Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22199
Title: | การศึกษาทางสังคม-ประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัยของกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A social-historical study of changes in residential landuse of Bangkok Metropolis |
Authors: | สงัด อิสสระทิพย์ |
Advisors: | มานพ พงศทัด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การใช้ที่ดิน -- ไทย กรุงเทพฯ -- ที่อยู่อาศัย ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ -- ประชากร |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กรุงเทพมหานครในสภาพการณ์ปัจจุบันเป็น เมืองเอกนคร (Primate City) ในทุกๆความหมาย นอกจากการเป็นศูนย์รวมของระบบโครงสร้างทางสังคมทุกๆด้าน (ทั้งด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, และจิตปัญญา) และศูนย์รวมของระบบเทคโนโลยีแล้ว ยังได้เป็น “ศูนย์รวมของปัญหา” นานัปการของประเทศไทยในปัจจุบัน สภาพการณ์และปัญหาต่างๆ ที่เราประสบกันอยู่ในชีวิตที่เป็นจริงทุกวันนี้ พิจารณาในแง่ของเมืองแล้วมีผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการที่เรียกว่า “การรวมศูนย์อย่างเกินเลยเกินขนาด” (over centralization) และ “วิถีการเติบโตอย่างเกินเลยเกินขนาด” (over urbanization) ที่เกิดขึ้น ณ เมืองนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของผู้ศึกษาที่จะทดลองเสนอวิธีการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทางด้านสังคม-ประวัติศาสตร์ เพื่อมุ่งสู่การวิเคราะห์ถึงเงื่อนไขปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นประเด็นโดยตรง หรือเป็น “แก่นของปัญหา” ที่อยู่เบื้องหลัง การเปลี่ยนแปลงในแนวทางอันชัดกับหลักวิชาการและอันไม่พึงปรารถนา ทั้งที่เกิดกับสภาพการณ์ในระดับประเทศ, ระดับภาค, และระดับเมือง-ชนบท อันซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง และโดยอ้อม จากการพยายามตอบสนองวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งในการศึกษา (ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นประเด็นกับการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย) ผู้ศึกษาค้นพบว่าการจัดตั้งระบบทุนนิยมโลกแบบอาณานิคมแผนใหม่ โดยกลุ่มนายทุนผูกขาดแห่งบรรษัทระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินระดับโลก ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น) ได้เป็นเงื่อนไขประการสำคัญที่สุด ที่กำหนด แนวทางการพัฒนาประเทศและแนวทางการพัฒนาเมืองให้ดำเนินมาในลักษณะที่ได้ดำเนินมาแล้ว การพัฒนาภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวได้ถ่างช่องว่างแห่งรายได้ให้ขยายกว้างยิ่งขึ้น ณ ระดับต่างๆ (นั่นคือ ช่องว่างระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองใหญ่อื่นๆ ระหว่างเมืองใหญ่ต่างๆกับเมืองเล็กต่างๆ และระหว่างพื้นที่เมืองกับพื้นที่ชนบทหรือระหว่างเมืองต่างๆกับพื้นที่ส่วนอื่นๆที่เหลือ) แทนที่จะลดช่องว่างดังกล่าวให้หดแคบลง สถานการณ์ดังกล่าวได้ดึงดูดประชากรชนบทผู้ยากไร้จำนวนหนึ่งให้หนีออกจากสภาพยากไร้ ณ พื้นที่ชนบทเหล่านั้น ไปสู่ พื้นที่เมืองต่างๆ (โดยเฉพาะเมืองหลวง ที่ซึ่ง อุตสาหกรรม, พาณิชย์กรรม, และการบริการ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นและพัฒนาอย่างจริงจังและรวดเร็วในช่วงระยะเวลาแห่ง “การพัฒนา”) เพื่อที่จะแสวงหาโอกาสแห่งการทำงานที่ดีกว่า และเงื่อนไขแห่งการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า การวิวัฒน์ในแนวผูกขาดของระบบกรรมสิทธิ์ ในช่วงระยะเวลา 25 ปี ในอดีตแห่ง “การพัฒนา” ได้ผลักดันพวกเขาให้กลายสภาพเป็นประชาชนผู้ยากไร้ในเมืองกรุงเทพมหานครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา 5 ฉบับภายใต้ “การให้ความช่วยเหลือ” ของรัฐบาลต่างชาติ, บรรษัทระหว่างประเทศ, และสถาบันการเงินระดับโลกซึ่งควบคุมอำนวยการโดยกลุ่มนายทุนผูกขาดระดับโลก ได้ส่งผลกระทบทั้งโดยตรงโดยอ้อม ต่ออวัยวะส่วนต่างๆ แห่งเรือนร่างสังคมไทย ให้เกิดปัญหาต่างๆ นานัปการในระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้ : 1. ระบบนิเวศน์ ทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุต่างๆ และ แม่น้ำลำคลองต่างๆ ตลอดจน สัตว์และพืช พันธุ์ต่างๆ เสื่อมโทรมสูญพันธุ์ อย่างรวดเร็ว 2.