Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21520
Title: ระบบบัญชีต้นทุนขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
Other Titles: Cost accounting system of preserved food organization
Authors: พูลศรี รัศมี
Advisors: วิไล วีระปรีย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบัญชีต้นทุน
องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป -- การบัญชี
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นองค์การรัฐวิสาหกิจประเภทยุทธปัจจัย สังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ในความควบคุมของกรมการอุตสาหกรรมทหาร ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ. 2498 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1. จัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสำเร็จรูป 2. ผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของทางราชการทหารและประชาชน 3. ผดุงส่งเสริมมาตรฐานการกิน เพื่อให้เหมาะสมตามความประสงค์ของทางราชการและประชาชน จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลตั้งแต่ปีงบประมาณ พ. ศ. 2513 เป็นต้นมา ดังนั้นองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปจึงต้องดำเนินการฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดซึ่งต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เป็นต้นว่า ภาวะตลาด นโยบายรัฐบาล คู่แข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจ ฯลฯ การดำเนินงานในอดีตขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปประสบผลขาดทุนตลอดมา ผู้บริหารจำเป็นต้องปรับปรุงงานในทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตและการขาย ซึ่งเป็นหลักสำคัญและจำเป็นต้องแก้ไขระบบบัญชีและงานอื่น ๆ ให้สอดคล้องกันไป เพราะรายงานการเงินที่ดีจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปวางแผน ควบคุม วิเคราะห์ และตัดสินใจปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ได้ทันท่วงที การวิจัยเรื่องระบบบัญชีต้นทุนขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปกระทำโดยการรวบรวมข้อมูลจากแผนกบัญชีต้นทุน และจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานใหญ่ ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และฝ่ายโรงงาน อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี รวมทั้งระเบียบและข้อบังคับขององค์การฯ โดยการศึกษาระบบเดิมที่ใช้อยู่และค้นพบข้อบกพร่องเพื่อจะนำมาใช้ในการวางระบบบัญชีใหม่ โดยยังคงเหลือส่วนที่ดีไว้ให้ใช้ปฏิบัติตามเดิมสำหรับส่วนที่ไม่ดีนั้นได้พิจารณาแก้ไขใหม่ ผลการศึกษาปรากฏว่า เดิมองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปใช้งบต้นทุนงานเพื่อประมาณต้นทุนต่อหน่วยเท่านั้น แต่มิได้บันทึกบัญชีให้สมบูรณ์ตามระบบต้นทุนงาน ซึ่งลักษณะการผลิตขององค์การผลิตอาหารสำเร็จเหมาะสมแก่การใช้ทั้งระบบต้นทุนงานและต้นทุนตอน (Process Cost System) ผู้บริหารชุดปัจจุบันได้หาทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้ดำเนินงานประสบผลตามเป้าหมาย งานทางด้านบัญชีต้นทุนจึงเป็นเครื่องมือของผู้บริหารองค์การฯ ในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิ์ภาพการผลิต ซึ่งจะมีผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และสามารถควบคุมปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยการจัดระบบการทำรายงานต้นทุนอย่างละเอียดเป็นรายเดือน ในขั้นแรกจะใช้วิธีการคิดต้นทุนผลผลิตตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงรวมทั้งการคิดอัตราค่าแรงต่อชั่วโมงของแต่ละเดือนและการคิดค่าใช้จ่ายโรงงานของแต่ละเดือนเข้าเป็นต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเดือนนั้น ซึ่งการคิดต้นทุนในลักษณะเช่นนี้มีผลเสียคือทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของแต่ละเดือนต่างกันโดยขึ้นอยู่กับชั่วโมงทำงานในแต่ละเดือน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและปริมาณผลผลิตในแต่ละเดือน ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าระบบบัญชีต้นทุนที่ อสร. ควรจะนำมาใช้ในขั้นต่อไปคือการใช้อัตราค่าแรงรายชั่วโมงซึ่งจะกำหนดขึ้นล่วงหน้าโดยคำนึงถึงอัตราค่าแรงที่จะจ่ายและจำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานในปีหน้า ตลอดจนการประมาณค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดในปีหน้าตามระดับการผลิตที่คาดว่าจะผลิต จาการปรับปรุงระบบบัญชีต้นทุนตามที่กล่าวมานี้ ผู้เขียนเชื่อว่าการบริหารงานและการควบคุมต้นทุนการผลิตขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
Other Abstract: The Preserved Food Organization is a state enterprise whose main line of production is producing food stuffs for the government to be utilized as war supplies. The Organization is under the control of the Armed Forces Industrial Department, Minitry of Defence. When it was frist established in A.D. 1955, by a Royal Decree, 3 main objectives were stated, as follows: 1.Finding raw materials for the production of preserved food, 2.Producing preserved food to meet the demand of the government and the public, and 3.Maintaining and promoting good nutritional habit to suit objectives set by the government and the public. On the study of PFo’s financial statement it was found that the Organization has never received any budget from the Government since 1970. As a result, in order to help itself and maintain its stability, PFo should be managed as a business concern. The executives of the Organization are at present trying to solve the many problems, both internal and external, encountered by the Organization namely problems stemming from wavering Government policy, general economic conditions, marketing problems etc. The Organization has incurred loss throughout its operation, improvements in all aspects of the operation thus become imperative, especially on production, sales and accounting system, since effective reporting could facilitate management in its role of planning, operating, making decision as well as taking timely corrective actions. A study for this thesis is carried out by the way of a study of data collected from the cost accounting section, documentary research, regulation and rules of the Organization and other official units involved, both at the head office in Bangkok and the factory division of Ban Phong District, Rajburi Province. From the study it was found that the Organization utilized job cost system in order to estimate cost per unit of its production, even though the nature of production through various processes renders the process cost system applicable as much as job cost system. In trying to improve the effectiveness of their management, the executive board realized that good cost accounting system would be an effective tool in improving production efficiency and effecting cost reduction through controlling production efficiency and effecting cost reduction through controlling each elements of cost. In the frist step of revising cost accounting system, the author suggested that actual cost should be recorded both under job cost and process cost systems. As the calculation of cost per unit through actual cost recording will deffer month by month, the author suggested that eventually the Organization should adopt the applied rate methods in calculating direct labour cost and overhead cost for each department in the factory. This should result in a more equitable unit cost of production for the various products. The author belives that the suggested cost accounting system would be effective in cost control as well as helpful to the management in planning and improving the operation of the Organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21520
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonsri_Ra_front.pdf651.68 kBAdobe PDFView/Open
Poonsri_Ra_ch1.pdf505.48 kBAdobe PDFView/Open
Poonsri_Ra_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Poonsri_Ra_ch3.pdf781.5 kBAdobe PDFView/Open
Poonsri_Ra_ch4.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open
Poonsri_Ra_back.pdf388.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.