Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21510
Title: เปรียบเทียบสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการสอนแบบบรรยายกับการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
Other Titles: A comparison of social studies learning achievement by lecture method and role-playing method
Authors: เพ็ญนภา แสงสระศรี
Advisors: ก่องแก้ว เจริญอักษร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การสอน
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างบทเรียนวิชาสังคมศึกษาเรื่อง “ธรรมเพื่อเตือนสติ” เพื่อทดลองสอนโดยวิธีบรรยายและวิธีใช้บทบาทสมมติ 2) เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) จากการเรียนโดยใช้วิธีบรรยายและวิธีใช้บทบาทสมมติ วิธีดำเนินการวิจัย 1. สร้างบทเรียนที่สอนโดยวิธีบรรยายและวิธีใช้บทบาทสมมติ เรื่อง “ธรรมเพื่อเตือนสติ” โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 หัวข้อย่อย 2. นำบทเรียนไปทดลองสอนเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น 3. สร้างแบบสอบ และวิเคราะห์แบบสอบ หาระดับความยาก (Degree of Difficulty) ได้ 30% ถึง 80% หาอำนาจจำแนก (Discrimination-Power) ได้ .20 ถึง .70 และมีความเที่ยง (Reliability) .81 4. นำบทเรียนและแบบสอบที่ปรับปรุงแล้ว ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากร กลุ่มทดลองสอนโดยใช้บทบาทสมมติ กลุ่มควบคุมสอนโดยวิธีบรรยาย ผลการวิจัย สัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการใช้บทบาทสมมติกับกลุ่มที่เรียนโดยวิธีบรรยาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: Purposes: The purposes of this study were 1) to develop a social studies learning unit on “Thamma for self-awareness”, employing lecture method and role-playing method. 2) To compare the social studies learning achievement of the Mathayomsuksa 1 students resulting from the lecture method and role-playing method. Procedure: 1. The learning unit employing lecture method and role playing method were constructed and devided into 6 sub-units.2) The learning unit was experimented on small groups in order to get more improvement. 3) The test was developed and then analysed. The Degree of Difficulty was 30% to 80%, the Discrimination-Power was .20 to .70 and the Reliability was 81. 4. The experimental group was taught by the role-playing method and the control group by the lecture method. Result: At the .05 level there was no significant difference between the experimental group and the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21510
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phennapar_Sa_front.pdf450.68 kBAdobe PDFView/Open
Phennapar_Sa_ch1.pdf858.56 kBAdobe PDFView/Open
Phennapar_Sa_ch2.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Phennapar_Sa_ch3.pdf385.1 kBAdobe PDFView/Open
Phennapar_Sa_ch4.pdf250.73 kBAdobe PDFView/Open
Phennapar_Sa_ch5.pdf392.44 kBAdobe PDFView/Open
Phennapar_Sa_back.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.