Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21503
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการอ่าน เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า
Other Titles: The relationship between understanding English idioms and the reading comprehension ability of mathayom suksa five students
Authors: เพชรา สังขะวร
Advisors: วาสนา โกวิทยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้าโดยมีสมมติฐานในการวิจัยว่า ความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่าน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้คัดเลือกสำนวนจากหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 25 สำนวน นำมาสร้างเป็นแบบทดสอบความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษแบบปรนัย 45 ข้อ แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านประกอบด้วยสำนวนทั้ง 25 สำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านที่ไม่ปรากฏสำนวนดังกล่าวจำนวน 80 ข้อ นำแบบทดสอบทั้งสามฉบับไปทดลองสอบกับนักเรียนที่ไม่ใช่ตัวอย่างประชากรก่อนเพื่อปรับปรุงแบบทดสอบให้เหมาะสม ได้แบบทดสอบที่จะนำไปใช้จริงคือ แบบทดสอบความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษ 37 ข้อ แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านประกอบด้วยสำนวนทั้ง 25 สำนวน 22 ข้อ และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านซึ่งไม่ปรากฏสำนวนที่มีในแบบทดสอบฉบับแรก 50 ข้อ จากนั้นนำแบบทดสอบฉบับที่ 3 ไปทดสอบกับตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นนักเรียนทั้งชายและหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2522 ในโปรแกรมต่าง ๆ ของโรงเรียนหอวัง โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนสารวิทยา และโรงเรียนเทเวศรวิทยาคม รวมทั้งสิ้น 493 คน แล้วนำมาหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ ฉบับที่ 3 ได้ค่าเท่ากับ0.89 แล้วคัดเลือกตัวอย่างประชากรซึ่งมีความสามารถในการอ่านใกล้เคียงกันที่สุดไว้ 161 คน นำแบบทดสอบฉบับที่หนึ่งและสองกับตัวอย่างประชากรที่เลือกไว้ แล้วนำไปหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบฉบับที่หนึ่งและสอง ได้ค่าเท่ากับ 0.86 และ 0.87 ตามลำดับ แจกแจงความถี่ของสำนวนแต่ละสำนวน ซึ่งนักเรียนตอบถูกโดยใช้อัตราส่วนร้อยละ หลังจากนั้น นำคะแนนของแบบทดสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 มาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสำคัญของค่า r โดยการทดสอบค่า t ผลการวิจัย 1.สำนวนภาษาอังกฤษที่นักเรียนมีความเข้าใจถูกต้องมากที่สุด คือ สำนวน “to get up” เป็นจำนวนร้อยละ 95.65 ของนักเรียนทั้งหมด และสำนวนที่นักเรียนมีความเข้าใจน้อยที่สุด คือ สำนวน “to pick up” มีนักเรียนตอบได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 39.13 ของนักเรียนทั้งหมด 2.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษและความเข้าใจในการอ่าน เท่ากับ 0.98 มีนัยสำคัญที่ .01 ข้อเสนอแนะ 1.การเตรียมบทเรียนเรื่องความเข้าใจในการอ่าน ควรคำนึงถึงการสอนสำนวนภาษาอังกฤษด้วย 2.การสอนสำนวนภาษาอังกฤษ อาจวางเป็นแผนการสอนระยะยาว หรือ สอนเป็นส่วนหนึ่งของการสอนศัพท์ก็ได้ 3.การสอนสำนวนภาษาอังกฤษ ควรสอนไปตามลำดับความยากง่าย 4.ควรสอนสำนวนภาษอังกฤษที่จะพบเห็นบ่อยในชีวิตประจำวัน 5.สำนวนที่ยังเป็นปัญหาต่อความเข้าใจของนักเรียน ซึ่งเป็นผลของการวิจัยครั้งนี้ควรนำมาสอนให้นักเรียนได้เข้าใจถูกต้อง 6.ควรมีการจัดทำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ 7.การคัดเลือกแบบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ผู้บริหารควรคำนึงถึงความสำคัญของสำนวนเพราะเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย 8.ผู้บริหารควรจัดโครงการอบรมครูเกี่ยวกับการสอนอ่านให้สัมพันธ์กับความสามารถในการเข้าใจสำนวน ให้ครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของความเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษที่มีผลต่อความเข้าใจในการอ่าน
Other Abstract: Purpose The purpose of this study was to examine the relationship between understanding English idioms and the reading comprehension ability based on a hypothesis that understanding English idioms is related to the reading comprehension ability. Procedures English idioms found in the English texts used at the secondary school level were systematically selected so as to construct the first test, measuring the ability of understanding English idioms. The second and third tests, with and without idioms in the context, were also constructed to measure the students’ reading comprehension ability. The three tests were pretested. Then the third one was administered to 493 students, randomly selected from Hoh Wang School, Satreevidhaya 2 School, Bordindeja School, Saravidhaya School and Tewedvidhayacom School, The reliability coefficient of this test is 0.89. Only 161 students whose scores were within the same range were chosen to do test No. 1. And test No. 2. The reliability coefficients of the two tests are 0.86 and 0.87. The results were interpreted in terms of product moment correlation coefficient and the t-values. The percentage of the students using each idiom correctly are also presented. Results 1.The idiom which was used most correctly was “to get up” where as the idiom “to pick up” was least correctly used.2.The product moment correlation coefficient between understanding English idioms and the reading comprehension ability was 0.98 and was significant at .01 level. Suggestions 1.Englist idioms should be considered in preparing reading comprehension lessons.2.English idioms could be taught as a long range plan or as a part of vocabulary teaching.3.English idioms should be taught according to rate of difficulty.4.English idioms which appear frequently in daily life should be taught.5.English idioms, according to the results of this research, which are the problem for students should be taught.6.Special drills or activities concerning the understanding English idioms should be set up.7.The important of English idioms should also be considered in selecting English texts. 8.Training courses for English teachers concerning the relationship between understanding English idioms and reading comprehension ability should be arranged.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Petchara_Su_front.pdf468.9 kBAdobe PDFView/Open
Petchara_Su_ch1.pdf441.86 kBAdobe PDFView/Open
Petchara_Su_ch2.pdf549.57 kBAdobe PDFView/Open
Petchara_Su_ch3.pdf568.14 kBAdobe PDFView/Open
Petchara_Su_ch4.pdf276.4 kBAdobe PDFView/Open
Petchara_Su_ch5.pdf411.79 kBAdobe PDFView/Open
Petchara_Su_back.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.