Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21605
Title: ความต้องการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดสร็จ ระดับ 4 โรงเรียนผู้ใหญ่เฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: The needs for libary services of functional literacy students level 4 of Chalermkwanstree Adult Education School in Phitsanulok Province
Authors: ศศิวิมล ชัยวีระไทย
Advisors: สุพรรณี วราทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรงเรียนผู้ใหญ่เฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก
ห้องสมุดประชาชน จังหวัดพิษณุโลก
ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก
ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด
ห้องสมุดกับผู้อ่าน
ห้องสมุดโรงเรียน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานภาพการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษาผู้ใหญ่โรงเรียนผู้ใหญ่เฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก ความต้องการใช้บริการห้องสมุดตลอดจนปัญหาในการใช้บริการห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงบริการห้องสมุดให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษายิ่งขึ้นและเป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ4 ที่เป็นสมาชิกห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนผู้ใหญ่เฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลกปีการศึกษา 2526 วิธีวิจัยอาศัยข้อมูลจากเอกสารการสัมภาษณ์บรรณารักษ์ตลอดจนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกเพื่อศึกษาบริการที่ห้องสมุดจัดและการแจกแบบสอบถามให้แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ทุกคนที่เป็นสมาชิกห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก โดยแจกแบบสอบถามในวันที่ 1 มีนาคม 2527 และรับแบบสอบถามคืน และสามารถนำมาวิเคราะห์ได้รวมทั้งสิ้น 146 ชุดหรือร้อยละ 97.33 และพบว่าในจำนวนนักศึกษาผู้ใหญ่ 146 คนนี้เคยใช้ห้องสมุดประชาชน 49 คนหรือร้อยละ 33.56 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า นักศึกษาผู้ใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15 – 20 ปี นักศึกษาจำนวนสูงสุดเป็นผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพส่วนใหญ่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 นอกจากนี้พบว่า นักศึกษาผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าเรียนในโรงเรียนภาคปกติไม่ได้เนื่องจากต้องทำงาน และมีจุดมุ่งหมายในการเข้าเรียนในโรงเรียนผู้ใหญ่เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ในการใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีด้านสภาพการใช้ปรากฏว่านักศึกษาผู้ใหญ่เข้าใช้ห้องสมุดต่ำกว่า 7 ครั้งต่อเดือน และเข้าใช้ในระหว่างชั่วโมงเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้าใช้เพื่อทำรายงาน และเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม วิธีค้นหาหนังสือที่ต้องการส่วนใหญ่ใช้วิธีดูจากชั้นหนังสือ ส่วนสิ่งจูงใจให้เข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีส่วนใหญ่ก็ด้วยความสนใจของตนเอง รองลงมาคือโดยคำแนะนำของอาจารย์ ความต้องการบริการห้องสมุดพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการบริการต่างๆจากห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีในระดับปานกลางบริการที่ต้องการในระดับมากคือบริการให้ยืมและบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าส่วนความต้องการของนักศึกษาในบริการด้านสิ่งพิมพ์ซึ่งจำแนกโดยใช้ระบบการจัดหมู่ทศนิยมดิวอี้เป็นแนวทางอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่หนังสือที่นักศึกษาต้องการในระดับมากคือหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาหนังสือความรู้รอบตัว เบ็ดเตล็ด หนังสือสังคม การเมืองการปกครอง หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หนังสือเกี่ยวกับกฎหมายและหนังสือเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีตามลำดับ ส่วนความต้องการด้านสิ่งพิมพ์ซึ่งแบ่งตามประเภท พบว่านักศึกษาผู้ใหญ่มีความต้องการสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ สิ่งพิมพ์ที่นักศึกษาผู้ใหญ่ต้องการมากคือตำราเรียน เกี่ยวกับปัญหาการใช้ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีพบว่านักศึกษาผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการใช้ห้องสมุดในระดับน้อยหรือไม่เป็นปัญหา นักศึกษาผู้ใหญ่ที่ใช้ทั้งห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีและห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกซึ่งมีร้อยละ 33.56 ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นหญิงมากกว่าชายส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง15-20 ปีเป็นผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพมีจำนวนสูงสุดและเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 เป็นส่วนใหญ่และส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายที่เข้าเรียนในโรงเรียนผู้ใหญ่เพื่อต้องการเพิ่มพูนความรู้นักศึกษาผู้ใหญ่เข้าเรียนในโรงเรียนผู้ใหญ่เพราะขาดทุนทรัพย์ในการที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนภาคปกติมีจำนวนสูงสุด การใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกด้านสภาพการใช้พบว่านักศึกษาผู้ใหญ่เข้าใช้ห้องสมุดประชาชนน้อยกว่าการเข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนคือต่ำกว่า 