ระบบเศรษฐกิจ ง่อนแง่น อยู่ภายใต้อาณัติต่างชาติ และเต็มไปด้วยปัญหา 3. ระบบการเมือง อยู่ภายใต้อาณัติต่างชาติ และไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 4. ระบบจิตปัญญา หรือวัฒนธรรม อุดมไปด้วยแนวคิด – ทฤษฎี และสัญลักษณ์ ค่านิยมต่างๆ แบบประเทศทุนนิยมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะแบบอเมริกัน 5.ระบบเทคโนโลยี พึ่งพิงการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมทุนนิยมทั้งหลาย ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานทางกายภาพ, ชีวภาพ, และสังคมของประเทศ สภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้นผนวกกับการที่ชนชั้นนำในระบบรัฐการ ยึดถือ “แบบจำลอง” (model) ในการพัฒนาเมืองหลวงที่ถูกเสนอเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยนักวิชาการแห่งประเทศอุตสาหกรรมทุนนิยมตั้งแต่ครั้งที่คณะนักวางแผนชาวเอมริกัน (Litch Field) ได้เสนอน “Greater Bangkok Plan 1990” ให้แก่รัฐบาลเผด็จการทหาร (สฤษดิ์) ในปี 1960 และได้เป็นพื้นฐานแนวทางในการพัฒนาเมืองหลวงจากเมือง (Town) มาสู่มหานคร(Metropolis) บนพื้นฐานของกระบวนการรวมศูนย์อย่างเกินเลยเกินขนาด จึงย่อมส่งผลกระทบต่อแนวทางแห่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการใช้ที่ดินของเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในเวลาต่อมา การศึกษานี้ค้นพบว่า “การเปลี่ยนแปลง” ต่างๆที่เกิดขึ้น ณ เมืองหลวงของประเทศภายใต้แผนชาติ 5 ฉบับ ดำเนินมาในวิถีทางที่เกิดการเพิ่มจำนวนประชากรเมืองอย่างรวดเร็วยิ่ง จนมากเกินเลยขนาดและการขยายตัวของพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ทุกทิศทาง โดยเฉพาะด้านเหนือและตะวันออกในที่สุด ระบบต่างๆภายในเมืองไม่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป นั่นเพราะแผนและนโยบายที่ทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพในการควบคุมจำนวนประชากรเมือง พื้นที่เมืองและโครงสร้างการใช้ที่ดิน มิได้ถูกผลิตขึ้นจากภาครัฐบาลอย่างจริงจัง ทั้งๆที่สำนักผักเมืองได้ถูกจัดตั้งขึ้นมานานถึง 24 ปี แล้ว พ.ร.บ. ผังเมืองได้ถูกประกาศใช้มาแล้ว 11 ปี ผลลัพธ์ก็คือผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรม ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะบริเวณชานเมืองได้ถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่ถนนสายต่างๆได้ถูกก่อสร้างขึ้นเป็นระลอกอย่างต่อเนื่อง (แม้ในปัจจุบัน) ไปสู่และผ่านพื้นที่ชานเมือง ณ บริเวณต่างๆและติดตามมาด้วยโครงการเคหะการจำนวนมากซึ่งถูกก่อสร้างโดยหน่วยงานในภาครัฐบาล และโดยเอกชนกลุ่มต่างๆ (กว่า 600 โครงการ หรือกว่า 203,000 หน่วย) , บ้านเดี่ยวส่วนตัว (กว่า 111,000 หน่วย), และสลับ/ชุมชนแออัดต่างๆ (จาก 780 แห่ง เพิ่มเป็น 1,003 แห่ง หรือเพิ่มขึ้น 47,0000 หน่วย) ในระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1974-1984 ภายใต้สภาพการณ์การขยายตัวอย่างรวดเร็วของความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งดูเหมือนจะอยู่นอกเหนือการควบคุมภายในกรอบโครงแห่งการพัฒนาภายใต้แผนชาติที่มุ่งส่งเสริมการรวมศูนย์อยู่ตลอดเวลา ท่ามกลางปัญหานานัปการที่ได้สั่งสมหมักหมมมานานกว่า 20 ปี ภายใต้แผนพัฒนาฯ 5 ฉบับประชากรเมืองหลวงได้ถูกผลักไสมาสู่ภาวะเกือบวิกฤตแล้วในปัจจุบัน และอาจจะถูกผลักใสต่อไปให้เข้าสู่ภาวะวิกฤตในไม่ช้าหากหน่วยงานแห่งการวางแผนชั้นสูงสุด (รัฐบาล และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ยังมุ่งหน้าที่จะพัฒนาประเทศ พัฒนาเมืองหลวง ตามแนวทางหรือใกล้เคียงแนวทางเดิมต่อไป โดยไม่ยอมคิดค้นสร้างสรรค์นโยบายใดๆ ในแนวที่ยับยั้ง การรวมศูนย์เข้าสู่เมืองหลวง และ การเติบโตของพื้นที่เมืองและประชากรเมืองอย่างรวดเร็ว อย่างฉับพลันเร่งด่วนและอย่างจริงจัง และหากยังเป็นเช่นเดิมไปแล้วแนวโน้มของสภาพการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยของกรุงเทพมหานครก็คงต้องปรากฏออกมาในวิถีทางที่พื้นที่ว่างและพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีและชั้นดีเยี่ยม