Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22197
Title: ผลของการเรียนรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชน
Other Titles: The effect of democratic political learnings on youth
Authors: สกนธ์ จันทรักษ์
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
ประชาธิปไตย
เยาวชน -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลของการเรียนรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เยาวชนตำบล โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเยาวชนที่ผ่านการศึกษาอบรมจากศูนย์เยาวชนตำบลบางดี กับเยาวชนที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมจากตำบลคลองปาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เพื่อที่จะทดสอบว่า ศูนย์เยาวชนตำบลสามารถปลูกฝังความรู้ทางการเมืองและทัศนคติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบลได้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือเยาวชนที่มีอายุ 15-25 ปีบริบูรณ์ ที่ผ่านการฝึกอบรมมาจากศูนย์เยาวชนตำบลบางดี จำนวน 80 คน และเยาวชนที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 80 คน จากตำบลคลองปาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในปี พ.ศ. 2528 การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (purposive sampling) ใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบความรู้เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลวัดความรู้และทัศนคติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความแตกต่างของร้อยละ ในการเปรียบเทียบด้านความรู้ และใช้การทดสอบค่า t สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ใช้ในการศึกษา ผลการวิจัย พบว่า เยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เยาวชนตำบลที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพศชาย มีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยมากกว่าเยาวชนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์เยาวชนตำบลในทุกด้าน ทั้งความรู้ด้านที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ด้านรูปแบบการปกครอง และด้านวิถีชีวิต ส่วนเพศหญิงนั้นไม่ปรากฏว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์เยาวชนมีความรู้ทางการเมืองในด้านต่างๆ มากกว่าเยาวชนหญิงที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม แต่อย่างใด ซึ่งนัยว่าข้อมูลยืนยันสมมุติฐานข้อหนึ่งเพียงบางส่วน สำหรับในด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคตินั้น ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างเยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เยาวชนตำบลกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เยาวชนตำบล ทั้งในด้านสามัคคีธรรม ด้านปัญญาธรรม และด้านการวธรรม ซึ่งนัยว่าสมมุติฐานที่สองไม่ได้รับการยืนยัน โดยสรุป การเรียนรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนโดยใช้ศูนย์เยาวชนตำบลเป็นตัวการ (agent) ในการเรียนรู้นั้นประสพผลสำเร็จเฉพาะในด้านการรู้ (cognitive orientation) ของเยาวชนเพศชายเท่านั้น แต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (affective orientation) ของเยาวชนที่เข้ารับการอบรมทั้งสองเพศ ผลของการวิจัยบ่งชี้ว่าการเรียนรู้ทางการเมืองที่ส่งผลในด้านทัศนคตินั้นเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก หรืออย่างน้อยยากกว่าการเรียนรู้ด้านการรู้ ซึ่งน่าที่จะได้นำมาพิจารณาใช้ประโยชน์ในการจัดศูนย์เยาวชนตำบล หลักสูตร และวิธีการฝึกอบรมให้เกิดสัมฤทธิผลด้านทัศนคติทางการเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยต่อไป
Other Abstract: The objective of this research is to examine the effects of the democratic leaning on yotths trained at Bangdee Youth Center, Huay Yod District, Trang Province, Thailand. Specificallly, it investigates whether the youths’ political cognitive and affective orientations have altered positively in line with the objective of Tambol Youth Center. Purposive sampling method was used in selecting for comparison 80 youths, 15-25 years age, who had been trained at Bangdee Youtbs Center and 80 youths of similar characteristics who had no experience at any youth center. A quasi-experimental design was used. This involved the collection of data by questionnaires, the calculation percentage differences for measuring changes in political knowledge, and t-test for comparing political attitudes. The study found that : 1) the sample of male trained youth group had more democratic knowledge than the untrained youths. This applied to all aspects democratic ideology, democratic governmental structure, and democratic way of life. 2) There was no statistically significant difference (at .05) in the sphere of attitude change between the two groups. This was so in all aspects. Evidently, political affective orientations are much more difficult to develop than cognitive otientations. The Study thus points to the need to reform the present curriculum and training methods of tambol youth centers. This is so as to improve their ability in shaping the affective orientations of Thai youths.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22197
ISBN: 9745664138
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakonth_Ch_front.pdf446.04 kBAdobe PDFView/Open
Sakonth_Ch_ch1.pdf589.86 kBAdobe PDFView/Open
Sakonth_Ch_ch2.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Sakonth_Ch_ch3.pdf687.24 kBAdobe PDFView/Open
Sakonth_Ch_ch4.pdf739.72 kBAdobe PDFView/Open
Sakonth_Ch_ch5.pdf610 kBAdobe PDFView/Open
Sakonth_Ch_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.