย์นิเทศส่วนใหญ่มีการปรึกษากับครูพี่เลี้ยง และพบกับผู้บริหารสถานศึกษา แต่ไม่ได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศ การสัมมนาระหว่างและหลังปฏิบัติการสอนของนักศึกษา และส่วนใหญ่ไม่ได้สรุปปัญหาหรือข้อเสนอแนะให้แก่คณะกรรมการบริหารงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ปัญหาที่พบคือ คณะศึกษาศาสตร์มีปัญหาในการหาช่วงเวลาจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้อาจารย์นิเทศก์ทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้พร้อมเพรียงกัน
Other Abstract: The research aims to: 1. Study the roles of teachers and educational personnel appointed as supervisors of the Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus working in the three southern border provinces. 2. Study the problems of the teachers and educational personnel appointed as supervisors of the Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus working in the three southern border provinces. The 49 research populations were 15 teachers have been appointed in 2009 to be supervisors of the Faculty Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus working in the three southern border provinces. 28 student teachers and 6 members of the professional experience administration committee. The research instrument was semi-structured interview. The content analysis used for analyzing the information and presented in narrative form. The finding of the research on the roles of teachers appointed as supervisors were as follows: 1. The roles of instructional supervision: all instructional supervisors supervised the student teachers as the policy compliance of the Faculty of Education. They did that on average 1-2 times/month by observing classroom instruction. Classroom visiting and meeting with the student teachers. Learning resources were recommended. The supervisors supervised and rectitude lesson plans of the student teachers on average 1-2 times/month. The problems found are some supervisors did not understand their roles, had no time to supervise due their own workload. In addition, school is located in are lacking resource to learn, supervisors did not provide feedback on the lesson plans before the student teachers implemented. 2. The roles of the advisor: the supervisors advised with both individual and groups in various such as classroom research, portfolio and supported them to organize learner development activities. The problems were found that supervisors had no confidence to give advice on classroom research and did not know how to develop student teacher’s portfolio according to the Faculty of Education requirements. 3. The roles in teaching evaluation: the supervisors evaluated student teachers periodically, including classroom research and portfolio. To evaluated teaching performance of the student teachers, supervisors cooperated with mentor teachers, the program director and other. The problems found are the supervisors had different standards in teaching evaluation. Due to the lack of classroom research skills of some supervisors are affected the ability to evaluate the student teachers classroom research and did not ensure that the assessment was appropriate or not. 4. The roles in creating collaboration with school and university: most supervisors consulted with mentor teachers and school administrations. However, no supervisors attended the orientation for the student teachers, the seminars during and after the student teacher’s teaching. In addition, most of the supervisors did not summarize problems or suggestions to the professional experience administration committee. The problem that it was difficult for the Faculty of Education to identity appropriate time that every supervisor be able to participate in all activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21256
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.612
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.612
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warapark_ma.pdf15.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.