Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22447
Title: | การเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีรูปร่างแตกต่างกัน |
Other Titles: | Comparisons of balancing abilities of secondary school students with different body types |
Authors: | สุภาภรณ์ อยู่สบาย |
Advisors: | ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ |
Other author: | จุลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีรูปร่างแตกต่างกัน ทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสูงอ้วน กลุ่มสูงผอม กลุ่มปรกติ กลุ่มเตี้ยผอม และกลุ่มเตี้ยอ้วน ให้ผู้รับการทดสอบทำการทดสอบความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ ด้วยเครื่องวัดการทรงตัว (Stabilometer) และวัดความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ด้วยแบบวัดการกระโดดของจอห์นสัน (Johnson Stagger Jump Test) นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ และทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ของนักเรียนชายที่มีรูปร่างแตกต่างกันทั้ง 5 ลักษณะ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของนักเรียนชายที่มีรูปร่างแตกต่างกันทั้ง 5 ลักษณะ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ของนักเรียนหญิงที่มีรูปร่างแตกต่างทั้ง 5 ลักษณะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนี้คือ 3.1 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ของกลุ่มสูงอ้วนกับกลุ่มปรกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ของกลุ่มสูงผอมกับกลุ่มปรกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ของกลุ่มเตี้ยผอมกับกลุ่มปรกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของนักเรียนหญิงที่มีรูปร่างแตกต่างกันทั้ง 5 ลักษณะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนี้คือ 4.4ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของกลุ่มปรกติกับกลุ่มสูงอ้วน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของกลุ่มปรกติกับกลุ่มเตี้ยอ้วน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ ระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง เฉพาะนักเรียนที่มีรูปร่างเตี้ยผอม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare the balancing abilities of the secondary school student with different body types. The subjects in this study were nonathlete boys and girls who were classified into five boey type group as tall-fast, tall-thin, normal short-thin and short-fast. A stabilometer was used to test the abilities of static balance and the Johnson Stagger Jump Test was used to measure dynamic balance. The obtained data were then analyzed into mean, standard deviation, the analysis of variance, the multiple comparison of Scheffe’ and the t-test were employed to determine the significant difference. It was found that: 1. The ability of static balance of five body types groups of boy students was not significantly different at the .05 level. 2. The ability of dynamic balance of five body types groups of boy students was not significantly different at the .05 level. 3. The ability of static balance of five body types groups of girl students was significantly different at the .01 level. 3.1 The ability of static balance between the tall-fat and the normal girls was significantly different at the .05 level. 3.2 The ability of static balance between the tall-thin and the normal girls was significantly different at the .05 level. 3.3 The ability of static balance between the short-thin and the normal girls was significantly different at the .05 level. 4. The ability of dynamic balance of five body types groups of girl students was significantly different at the .01level. 4.1. The ability of dynamic balance between the tall-fat and the normal girls was significantly different at the .05 level. 4.2 The ability of dynamic balance between the short-fat and the normal girls was significantly different at the .05 level. 5.The ability of static balance among the five body types groups of boy and girl students was no significantly different except the short-thin body type which was significantly different at the .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22447 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supaporn_Yo_front.pdf | 424.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Yo_ch1.pdf | 422.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Yo_ch2.pdf | 542.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Yo_ch3.pdf | 315.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Yo_ch4.pdf | 432.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Yo_ch5.pdf | 398.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Yo_back.pdf | 494.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.