Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22019
Title: ผลของยาสีฟันลดอาการเสียวฟันในการป้องกันการกร่อนของผิวเคลือบฟันจากเครื่องดื่มโคลาในห้องปฏิบัติการ
Other Titles: The protective effects of desensitizing toothpaste against enamel erosion by cola in vitro
Authors: ปวีณา คุณนาเมือง
Advisors: ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thipawan.T@chula.ac.th
Subjects: เคลือบฟัน
ฟัน -- การสึกกร่อน
ยาสีฟัน
น้ำอัดลม
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ ศึกษาผลของการทายาสีฟันเซนโซดายน์แรปิดรีลีฟ ยาสีฟันคอลเกตเซนซิทีฟโปรรีลีฟ หรือยาสีฟันคอลเกตรสยอดนิยม ก่อนหรือหลังแช่โคลาต่อความแข็งผิวเคลือบฟันในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการใช้ฟันกรามน้อย 20 ซี่ แต่ละซี่ตัดเป็น 4 ชิ้น สุ่มเข้ากลุ่มทดลองคือ เซนโซดายน์แรปิดรีลีฟ คอลเกตเซนซิทีฟโปรรีลีฟ คอลเกตรสยอดนิยม และกลุ่มควบคุมที่ไม่ทายาสีฟัน ทดลอง 2 ตอนคือ ทายาสีฟันก่อนแช่โคลาและหลังแช่โคลา ทดสอบความแข็งผิวเคลือบฟัน 5 ช่วงเวลาคือ ก่อนการทดลอง หลังแช่โคลา เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที 60 นาทีและ 120 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (p<0.05) ผลการศึกษา ผลการทดลองทั้ง 2 ตอนเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ค่าเฉลี่ยความแข็งผิวเคลือบฟันทุกกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกับหลังแช่โคลา เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ กลุ่มทาเซนโซดายน์แรปิดรีลีฟ กลุ่มทา คอลเกตเซนซิทีฟโปรรีลีฟ กลุ่มทาคอลเกตรสยอดนิยม และกลุ่มควบคุมตามลำดับ ค่าเฉลี่ยความแข็งผิวเคลือบฟันกลุ่มทาเซนโซดายน์แรปิดรีลีฟ และกลุ่มทาคอลเกตเซนซิทีฟโปรีลีฟไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกับกลุ่มทาคอลเกตรสยอดนิยมและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทาคอลเกตรสยอดนิยมไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม สรุป กลุ่มทาเซนโซดายน์แรปิดรีลีฟ และกลุ่มทาคอลเกตเซนซิทีฟโปรรีลีฟ ช่วยป้องกันการกร่อนของผิวเคลือบฟันและเพิ่มค่าเฉลี่ยความแข็งผิวเคลือบฟันได้ดีกว่ากลุ่มทาคอลเกตรสยอดนิยม และกลุ่มควบคุมที่ไม่ทายาสีฟัน โดยกลุ่มทาเซนโซดายน์แรปิดรีลีฟป้องกันการกร่อนของผิวเคลือบฟันและเพิ่มค่าเฉลี่ยความแข็งผิวเคลือบฟันได้ไม่แตกต่างกับกลุ่มทาคอลเกตเซนซิทีฟโปรรีลีฟ กลุ่มทาคอลเกตรสยอดนิยมป้องกันการกร่อนของผิวเคลือบฟันและเพิ่มค่าเฉลี่ยความแข็งผิวเคลือบฟันได้ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม
Other Abstract: Objective The purpose of this study was to assess the effect of Sensodyne® Rapid Relief, Colgate Sensitive Pro-reliefTM and Colgate regular toothpaste to prevent or reharden enamel erosion by cola. Materials and methods Each of the twenty human premolars were cut into 4 pieces and randomly applied with Sensodyne® Rapid Relief, Colgate Sensitive Pro-reliefTM, Colgate regular and a control group with no treatment. Each toothpaste was applied on the specimens before and after exposed to cola. Enamel hardness was measured at baseline, after being exposed to cola, at 30 minutes, 60 minutes and 120 minutes of storing in artificial saliva. The data were analyzed by one way ANOVA and one way repeated ANOVA (p<0.05). Results Both parts of the experiment showed the same trend. The mean enamel hardness in every group after experimental cycle increased compared to after being exposed to cola. The mean enamel hardness of Sensodyne® Rapid Relief and Colgate Sensitive Pro-reliefTM groups increase was not different from each other but higher than control group. The mean enamel hardness of Colgate regular toothpaste increased was not different from the control group. Conclusion From this in vitro study, we concluded that Sensodyne® Rapid Relief and Colgate Sensitive Pro-reliefTM toothpaste had greater benefit in preventing and rehardening enamel erosion than Colgate original toothpaste and control group. Sensodyne® Rapid Relief could increase enamel hardness not differently from Colgate Sensitive Pro-reliefTM toothpaste while there was no difference between the enamel hardness increase of Colgate original and control group
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22019
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.543
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.543
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paweena_kh.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.