7 ครั้งต่อเดือน และเข้าใช้ห้องสมุดในภาคเช้าโดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้าใช้เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม นักศึกษาจำนวนสูงสุดค้นหาหนังสือโดยดูจากชั้นหนังสือส่วนสิ่งจูงใจให้นักศึกษาเข้าใช้ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกคือความสนใจของตนเองมีมากที่สุด ในด้านความต้องการบริการห้องสมุดของนักศึกษาผู้ใหญ่พบว่านักศึกษามีความต้องการบริการต่างๆจากห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่บริการที่ต้องการในระดับมากคือบริการแนะนำการใช้ห้องสมุดบริการรวบรวมบรรณานุกรมและบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้านักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการสิ่งพิมพ์ซึ่งจำแนกโดยใช้ระบบการจัดหมู่ทศนิยมดิวอี้เป็นแนวทางในระดับปานกลางพบว่าหนังสือที่นักศึกษาผู้ใหญ่ต้องการมากคือ หนังสือเกี่ยวกับการศึกษา หนังสือความรู้รอบตัว เบ็ดเตล็ด หนังสือเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและหนังสือกฎหมาย ตามลำดับ ส่วนความต้องการบริการด้านสิ่งพิมพ์ซึ่งแบ่งตามประเภทพบว่านักศึกษาผู้ใหญ่มีความต้องการสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางสิ่งพิมพ์ที่นักศึกษาต้องการมากคือหนังสือพิมพ์ สำหรับปัญหาการใช้ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกของนักศึกษาผู้ใหญ่พบว่านักศึกษาผู้ใหญ๋ประสบปัญหาการใช้ห้องสมุดประชาชนด้านสภาพทั่วไปในระดับปานกลางในด้านสิ่งพิมพ์นักศึกษาผู้ใหญ่ประสบในระดับปานกลางและน้อยในระดับใกล้เคียงกันตามลำดับปัญหาที่นักศึกษาผู้ใหญ่ประสบมากคือ ปัญหาหนังสือพิมพ์มีน้อยฉบับ หนังสือบนชั้นเรียงสับสนไม่เป็นระเบียบทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ยาก หนังสือไม่ตรงกับความต้องการ และหนังสือชำรุดไม่น่าใช้ตามลำดับ ในด้านระเบียบการใช้ห้องสมุดนั้น นักศึกษาผู้ใหญ่ประสบปัญหาในระดับน้อยเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในด้านบุคลากรนักศึกษาประสบปัญหาในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ จากผลการวิจัยนี้ผู้วิจัยจึงได้ให้ข้อเสนอแนะต่อไปนี้คือ เสนอให้ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีจัดทำหรือปรับปรุงการประชาสัมพันธ์บริการที่ห้องสมุดให้แก่นักศึกษา ให้ความสำคัญต่อบริการแนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า จัดหาหนังสือในสาขาวิชาต่างๆให้มากขึ้นโดยเฉพาะตำราและหนังสือวิชาภาษาไทยและปรับปรุงเรื่องแสงสว่างภายในห้องสมุด สำหรับห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกผู้วิจัยเสนอให้จัดการประชาสัมพันธ์บริการและจัดนิทรรศการจัดบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจัดหาหนังสือที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดหาหนังสือพิมพ์ให้มากรายการขึ้น ปรับปรุงเรื่องความสะอาดของชั้นหนังสือและโต๊ะเก้าอี้สำหรับอ่านหนังสือ จัดหาสิ่งพิมพ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษา นอกจากนั้นได้เสนอให้หัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิษณุโลกเอาใจใส่ดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลกมากยิ่งขึ้น และกรมการศึกษานอกโรงเรียนควรติดต่อประสานงานกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิษณุโลกอย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบความต้องการของนักศึกษาผู้ใหญ่และเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานของห้องสมุดในด้านนี้ต่อไป
Other Abstract: The purpose of this research was to study the use of library, the needs for library services and problems on using the library of functional literacy students level 4 of Chalemkwanstee adult Education School in Phitsanulok Province. It was hoped that this research would help to improve the services of the libraries in accordance with the needs of the students and to encourage better use of libraries by the students. The population used in this research were the functional literacy students level 4 of Chalermkwanstree Adult Education School who were members of school library and were studying in the academic year 1983. The research was conducted by gathering data from printed materials; interviewing librarians and library staff of both the library of Chalermkwanstree School and Phitsanulok public library about library services; and through use of a questionnaire to 150 functional literacy students level 4 who were members of the school library. The questionnaires were distributed on March 1, 1983 and returned on the same day. There were 146 complete questionnaires or 97.33 percent of total distribution. The research found that there were 49 functional literacy students level 4 who also used the services of the Phitsanulok public library. The 146 complete questionnaires were analysed by using percentage, mean and standard deviation. The research results showed that males used library services more than females. Most of the students were 15 – 20 years old, unemployed, and were studying in the second semester. Their reason for not entering the formal school was that they had no work. The functional