ต้องถูกแทนที่โดยสภาพการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นในรูปของ “เมืองที่พักหลับนอน” (Dormitory Town) ต่างๆบนสภาพการใช้ที่ดินที่ไร้ระเบียบตลอดทั่วทั้งเมือง ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ในบทสรุปของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้ศึกษาได้เสนอแนะให้รัฐบาลสนับสนุนสำนักผังเมืองกระทรวงมหาดไทย, กองผังเมืองกรุงเทพ, และสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานครรีบเร่งจัดทำ “แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร” ขึ้นในแนวทางที่เป็นการวางแผนแบบผนึกผสานเป็นหนึ่ง (integrated planning) ระหว่างการวางแผนทางกายภาพ, การวางแผนทางชีวภาพ, และการวางแผนทางสังคม (physical planning, biological planning, and social planning) และยุติแนวทางเดิมที่เป็นแบบรวบรวมแผนย่อยแยกส่วน (collected sectorial planning) ที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำมาปะติดปะต่อกันโดยขาดการสัมพันธ์กระชับแนบแน่นต่อกัน (disintegrated) ดังที่เคยเป็นและกำลังเป็นอยู่ ทั้งนี้โดยวางอยู่บนพื้นฐานของนโยบายเร่งด่วนในการยับยั้งการเติบโตทั้งทางประชากรเมืองและพื้นที่เมืองของเมืองหลวงแห่งนี้ นโยบายเร่งด่วนในการควบคุมแนวทางแห่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและนโยบายเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงบประมาณแผ่นดิน ส่งเสริมระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริง (คือระบบที่สนองตอบผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่) กระจายอำนาจ ทั้งด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, จิตปัญญา และเทคโนโลยีออกไปสู่พื้นที่บริเวณอื่นๆ แห่งเรือนร่างสังคมไทยอย่างจริงจังและเร่งด่วน ผู้ศึกษาได้แสดงทัศนะไว้อย่างชัดเจนในวิทยานิพนธ์นี้ว่าตราบเท่าที่ยังไม่อาจแก้ไขปัญหา “ความล้มเหลวของระบบการเมืองไทย”ความล้มเหลวของระบบการเมืองไทย” ได้ แผนพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพและปฏิบัติการได้จริงอย่างทันเหตุการณ์ และ แผนพัฒนากรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพและปฏิบัติการได้จริงอย่างทันเหตุการณ์ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้และในปลายทาง แผนพัฒนาและควบคุมสภาพการใช้ที่ดิน ณ เขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพ และปฏิบัติการได้จริงอย่างทันเหตุการณ์ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นระบบการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยระดับประเทศซึ่งเพิ่งจะก่อตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อประมาณ 6 เดือนมานี้เอง และท้ายที่สุดระบบการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยในระดับเขตซึ่งเพิ่งจะก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 6 เดือนมานี้เอง หากถูกยกเลิกหรือที่เรียกกันว่า “ถูกล้มกระดาน” อีกในอนาคตหรือในทางกลับกัน สามารถยืนยาวต่อได้ก็จะเป็น “เงื่อนไขที่สำคัญที่สุด” ที่จะกำหนดให้กระบวนการพัฒนาประเทศ, พัฒนาเมืองหลวง และพัฒนาเขตต่างๆ (ซึ่งสภาพการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง) ในเมืองหลวงสัมฤทธิ์ผลหรือล้มเหลวในอนาคต |
Other Abstract: | Bangkok is a “Primate City” in every meaning. Apart from being the center of all social structures (economic, political and ideological) and technological center, Bangkok is also the center of all kinds of problem in Thailand. Undesirable situations and problems with which we are confronting nowadays are resulting from the process of “over-centralization” and “over-urbanization” in this particular city. This thesis is the result of an attempt to propose a study method which emphasize the “social-historical analysis” in order to analyse various factors and conditions relevant to the problems (or the “root of the problems”). Furthermore, this thesis aim to analyse those factors and conditions which inevitable affect