Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21612
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือน
Other Titles: Legal problems concerning the petition system of the civil officials
Authors: ศรีนิดา เกิดผล
Advisors: อมร จันทร์สมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ข้าราชการพลเรือน -- การอุธรณ์และร้องทุกข์
ข้าราชการพลเรือน -- การร้องทุกข์
ข้าราชการพลเรือน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อุทธรณ์
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพุทธศักราช 2518 นั้นเป็นข้าราชการประเภทหนึ่งต่างหากจากข้าราชการการเมือง ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตุลาการ ฯลฯ จำนวนของข้าราชการพลเรือนเมื่อเทียบกับข้าราชการประเภทอื่นแล้วมีจำนวนมากกว่า เนื่องจากลักษณะงานของข้าราชการพลเรือน เป็นข้าราชการส่วนซึ่งใกล้ชิดกับประชาชน เช่นข้าราชการทางด้านฝ่ายปกครอง เจ้าพนักงานที่ดิน ฯลฯ ฉะนั้นประสิทธิภาพของงานและผู้ที่รับราชการจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญซึ่งระบบราชการจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยใหญ่ 2 ประการกล่าวคือ ประการแรก ระเบียบเกี่ยวกับการจัดการงานของหน่วยงานราชการนั้นๆ และประการหลังคือตัวบุคคลผู้ปฏิบัติตามระเบียบนั้น สำหรับปัจจัยหลังนี้สำคัญมากเนื่องจากการที่ข้าราชการจะทำงานให้ได้ผล หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นย่อมขึ้นกับสุขภาพทางร่างการและสุขภาพจิต หรือขวัญของข้าราชการนั้นเองซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าสุขภาพจิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ความต้องการขั้นมูลฐานของจิตใจก็คือ ต้องการความมั่นคงหากเขามีความรู้สึกมั่นคง มั่นใจในการทำงาน เขาก็ย่อมมีกำลังใจที่จะทำกิจการงานต่างๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี ฉะนั้นจึงเกิดหลักการให้ประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการว่าหากเขารับราชการไปโดยสุจริตแล้วเขาควรจะได้รับการตอบแทนโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญและเกียรติยศตลอดจนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ และในระหว่างรับราชการหากเขาได้รับความเดือนร้อนหรือถูกกลั่นแกล้งในเรื่องเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่หรือการงานของเขาแล้วเขาก็จะได้รับการคุ้มครองโดยมีสิทธิร้องทุกข์ขึ้นไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป เพื่อขอความเป็นธรรมได้หรือในระหว่างรับราชการข้าราชการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ทางราชการ กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด ก็จะยังไม่ลงโทษผู้นั้นถึงกับออกจากราชการจนกว่าจะได้มีการสอบสวนโดยชอบของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว และการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้น เมื่อกระทรวง ทบวงกรมเจ้าสังกัดได้ดำเนินไปประการใดแล้ว ก็ต้องรายงานไปยังองค์กรกลางบริหารงานบุคคล คือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเรียกย่อๆว่า ก.พ. เพื่อให้ตรวจสอบอีกครั้งทั้งนี้เพื่อเป็นการให้หลักประกันแก่ข้าราชการ และแม้ในที่สุด ข้าราชการผู้ใดซึ่งถูกออกจากราชการไปคิดว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ว่าเหตุที่ถูกออกจากราชการนั้น จะเป็นเพราะการกระทำผิดวินัยหรือเพราะเหตุอื่น ข้าราชการผู้นั้นก็มีสิทธิ์อุทธรณ์เรื่องราวซึ่งเป็นเหตุให้ต้องถูกออกนั้นได้ต่อ ก.พ. เพื่อให้พิจารณาเรื่องราวดังกล่าวได้เช่นกัน การอุทธรณ์และร้องทุกข์นี้ เป็นหลักการสำคัญในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นกับบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณา และใช้อำนาจในการใช้ดุลยพินิจตลอดจนสภาพบังคับเพื่อให้ข้อวินิจฉัยได้รับการปฏิบัติตามโดยเฉพาะการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษอันเนื่องมาจากการถูกออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยด้วยแล้ว การดำเนินการชั้นสอบสวนทางวินัยนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นหลักฐานนำมาสู่การพิจารณาการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้นั้น และนอกจากนี้มาตรฐานระดับของการลงโทษทางวินัย และแนวการพิจารณาไปในทำนองเดียวกันโดยเป็นธรรมก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะทำให้เกิดความมั่นใจและหลักประกันที่มั่นคงแก่ข้าราชการว่าเขาจะได้รับความเป็นธรรม ซึ่งจะมีผลให้ได้คนซึ่งรับราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: According to the Government Official Regulations Act B.E. 2518, a civil servant is a type of Government official distinguishable from public attorneys, political or judicial officials, etc. Comparing to other types of Government officials, the number of civil servants is greater and by nature of their works, they have closer contact with the public. For these reasons, the efficiency of the officials such as administrative officials, Land Department officials, etc, and their works are considered very important. In achieving this aim, there are two essential factors concerned, these are, regulations concerning administrative systems of such Governmental sections and the officials who perform their duties under such regulations. The efficiency of works, certainly depends very much on mental and physical health, namely morale of the officials who responsible for such works. It is generally accepted that one of human basic needs is a sense of security in his career. The existing measures which guarantee the security feeling of the officials who perform their duties well, therefore, may be in the forms of promotion, increase of salaries or awarding Royal decoration, etc. In the case where, an official receives unfair treatments concerning his position or field of work, he would have the right to appeal to his senior officials for their consideration. On the other hand, an official who is accused of violating Government Regulations should not be discharges from his office until an investigation of the accusation has been made by the investigating committee. Having made any decisions the charges the investigating committee has to report the outcome of their investigation to the senior official in charge and Civil Servant Committee (Kor Por) accordingly for the reinforcement of their decisions. Eventually, and official, who, having been discharged from his office because of the regulation violation charges, still do not satisfy with the decision of the Civil Servant Committee, has the right to appeal to the same for their reconsideration (grievance). The efficiency of appeal and complaining measures which is an essential factor in granting the officials a sense of security in their career depends very much on the persons and organization exercising the discretionary power in making decisions over the appeals and complaints (grievances) and the enforcement system to ensure that the decisions are carried out properly. In case where an appeal is made of the order discharging an official from his office for violation of regulation violation a suitable investigation system must be applied to ascertain that the evidences obtained for making decision is not abused. In addition, the level of punishment to be set and the criterion for making fair decisions are also considered important. There are all factors concerned in creating sense of security in the mind of all officials which will result in the efficiency of their works.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21612
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srinida_Ke_front.pdf719.86 kBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch1.pdf919.73 kBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch2.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch3.pdf833.14 kBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch5.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch6.pdf885.21 kBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch7.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch8.pdf826.25 kBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_ch9.pdf679.66 kBAdobe PDFView/Open
Srinida_Ke_back.pdf421.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.