Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21306
Title: | การศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการนำไปใช้ของครูมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ |
Other Titles: | Study of state and problems of science lesson planning and implementation of secondary school teachers in the southern region |
Authors: | ณัฏฐกัญจน์ ไชยภักดี |
Advisors: | อลิศรา ชูชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Alisara.C@chula.ac.th |
Subjects: | การเรียนรู้การเรียนรู้ การวางแผนการศึกษา วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาสภาพ การนำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ จำนวน 431 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปดังนี้ สภาพการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์เพียงร้อยละ 26.91 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกรายวิชา เมื่อพิจารณาสภาพการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในแต่ละด้าน พบว่า 1.1 การเตรียมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีการเตรียมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษาเอกสารประกอบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และวางแผน การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น ร้อยละ 91.27 70.28 และ 62.03 ตามลำดับ ครูวิทยาศาสตร์ใช้เวลาในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มากกว่า 2 เดือน และร้อยละ 61.08 ดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียน 1.2 การดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.45 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ โดยในส่วนของแ ผนการจัดการเรียนรู้รายคาบมีการกำหนดสาระสำคัญ ร้อยละ 9 5.05 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในลักษณะของจุดประสงค์นำทางและจุดประสงค์ปลายทาง ร้อยละ 64.39 องค์ประกอบที่กำหนดไว้ในการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้มากที่สุด คือ พฤติกรรมที่คาดหวัง ร้อยละ 69.81 กำหนดสาระการเรียนรู้ ร้อยละ 76.42 ในลักษณะของเนื้อหาที่เป็นข้อความรู้ทั่วไป ร้อยละ 76.23 กำหนดวิธีสอนแบบสืบสอบ ร้อยละ 90.33 กำหนดสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ ร้อยละ 85.38 โดยสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ที่นำมาใช้มากที่สุด คือ อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 90.33 กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ร้อยละ 86.79 และ บันทึกหลังสอน ร้อยละ 85.61 โดยข้อมูลที่บันทึกมากที่สุด คือ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ร้อยละ 96.97 1.3 การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ร้อยละ 51.89 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 77.73 ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้หลังนำไปใช้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ร้อยละ 99.42 เครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมิน คือ แบบตรวจสอบรายการในการประเมินตนเอง ร้อยละ 84.21 ส่วนปัญหาการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้น พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีปัญหาในด้านความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาปัญหารายข้อ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีปัญหาเกี่ยวกับการนำวิธีการสอนและเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ในการจัดการเรียนรู้มากที่สุด สำหรับ ด้านเจตคติในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าครูวิทยาศาสตร์มีปัญหาในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีปัญหาเกี่ยวกับความพึงพอใจ ในแผนการจัดการเรียนรู้และด้านการนิเทศ กำกับและติดตาม พบว่าครูวิทยาศาสตร์มีปัญหาในระดับปานกลางเมื่อพิจารณา รายข้อ พบว่าครูวิทยาศาสตร์มีปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านบุคลากรที่ดำเนินการนิเทศ 2. สภาพการนำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน ครบทุกรายวิชา ร้อยละ 30.39 โดยแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นเอง ร้อยละ 90.36 ในส่วนของการนิเทศกำกับ และติดตาม พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ร้อยละ 70.07 ได้รับการนิเทศเกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้นิเทศก์คือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 76.16 นิเทศโดยพิจารณาจากผลงานเอกสารที่จัดทำ ร้อยละ 83.77 และนิเทศภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ร้อยละ 75.17 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) study the state and problems of science lesson planning and 2) study the implementation of science lesson planning. The samples were 431 secondary school science teachers in the southern region. The research instruments consisted of questionnaire, lesson plan analysis, observation form, and interview guideline. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and content analysis. The research findings were as follows: 1. State of science lesson planning: it was found that only 26.91% of science teachers created lesson plans for all subjects. When considering in each area, state of science lesson planning was found that: 1.1 The preparation for the lesson planning: It was found that 91.27%, 70.28% and 62.03% of science teachers prepared for lesson planning by studying documents for lesson plan, participating in lesson planning trainings or seminars and planning lesson plan with other teachers, respectively. It was found that science teachers spent over 2 months in producing lesson planning which 61.08% of them made it during their vacations. 1.2 Lesson planning procedure: It was found that 67.45% of science teachers created daily-lesson plans. In the parts of daily-lesson plan, 95.05% of daily-lesson plan composed of core concepts, 64.39% of science teachers defined their objectives as enabling and terminal objectives. The component of learning objectives: 69.81% determined the most was expected behaviors, 76.42% determined content, 76.23% defined content general knowledge characteristics, 90.33% determined inquiry teaching method, 85.38% determined learning material or resource which was an internet at 90.33%, 86.79% determined the evaluating instruments and 85.61% determined teaching log that information was noted the most, 96.97%, was problems and obstacles. 1.3 The evaluation of lesson plans: It was found that 51.89% of science teachers evaluated their lesson plans which 77.73% of them made after implementation. 99.42% of them determined objectives in order to develop methods for learning management. As for evaluating instruments, 84.21% was self-analysis check list. The problems in science lesson planning: It was found that science teachers had problem about understanding in lesson planning procedure at middle level. When considered in each item it was found that most of science teachers had problem about using a variety of teaching methods and techniques for learning management, Where as the problems about attitudes towards lesson planning procedure were at middle level when considered in each item it was found that science teachers had problem about satistiaction in lesson planning. And the problems about supervising and monitoring were at middle level when considered in each item it was found that science teachers had problem about the appropriateness of supervisor. 2. The state of implementation of science lesson planning: It was found that 30.39% of science teachers used lesson plans in all subjects. 90.36% of them used the lesson plans which created by themselves. In term of supervising and monitoring. It was found that 70.07% of science teachers were supervised on lesson planning procedure which 76.16% of supervisors were chiefs of science subject areas, 83.77% of supervising was considered by their provided documents and 75.17% of supervising was done once per semester. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21306 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1962 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1962 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
natthakan_ch.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.