both directly and indirectly at national, regional and city levels which are mutual related. With the attempt to response to one objective of this study (i.e., to study the factors and conditions relevant to changes in residential landuse), the findings of this study indicate that neo-colonialism of the world – system capitalism led by monopoly capitalists of transnational carporations and global financial institutions which locate their headquarters in the core area of capitalism (especially in the United – States and Japan) is the most important condition in formulating the direction of national and urban developments. The developments under the condition has widened the income gaps at various levels (i.e., between Bangkok and other big cities, between big cities and small cities, and between urban areas and rural areas or cities and the rest) instead of reducing the gaps. Such situations have attracted a number of poor people escaping from poor circumstances in those rural areas to urban areas (especially to the capital city in where industrial, commercial, and service sectors was being seriously and speedy located and developed during the period of “development”) in order to seek for better job opportunities and better living conditions. Monopolized evolution of proprietorial system during the past 25 years of “development” has generated them to become urban poor people of Bangkok inevitably. The developments, according to the five National Economic and Social Development Plans or National Plans under the “assistance” of foreign governments, transnational corporations and global financial institutions (controlled and directed by monopoly capitalists), affects directly and indirectly on different parts of the body of the society. It has caused a huge volume of problems on the following systems : 1. Environmental System (especially forestry and mineral resources) which has quickly deteriorated, 2. Economic System which is unstable and has a number of problems, 3. Political System which is not truly democratic, 4. Intellectual or Cultural System which is heavily influenced by American ideologies, theories, symbols and values, 5. Technological System which is dependent on industrialized countries. The “urbanization model” proposed by scholars from industrialized countries since the group of American planners (Litch Field) proposed “Greater Bangkok Plan 1990” to the Military Regime (Sarit) in 1960 has been the basic guideline of the urbanization of Bangkok (from town to metropolis) upon the process of centralization. The processes, therefore, have dominated the direction of changes in lunduse structure of Bangkok and its vicinity. Findings of this study indicate that “changes” in Bangkok under the National Plans have been in the same process with over population and over expansion of urban areas in all directions, particularly in the north and the east, without up-to-date and effective plans and policies in controlling the volume of urban areas, and land 5 e structure ; although, Department of City and Country Planning was established in 1962. The results, then, are that the good and the best kinds of agricultural land situated in most part of Bangkok has been rapidly changes into urban areas after a number of roads and streets were continuously constructed lead to and through suburb areas, and followed by a great number of housing projects constructed both in governmental and private sectors (more than 600 projects or 203,000 units up), individual housing (111,000 units up), and