literacy students level 4’s main purpose for studying in Chalermkwanstree Adult Education school was to increase their knowledge. As for use of the library, the study showed that most of the students used Chalermkwanstree School library less than seven times a month. The most popular period for using the library was during school hours. The main purpose for using it was to search for their reports and increase their knowledge. Most students found the books they wanted by searching from book shelves. Their primary motivations for library use was their own interest and their teachers’ recommendation respectively. About the needs for library services, it was found that most students needed school library services at a moderate degree. The services that they needed most were circulation and reference services. Most students needed printed materials at medium level. Books that the students needed most for the school library to provide were educational books, texts, miscellaneous books, sociopolitical and government books, history, law and cultural books respectively. Most students had minor problems in using the library or had no problem at all. Of the functional literacy students level 4 of Chalermkwanstree Adult Education School who used both school library and the public library were more females than males. Similar to the characteristics of the population studied, most of them were 15-20 years old, unemployed, and were studying in the second semester. They studied in non-formal school because of the lack of money and the main purpose of their studying was to increase their knowledge. The study showed regarding use of the Phitsanulok public library that most of the functional literacy students level 4 used the library less than seven times a month and the preferred period for use of the school library was in the morning. They found books by searching from book shelves. Motivation for using the library was the students’ own interest. It was found that most students moderately needed the public library services. The services needed most by the students were the orientation courses in library use, bibliographical services and reference services. Most students needed printed materials at a moderate degree. Books that the students needed most for the public library to provide were : newspapers, educational books, miscellaneous books, cultural books and law books. Most students had problems in using the public library at medium level. Problems about printed materials were moderate and low. Problems that most of the students confronted were not enough newspapers for students’ need, the shelving of books was not orderly and the misplaced books made it’s difficult for the students to located the books they wanted. Some books were not wanted and damaged. About the library rules most students had minor problems. As for the library staffs, most of them found it at a medium level. According to the research result ; the researcher made many recommendations : The library of Chalermkwanstree School should promote public relations program for library services to the functional literacy students. It should emphasize the importance of courses in the use of library and reference services. More books in various subjects should be provided especially text books and books of Thai studies. The lightening facilities should be improved. As for Phitsanulok public library, there should be public relations programs for the library services and the exhibitions in the library. The reference service should be more effective. There should be better provision of quality books and more issues of newspapers. The library, book shelves, tables and chairs should be well cleaned. Finally it was also suggested that the Director of the Phitsanulok Provincial Non-Formal Education Center should pay more attention to the work of public library staff and the Non-Formal Education Department should regularly cooperate with the Provincial Non-Formal Education Center in order to learn about the functional literacy students’ library service needs and made guidelines for improvement of the services of the public libraries.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21605
ISBN: 9745660051
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasivemol_Ch_front.pdf817.57 kBAdobe PDFView/Open
Sasivemol_Ch_ch1.pdf974.06 kBAdobe PDFView/Open
Sasivemol_Ch_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Sasivemol_Ch_ch3.pdf362.5 kBAdobe PDFView/Open
Sasivemol_Ch_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Sasivemol_Ch_ch5.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Sasivemol_Ch_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.