Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21291
Title: การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Development of a cultural competence scale for secondary school students
Authors: ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
กมลวรรณ ตังธนกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.K@Chula.ac.th
Kamonwan.T@Chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
สมรรถนะ
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมไทย
การแพร่กระจายวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรม
บุคลิกภาพกับวัฒนธรรม
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ทั้งด้านความตรงและความเที่ยง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1)พัฒนากรอบแนวคิดของสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม 2) พัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม จากกรอบแนวคิดที่กำหนดขึ้นและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมด้านความตรงและความเที่ยง 3)ประเมินและเปรียบเทียบสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาระหว่างระดับชั้น ช่วงชั้น และสังกัดโรงเรียนในแต่ละภูมิภาคของประเทศ และ4) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียน 3 สังกัดได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 6,149 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักและ 10 องค์ประกอบย่อยได้แก่ องค์ประกอบความตระหนักทางวัฒนธรรม มีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบคือ การมองเห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความยืดหยุ่นและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมอื่น และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา องค์ประกอบความรู้ทางวัฒนธรรม มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบคือ ความรู้ในวัฒนธรรมหลักและความรู้ในวัฒนธรรมสากล องค์ประกอบทักษะทางวัฒนธรรมมีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ คือ ความไวต่อวัฒนธรรม ความเข้าใจตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น การมองโลกในภาพกว้าง และความสามารถในการปรับตัว 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม พบว่า แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.20 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 และแบบวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 17.37, ที่องศาอิสระ 15, p = 0.30, GFI = 1.00, AGFI = 1 และ RMSEA = 0.0052 3. ผลการประเมินและเปรียบเทียบสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตามตัวแปรภูมิหลัง พบว่า นักเรียนหญิงมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนชายที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนที่นับถือศาสนาอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่อาศัยในเขตเมืองมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนที่อาศัยนอกเขตเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาระดับชั้นของนักเรียน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมต่ำกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอื่น ๆ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาสังกัดโรงเรียน พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. ) มีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การสร้างเกณฑ์ปกติในการแปลความหมายคะแนนโดยการแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานทีเป็น 5 ระดับ พบว่า แบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมมีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T7.96 – T77.71 โดยคะแนนมาตรฐานที T50 คิดเป็นร้อยละ 72 ของคะแนนสอบ
Other Abstract: This research aimed to develop cultural competence scale boasting with quality in light of the validity and reliability. Its specific objectives were to 1) develop the conceptual frameworks of cultural competence, 2) develop cultural competence scale based on such conceptual frameworks and to validate the quality of cultural competence scale in light of the validity and reliability, 3) to assess and compare cultural competence of secondary school students between grade levels, levels and schools in each region of Thailand, and 4) to develop norms of cultural competence scale for secondary school students. Samples were 6,149 secondary school students in Grade 7-12 chosen by multi stage random sampling from schools (under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission (OBEC), the Office of the Private Education Commission (OPEC) and Local Administrative Organizations (LAO) in 4 regions nationwide. The research instruments were the interview form and cultural competence scale for secondary school students. Findings were as follows: 1. There were 3 elements and 10 sub-elements in cultural competence. Firstly, the element of cultural awareness contained 3 sub-elements, namely, perceiving cultural diversity, being flexible and recognizing other cultures, and being considerate. Further, the next element was cultural knowledge containing 2 sub-elements; namely, knowledge in dominant culture and knowledge in universal culture. Lastly, cultural skills had 5 sub-elements; namely cultural sensitivity, self -understanding, interpersonal understanding, visionary perspective and adaptation. 2. According to the results of the analysis of cultural competence scale’s quality, discrimination power was between -0.50 to 0.20, while the reliability was 0.97. Second-order confirmatory factor analysis revealed scale’s construct validity as well. 3. According to the results of the assessment and comparison of students’ cultural competence based on the factors of background, female students had higher cultural competence than their male counterparts at the statistically significant difference of .01. Buddhist students had higher cultural competence than those in other religions at the statistically significant difference of .05. Students in urban areas had higher cultural competence than those in suburb areas. It was also found that in the seventh grade students had lower cultural competence than the eighth to twelfth grade students at the statistically significant difference of .01. Moreover, the ninth grade students had lower cultural competence than their twelfth grade counterparts at the statistically significant difference of .01. Students from the schools under the jurisdiction of the OBEC had higher cultural competence than those from the schools under jurisdiction of the OPEC and the LAO at the statistically significant difference of .01. 4. The development of norms for score translation based on T-score conversion unveiled that the scale had T-score in the range of T7.96 – T77.71, T50 was 72% of test scores.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21291
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2045
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chutinan_ch.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.