Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22448
Title: ผลของการตัดสมองส่วนเทมโปรัล ต่อเชาวน์ปัญญา ด้านภาษา ตามทฤษฎีของกิลฟอร์ด
Other Titles: The effect of temporal lobectomy on semantic intellect in Guilford's Theory
Authors: สุภาพรรณ พงศ์หล่อพิศิษฏ์
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
นิพนธ์ คุณาดร
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา หน้าที่ของสมองส่วนเทมโปรัลแต่ละตำแหน่ง ซึ่งถูกตัดออกไป ว่ามีความสัมพันธ์ ทางด้านการรู้ การเข้าใจและความจำทางภาษา และสัมพันธ์ กับตัวประกอบใด ใน 12 แบบ ของแบบจำลองจุลภาค (เฉพาะด้านที่ศึกษา) ตามแนวทฤษฎี โครงสร้างสมรรถภาพสมองด้านภาษาของกิลฟอร์ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวบรวมจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้ผู้ป่วยที่ถูกตัดสมองส่วนเทมโปรัลด้านขวา 5 ราย ด้านซ้าย 3 ราบ กลุ่มควบคุม ได้จากเพื่อนสนิทของผู้ป่วย แต่ละรายมี เพศ อายุ การศึกษา เท่าเทียมกัน จำนวน 8 รายเช่นกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบทดสอบ วัดสมรรถภาพสมอง ด้านการรู้ และเข้าใจภาษา และแบบทดสอบวัดสมรรถภาพสมองด้านความจำทางภาษา มาทดสอบกับกลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มควบคุมโดยทดสอบแบบรายบุคคล วันละ 3 ฉบับ รวม 4 วัน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าสถิติพื้นฐานใช้ T-test เปรียบเทียบหาความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มผู้ป่วย กับกลุ่มควบคุม และใช้ Z-test เปรียบเทียบหาความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มผู้ป่วย กับกลุ่มมาตรฐาน ผลการวิจัย คือ:- ก) สมองส่วนเทมโปรัลด้านขวา ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ ด้านการรู้ การเข้าใจ และความจำทางภาษา ข) สมองส่วนเทมโปรัลด้านซ้าย มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ ด้านการรู้ การเข้าใจ และความจำทางภาษา โดยเฉพาะในด้านการรู้ การเข้าใจ – ภาษา – จำพวกความจำ – ภาษา – หน่วย, ความจำ – ภาษา – ระบบ, ความจำ – ภาษา – ความสัมพันธ์, ความจำ – ภาษา – การแปลงรูป, ความจำ – ภาษา – การประยุกต์ สามารถแยกพื้นที่ที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ กับแบบจำลองจุลภาคออกได้ดังนี้ :- 1. สมองด้านข้างส่วนกลางของเทมโปรัลด้านซ้าย และอยู่ด้านบนของมิดเดิลเทมโปรัล ไจรัส มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพสมอง ด้านการรู้ การเข้าใจ – ภาษา –จำพวก และความจำ – ภาษา – หน่วย, ความสัมพันธ์, การแปลงรูป, และการประยุกต์ 2. สมองด้านข้างส่วนกลางของเทมโปรัลด้านซ้าย ระหว่างสุพิเรียร์ และมิดเดิล เทมโปรัล มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพสมอง ด้านการรู้ การเข้าใจ – ภาษา –หน่วย, จำพวก, ความสัมพันธ์, การแปลงรูป การประยุกต์ 3. สมองด้านข้างส่วนกลาง ของเทมโปรัลด้านซ้าย ที่ส่วนกลางของมิดเดิลเทมโปรัล ไจรัส มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพสมอง ด้านการรู้ การเข้าใจ – ภาษา – จำพวก และความจำ – ภาษา – หน่วย, ความสัมพันธ์ การแปลงรูป และการประยุกต์ พิจารณาแล้ว พบว่า ทั้ง 3 พื้นที่ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน คือ อยู่ที่ด้านข้างส่วนกลางของเทมโปรัล ไจรัส ทั้งสิ้น และทั้ง 3 พื้นที่นั้น มีส่วนกระทบกระเทือนตรงกันในด้านการรู้ การเข้าใจ – ภาษา – จำพวก, ความจำ – ภาษา – หน่วย, ความสัมพันธ์การแปลงรูป และการประยุกต์
Other Abstract: The purpose of this research is to study the relationship between lesions in temporal lobes as measured by the semantic – cognition and the semantic – memory abilities tests. (Guilford’s Structure – of – Intellect model : S-I test) The sample consisted of 8 patients in 3 hospitals in Bangkok. Five of whom had right temporal lobectomies, and the remainder had left temporal lobectomies. The data of the control group were collected from 8 closed friends of the patients, with similar sex, age and education background, The Guilford Structure of Intellect (Semantic) Test, carried out individually, were administered three tests per day, in four consecutive days to serve the purpose of this research. The data were analyzed by using the T-test comparing the sample group with the control group and by using the Z-Test comparing the sample group with the standard group. The results were :- 1. The Right Temporal lobe of the brain did not had direct relationship with the ability of semantic cognition and memory abilities. 2. The left Temporal lobe of the brain did demonstrated the direct relationship with the ability of semantic – cognition and memory abilities. 3. The overlapping areas of the three left temporal lobotomized patients could be mapped out, by demonstrating relationships with the micro-model deficits, as followed :- a. The lateral portion of left mid temporal area just above the middle temporal gyrus was related to CMC, MMU, MMR, MMT and MMI. b. The lateral portion of left mid temporal area between the superior and middle temporal gyri was related to CMU, CMC, CMR, CMT, CMI, MMU, MMR, MMS, MMT and MMI. c. The lateral portion of left mid temporal area at the central of the middle temporal gyrus related to CMC, MMU, MMR, MMT, and MMI. It was considered that these three areas were very closed together in the lateral middle temporal gyrus. The lesions of these areas were involving the CMC, MMU, MMR, MMT, and MMI.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22448
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supapun_Po_front.pdf429.79 kBAdobe PDFView/Open
Supapun_Po_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Supapun_Po_ch2.pdf336.68 kBAdobe PDFView/Open
Supapun_Po_ch3.pdf570.9 kBAdobe PDFView/Open
Supapun_Po_ch4.pdf482.7 kBAdobe PDFView/Open
Supapun_Po_ch5.pdf361.2 kBAdobe PDFView/Open
Supapun_Po_back.pdf304.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.