Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21304
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจรสการเรียนรู้ 5E ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of science instruction using analogy Technique in 5e learning cycle on problem solving ability and attitude Towards science of lower secondary school students
Authors: มรีจิ คงทรัตน์
Advisors: วัชราภรณ์ แก้วดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Watcharaporn.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยเทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจร การเรียนรู้ 5E และกลุ่มที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยเทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจร การเรียนรู้ 5E 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนระหว่างกลุ่ม ที่เรียนด้วยเทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E และกลุ่มที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E 4) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยเทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2553 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยเทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E และกลุ่มเปรียบเทียบที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E มีการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่า ความเที่ยง 0.73 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.52-0.68 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.40-0.77 และ2) แบบวัด เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 รวมทั้งเก็บข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ทดสอบ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. กลุ่มทดลองมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This study was a quasi-experimental research. The purposes of this research were1)to compare scientific problem solving ability of lower secondary school students between groups learning by analogy technique 5E learning cycle and 5E learning cycle 2) to compare scientific problem solving ability of lower secondary school students before and after learning by analogy technique 5E learning cycle 3) to compare attitude towards science of lower secondary school students between groups learning by analogy technique 5E learning cycle and 5E learning cycle and 4) to compare attitude towards science of lower secondary school students before and after learning by analogy technique 5E learning cycle. The samples were Mathayom Suksa I students of Benchamarachuthit School, Chanthaburi Province, at academic year 2010. The samples were divided into two groups : an experimental group which learning by analogy technique 5E learning cycle and comparative group which learning by 5E learning cycle. This research collected data before and after experiment. The research instruments for data collection were1) scientific problem solving test with, difficulty ranging from 0.52-0.68 and discriminative ranging from 0.40-0.77 and reliability at 0.73 2) the attitude towards science test with reliability at 0.88. The observation form and the interview form of attitude towards science were also use for supporting data. The collected data were analyzed by using arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, tested the hypothesis by using t-test and information analysis of the interview . The research findings were summarized as follows: 1. Scientific problem solving posttest scores of the experiment group were significantly higher than those of comparative group at .05 level. 2. Scientific problem solving posttest scores of the experiment group were significantly higher than pretest scores at .05 level. 3. The posttest scores of attitude towards science of experimental group were significantly higher than those of comparative group at .05 level. 4. The posttest scores of attitude towards science of experimental group were significantly higher than pretest scores at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21304
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mareeji_ko.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.