slum and squatter settlements (from 780 places to 1,003 places or 47,800 units up) during the decade of 1974-1984, which those roads and streets stimulated them to spread all over the city (which is getting bigger speedy) under the situation of rapid growth of housing demand which seems to be beyond control within the framework of “development” under the National Plan which intend to centralized throughout the plan. Twenty-five years of development under the National Plans which dominated by American and Japanese monopoly capitalists, and Thai government as their agent, there has been no clearly long-range and continuous plan to solve all big problems of Bangkok seriously. Contrarily, and government always plan and formulate policies in the form of unplanned, traditional, conservative, and follow – problem mode of planning and let the problems cumulated. Thus, the bureaucrats in those governmental organizations operate in the same way as their headquater (i.e., government). Confronting with a great deal of problems which have been cumulated during the past 25 years under the National Plans, Bangkok residents have been moving towards a crisis and could find themselves in that crisis very soon if the highest level of planning agencies (i.e., the government and the National Economic and Social Development Board) continue to develop the country and the capital city in the same direction and with the same ideologies as in the past without trying to formulate new policies to decrease centralization to Bangkok and rapid growth of urban area and Urban population urgently and seriously. And, if they still continue to maintain the direction which has been proceeded, the trend of Bangkok residential landuse will occur in the way that residential landuse will be replacing vacant area and the good agricultural landuse more and more as dormitory towns upon the disorder landuse all over the city within few decades. The conclusion chapter presented in this thesis provides propositions to the government and leader class to encourage their planning agencies every level of planning to formulate “Bangkok Development Plan” urgently in the guideline of integrated planning between Physical Planning, Biological Planning and Social Planning, and terminate the old principle, collected sectorial planning which is highly disintegrated. This thesis states clearly that as long as we cannot solve the political problem, the effective, practical and up-to-date national development plan is not possible to exist. Therefore, the effective, practical and up-to-date development plan to develop Bangkok as a whole is not possible to exist either. In conclusion, the democratic electoral systems at the national, capital and districts levels which just reborn will be the most essential condition to assure the success of the national, capital and districts developments in future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22199 |
ISBN: | 9745669474 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sa-ngad_Is_front.pdf | 698.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sa-ngad_Is_ch1.pdf | 696.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sa-ngad_Is_ch2.pdf | 633.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sa-ngad_Is_ch3.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sa-ngad_Is_ch4.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sa-ngad_Is_ch5.pdf | 544.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sa-ngad_Is_back.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.