Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22167
Title: หน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย
Other Titles: Constructions expressing three-participant events in Thai
Authors: สุธาทิพย์ เหมือนใจ
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Kingkarn.T@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
ภาษาไทย -- บุรพบท
ไวยากรณ์ปริชาน
Thai language -- Usage
Thai language -- Prepositions
Cognitive grammar
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์ 1) ประเภทของเหตุการณ์ที่แสดงโดยหน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในเชิงแบบลักษณ์ภาษา 2) กลวิธีการแสดงรูปภาษาของเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางความหมายกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ของหน่วยร่วมเหตุการณ์แต่ละหน่วย ในหน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย ผู้วิจัยศึกษาภายใต้กรอบทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน โดยใช้ข้อมูลที่เป็นภาษาใช้จริงจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมประกอบด้วยประเภทเหตุการณ์ในเชิงแบบลักษณ์ภาษาทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่ 1) เหตุการณ์การถ่ายโอน 2) เหตุการณ์การทำให้เคลื่อนที่ 3) เหตุการณ์การสื่อสาร 4) เหตุการณ์การขอการครอบครอง 5) เหตุการณ์การได้รับการครอบครอง 6) เหตุการณ์การไม่ยอมให้มีการถ่ายโอน 7) เหตุการณ์การทำให้สูญเสียการครอบครอง 8) เหตุการณ์การสร้างสรรค์ให้ และ 9) เหตุการณ์การกระทำด้วยเครื่องมือ เหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทยแสดงรูปภาษาได้เป็น 2 แบบหลักคือ (ก) หน่วยสร้างแบบมีคำบ่งชี้ และ (ข) หน่วยสร้างแบบไม่มีคำบ่งชี้ หน่วยสร้างแบบมีคำบ่งชี้ประกอบด้วยคำบ่งชี้ที่เป็น (1) คำกริยาที่ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ได้แก่ ให้ ต่อ สู่ ถึง เข้า ใส่ ลง จาก ใช้ (2) คำบุพบท ได้แก่ แก่ กับ เพื่อ ด้วย ของ และ (3) คำกริยาประสมระหว่างคำกริยาเรียงที่ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์และคำบุพบท ได้แก่ ให้แก่ ให้กับ ลงบน ลงใน หน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมแบบมีคำบ่งชี้ และแบบไม่มีคำบ่งชี้ในภาษาไทยแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมเหมือนกัน แต่มีความหมายเชิงปริชานที่สะท้อนมุมมองต่อเหตุการณ์ (construal) แตกต่างกัน ความหมายเชิงปริชานหรือการมองเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นกลไกทางปริชาน ที่มีผลต่อการแสดงรูปภาษาเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย นอกจากนี้ภาษาไทยแสดงรูปเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมโดยใช้กลวิธีทางภาษา 5 แบบ ได้แก่ 1) กลวิธีการใช้อาร์กิวเมนต์แกนหลัก 2) กลวิธีการใช้การผูกติดกับคำนาม 3) กลวิธีการใช้อาร์กิวเมนต์แกนการกอ้อม 4) กลวิธีการใช้กริยาเรียง และ 5) กลวิธีการใช้คำกริยาที่ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์และคำบุพบท ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางความหมาย และหน้าที่ทางไวยากรณ์ของหน่วยร่วมเหตุการณ์มีลักษณะหลากหลาย โดยหน้าที่ทางไวยากรณ์หนึ่งสามารถมีบทบาททางความหมายได้หลากหลายบทบาท ดังนี้ 1) ประธาน มีบทบาททางความหมาย ผู้กระทำ และเป้าหมาย 2) กรรมตรง มีบทบาททางความหมาย ผู้ร่วมแกนกลาง และ แหล่งที่มา 3) กรรมรอง มีบทบาททางความหมาย เป้าหมาย แหล่งที่มา และเครื่องมือ
Other Abstract: To analyze (1) typological semantic categories of three-participant event construction (2) linguistic strategies for coding three-participant events in Thai and (3) the mapping between semantic roles and grammatical functions of participants in three-participant event constructions in Thai. The Cognitive Linguistic approach is adopted in this study. The data used in the analysis is drawn from the Thai National Corpus. It is found that three-participant event constructions express 9 typological semantic categories: 1) transfer event 2) caused-motion event 3) communicative event 4) asking for possession event 5) receiving possession event 6) refusal event 7) deprivative event 8) creating event and 9) instrumental action. Three-participant events in Thai are linguistically realized into 2 major constructions. The first type of constructions is linguistically realized without any marker. The second type of constructions employs various markers which can be classified into 3 groups 1) grammaticalized serial verbs, namely hây ‘to give’, tɔ̀ɔ ‘to extend’, sùu ‘to’, thɨ̌ŋ‘to arrive’, khâw ‘to enter’, sày ‘to put on’, loŋ ‘to descend’, càak ‘to leave’ and cháy ‘to use’ 2) prepositions, namely kᴂ̀ᴂ‘to’, kàp ‘with, accompanied by’, phʉ̀a ‘for’ duây ‘with (instrument)’ and khɔ̌ɔŋ ‘of’ and 3) grammaticalized serial verbs and prepositions, namely hây-kᴂ̀ᴂ ‘give-to’, hây-kàp ‘give-with’, loŋ-bon ‘descend-on’, loŋ-nay ‘descend-in’. Constructions with different realizations can denote the same three-participant events but express different construals of the same objective scenes. Five strategies are found to encode three-participant events in Thai 1) direct argument strategy 2) adnominal strategy 3) oblique strategy 4) serial verb strategy and 5) grammaticalized serial verb and preposition strategy. The mapping between semantic roles and grammatical functions exhibits one-to-many relations: 1) “subject” carries “agent” and “goal” roles 2) “direct object” carries “theme” and “source” roles and 3) “indirect object” carries “goal” “source” and “instrument” roles.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22167
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.825
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.825
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthatip_mu.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.