Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22379
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะคณิตศาสตร์ขั้นมูลฐาน กับความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หก
Other Titles: elationships between basic mathematical skills and problem-solving ability of prathom suksa six student
Authors: สุมาลี รัตนพันธุ์
Advisors: วรรณี ศิริโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะคณิตศาสตร์ขั้นมูลฐานกับความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบขึ้น 2 ฉบับ คือ แบบสอบทักษะคณิตศาสตร์ขั้นมูลฐานกับแบบสอบการแก้ปัญหา ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดลองสอบนักเรียนแล้ว ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบ จากการใช้สูตร คูเดอร์ ริชาร์ดสัน 21 (Kuder Richardson 21) เท่ากับ 0.8599 และ 0.5729 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ทดสอบเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดการประถมศึกษาจังหวัดชุมพร กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 โรง รวมตัวอย่างประชากรทั้งหมด 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสร้างสมการถดถอย (Regression Equations) ผลการวิจัย 1. ทักษะคณิตศาสตร์ขั้นมูลฐานกับความสามารถในการแก้ปัญหามีความสัมพันธ์ต่อกันในทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รวมเท่ากับ 0.6495 ทั้งนี้ทักษะการคำนวณมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากที่สุดคือเท่ากับ 0.5170 ส่วนทักษะการเปรียบเทียบมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์น้อยที่สุดคือเท่ากับ 0.2618 โดยทุกค่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. คะแนนสอบทักษะคณิตศาสตร์ขั้นมูลฐานกับคะแนนแบบสอบการแก้ปัญหาสามารถใช้พยากรณ์คะแนนซึ่งกันและกันได้
Other Abstract: Purpose : The purpose of this research was to study the relationships between basic skills and problem solving ability in mathematics of Prathom Suksa Six students. Procedures : The test was constructed and divided into 2 parts, the first test was on the basic mathematical skills and the second test was on problem solving. The test was subsequently examined by the experts and later was tried out with students. Using Kuder Richardson 21 as a formula, the reliability coefficient of the first test was 0.8599 and the second was 0.5729. The test was administered to 300 Prathom Suksa Six students of three schools that are in the Division of Elementary Education, Chumporn Province Department of General Education, Ministry of Education. Arithmetic Mean, Standard Deviation, Pearson’s Product Moment Connelation Coefficient and Regression Equation were used for analyzing the data. Results : The major finding of this research were as followed : 1. The correlation coefficient between the basic skills in mathematics and the mathematical problem solving ability were 0.6495. The basic skills in addition, subtraction, multiplication and division were at 0.5170 level. The comparison skills were 0.2618. There were all statistically significant correlation at the .01 level. 2. The basic skills in mathematics scores and the problem-solving scores can therefore predict the ability to scores on each other.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22379
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_Rat_front.pdf426.99 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Rat_ch1.pdf510.92 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Rat_ch2.pdf629.48 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Rat_ch3.pdf530.02 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Rat_ch4.pdf380.11 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Rat_ch5.pdf410.13 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Rat_back.pdf905.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.