Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21501
Title: ดุลนิพิจพนักงานสอบสวนในการปล่อยชั่วคราว
Other Titles: Inqutry oepicers' discretion in provisional release
Authors: เพชร สระทองอุ่น
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิธีพิจารณาความอาญา
การสอบสวนคดีอาญา
สิทธิผู้ต้องหา
การปล่อยชั่วคราว
การประกันตัว
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินคดีอาญาปัจจุบันนี้ได้ยอมรับและเน้นถึงความสำคัญในสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหามากขึ้น โดยให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหามีฐานะเป็นประธานในคดี มิใช่เป็นกรรม หรือวัตถุแห่งการซักฟอก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11 (1) ได้บัญญัติไว้ว่า “ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีผิดตามกฎหมายในการพิจารณาเปิดเผย ซึ่งคนได้รับหลักประกันบรรดาที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้คดี” ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองปฏิญญาฉบับดังกล่าวด้วย ดังนั้นเพื่อรับรองถึงสิทธิดังกล่าวจึงจำต้องมีการตรากฎหมายภายในขึ้นบังคับใช้ โดยได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิดังกล่าวนี้ไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุด และทั้งในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งอยู่ในลำดับรองลงมา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามแม้รัฐธรรมนูญของประเทศไทยจะได้บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหานี้ไว้ แต่ก็เป็นที่ทราบดีว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมักไม่ค่อยได้รับความสนใจและให้ความสำคัญเท่าที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นยังมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญกันบ่อยครั้ง ส่วนในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งกลายเป็นแบบอย่างให้ยึดถือปฏิบัติ แม้จะได้มีบทบัญญัติรับรองถึงสิทธิดังกล่าวนี้ไว้ในหลายลักษณะด้วยกันซึ่งลักษณะการปล่อยชั่วคราวก็เป็นลักษณะหนึ่งที่บัญญัติขึ้นเพื่อรับรองถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา แต่เมื่อพิจารณาดูจากบทบัญญัติแล้วทำให้เห็นว่า ควรจะให้มีการปล่อยชั่วคราวหรือไม่นั้นให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราว ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าแม้กฎหมายในปัจจุบันจะมีบทบัญญัติรับรองสิทธิผู้ถูกกล่าวหาว่าจะได้รับการปล่อยชั่วคราวไว้ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ก็ไม่อาจคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหาได้ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการพิจารณาสั่งปล่อยชั่วคราว การให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานนั้นย่อมเสี่ยงต่อการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจเป็นอย่างมาก หากผู้ใช้ดุลพินิจขาดคุณธรรมและไม่มีมาตรการที่จะควบคุมการใช้ดุลพินิจนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จาการศึกษาพบว่า ในทางกฎหมายแม้จะมีการบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ไว้ในรัฐธรรมนูญและเคยมีบางฉบับจะบัญญัติรับรองสิทธิในการปล่อยชั่วคราวไว้เฉพาะก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติของผู้ใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวกลับไม่สำนึกในหลักพื้นฐานทางกฎหมายในการปล่อยชั่วคราวประกอบกับกฎหมายในลำดับรองลงมาที่ใช้บังคับอยู่ ในขณะนี้ก็หาได้มีความชัดเจนแต่อย่างใดไม่ในระหว่างกฎหมายด้วยกันเองก็ไม่สอดคล้องกันตามลำดับชั้นของกฎหมายการให้ดุลพินิจไว้อย่างกว้าง ๆ ประกอบการไม่บัญญัติการควบคุมตรวจสอบการใช้ดุลพินิจไวให้ชัดเจน ในการปฏิบัติจึงเกิดผลในทางตรงข้าม ดังนั้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าว จึงเห็นควรที่จะต้องทำให้พนักงานสอบสวนมีความเข้าใจและสำนึกถึงหลักพื้นฐานในการปล่อยตัวชั่วคราว และตระหนักในสิทธิดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหา และถ้าเป็นไปได้ควรจะบัญญัติในเรื่องปล่อยชั่วคราวนี้ไว้ให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญเช่นที่เคยบัญญัติไว้ในฉบับปี พ.ศ. 2492 และฉบับ พ.ศ. 2517 เพราะผู้เขียนยังเชื่อว่ารัฐธรรมนูญเป็นหลักและเป็นกฎหมายสูงสุดในการสะท้อนให้เห็นถึงแนวนโยบายของรัฐที่จะมุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล ถ้าแนวนโยบายดังกล่าวนี้ไม่มีปรากฏชัดเจนในกฎหมายสูงสุดแล้วโอกาสที่จะสร้างกฎหมายใหม่ลำดับรองคงจะไม่มีทางที่จะเกิดมีขึ้นได้.
Other Abstract: It can be said that criminal proceeding in modern time accepts and emphasizes on the rights and freedom of the alleged offender and the situation of the alleged offender is “process-Subject” instead of object or passive actor in the proceeding. Universal Declaration of Human Rights Article 11(1) states that “Everyone charged with a penal offence has the right to be presumed innocent until proved guilty according to law in a public trial at which he has all the guarantees necessary for his defence” Thailand similar to other countries, is a member of the United Nations in confirming this right. It is therefore necessary to have some legal provision on this matter, both in the Constitutional law which is the supreme law of the country and the Criminal procedure which is the procedural law. As a matter of fact, the role of the supreme law of the country does not show itself as important as it should and the changes of the Constitution are often brought up by the changes of government so the provisions of Criminal procedure are leaving untouched. The provisional release is a part of it to show the rights of the alleged offender and the accused. Unfortunately it depends on the discretion of the officers in charge of each case. Therefore, the aims of provisional release cannot be achieved because there is no standard form in the use of discretion on the part of the officers. It has been found by research that the provisional release is not clear and incompatible with real fact as enacted in the Constitution Law and there is also no limitation of the discretion of officer. Consequently, the provisional of release should be enacted in the Constitutional Law which is the supreme law of the country as appeared in the Constitution Law B.E.2492 and Constitutional Law B.E.2517. This will result in setting the policy and rules for the secondary laws of the country on a firm ground.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21501
ISBN: 9745681539
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Petch_Sr_front.pdf541.82 kBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_ch1.pdf549.93 kBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_ch2.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_ch3.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_ch4.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_ch5.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_ch6.pdf877.77 kBAdobe PDFView/Open
Petch_Sr_back.pdf932.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.