Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22039
Title: การศึกษาเทคนิคการจับคู่จุดภาพอัตโนมัติระหว่างภาพถ่ายดาวเทียมธีออสกับภาพออร์โธจากภาพถ่ายทางอากาศ
Other Titles: Study of automate image matching techniques for Theos imagery and aerial orthophoto
Authors: พงศ์ธร อ่อนสำลี
Advisors: กนก วีรวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาพถ่ายทางอากาศ
การสำรวจด้วยภาพถ่าย -- เทคนิคดิจิตอล
การรังวัด
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการผลิตข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมธีออสเพื่อให้ความถูกต้องทางตำแหน่งสูงขึ้นจำเป็นต้องใช้จุดควบคุมภาคพื้นดิน (ground control points, GCPs) การหาค่าพิกัดบนพื้นดินของ GCPs สามารถใช้ภาพออร์โธเป็นภาพอ้างอิงโดยการระบุจุดที่เหมือนกันจากภาพถ่ายออร์โทและภาพถ่ายดาวเทียมธีออส นำค่าพิกัดบนพื้นดินของจุดภาพบนภาพถ่ายออร์โทเป็นพิกัดบนพื้นดินจุดภาพบนภาพถ่ายดาวเทียมธีออสและใช้จุดภาพดังกล่าวเป็น GCP ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถประหยัดงบประมาณในการผลิตได้ อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้การหาจุดที่เด่นชัดบนภาพถ่ายและการจับคู่ภาพถ่ายมาพัฒนาเป็นวิธีการจับคู่จุดภาพอัตโนมัติซึ่งสามารถลดเวลาในการผลิตได้อีกด้วย โดยทั่วไปการจับคู่จุดภาพอัตโนมัติประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ การหาจุดเด่นชัดบนภาพ การจับคู่ภาพและการตรวจหาคู่จุดที่จับคู่ผิด แต่เนื่องจากคุณสมบัติที่แตกต่างกันของทั้งสองภาพจึงทำให้ผลการทดสอบไม่ดีเท่าที่ควรเพื่อปรับปรุงวิธีการดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคจับคู่จุดภาพอัตโนมัติอัตโนมัติบนภาพถ่ายดาวเทียมธีออสโดยใช้ภาพออร์โธสีเชิงเลขของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นภาพอ้างอิง และพัฒนาวิธีการรังวัด GCPs อัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน การเตรียมภาพก่อนการประมวลผล การหาจุดเด่นชัดในภาพถ่าย การจับคู่ภาพและการตรวจหาและกำจัดจุดที่จับคู่ผิด ผลการศึกษาพบว่าค่า RMSE ของ GCP หลังจากการคำนวณปรับแก้เชิงเรขาคณิตของภาพถ่ายดาวเทียมธีออสโดยวิธีการระบุ GCP โดยผู้ปฎิบัติงานมีค่า RMSE = 1.2605 จุดภาพ และวิธีการรังวัดอัตโนมัติมีค่า RMSE = 1.2798 จุดภาพ ซึ่งมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการระบุ GCP โดยผู้ปฎิบัติงาน
Other Abstract: In creating an accurate orthophoto from a THEOS image, a set of ground control points (GCPs) are required. The cost of obtaining these GCPs can greatly be reduced by deriving them from orthophotos instead of obtaining them directly from ground survey. Moreover, the deriving of GCPs from orthophotos enables the process of automatic point measurement which results in reducing of processing time. Automatic point measurement can be divided into three stages, i.e., interest point detection, image matching, and outlier detection. Due to the difference of picture condition, the result in this study is not good enough.The purpose of this research is to present the result from a study of automated point measurement techniques for THEOS imagery and digital orthophoto from Land Development Departure and to develop automated GCPs measurement method that can be divided into four stages, i.e., image pre-processing, interest point detection, image matching, and outlier detection. The method developed from the study shows the root mean square error (RMSE) of 1.2798 pixels comparable to the RMSE of 1.2605 pixels from manual measurement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22039
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.659
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.659
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongtorn_on.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.