Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22458
Title: อิทธิพลของการเคลื่อนที่ของอากาศรอบตัวต่อความสามารถ ในการทำงานของร่างกาย
Other Titles: Influence of ambient air movement on physical working capacity
Authors: สุรจิต อุดมสัตย์
Advisors: อวย เกตุสิงห์
อนันต์ อัดชุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความสามารถในการทำงานของร่างกาย ภายใต้อิทธิพลของการเคลื่อนที่ของอากาศรอบตัว ช้า เร็วและนิ่ง ประชากรเป็นนิสิตชาย ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พลศึกษา) ที่มีสุขภาพดีซึ่งอาสาสมัครเข้ารับการทดลอง จำนวน 12 คน กำหนดให้ผู้ถูกทดลองทุกคนมารับการทดสอบ PWC₁₇₀ (Physical Working Capacity at Heart Rate of 170/min) ภายในห้องอุณหภูมิปกติ (26-28 ℃) ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ± 5% ในสภาวะต่างๆ ซึ่งทดลองห่างกันครั้งละไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ดังนี้ 1). ภาวะการเคลื่อนที่ของอากาศรอบตัว ช้า (4 กม./ชม.) 2). ภาวะการเคลื่อนที่ของอากาศรอบตัวเร็ว (16 กม./ชม.) 3). ภาวะอากาศรอบตัวอยู่นิ่ง เริ่มการทดลองโดยให้ทำงานด้วยปริมาณเริ่มต้น 70% ของ PWC₁₇₀ ของแต่ละคนที่ทำได้ในการทดลองเบื้องต้น และเพิ่มงานขึ้น 25 วัตต์ ทุกๆ 2 นาที จนผู้ถูกทดลองมีอัตราชีพจรถึง 170 ครั้ง ต่อนาที บันทึกปริมาณงานที่ทำได้เป็นวัตต์ จากการวิจัยพบว่า 1). ผลการทดสอบ PWC₁₇₀ ในอากาศรอบตัวที่เคลื่อนที่กับในอากาศที่อยู่นิ่ง, มีความตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2). ความสามารถในการทำงานในอากาศรอบตัวที่เคลื่อนที่เร็ว (16 กม./ชม.) และช้า (4 กม./ชม.) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การทำงานในอากาศรอบตัวซึ่งเคลื่อนที่เร็ว (16 กม./ชม.) และช้า 4 กม./ชม.) มีประสิทธิภาพดีกว่าการทำงานในอากาศพี่อยู่นิ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3). จึงสรุปได้ว่า การออกกำลังหนักและนานในอากาศรอบตัวที่เคลื่อนที่เร็ว (16 กม./ชม.) หรือช้า (4 กม./ชม.) ก็ตาม จะช่วยให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the influence of movement of the ambient air at a slow rate (4 km/h) and fast rate (16 km/h) upon work capacity, taking work in still air as control. The subjects were 12 healthy volunteer male students from the third And fourth years of Srinakarinwirot University (Palasueksa). Each Subject performed the PWC₁₇₀ test (physical working capacity at the Heart rate of 170/min) under 3 conditions at 48-hr intervals, viz.; (1) in the slow air stream, (2) in the fast air stream, and (3) in still air. The starting exercise work load was 70 percent of the subject’s maximum work capacity as determined in a preliminary test. The load was increased by 25 watts every 2 minutes until the heart rate reached 170 beats per minute. For every experiment the ambient air in the test room was kept between 26 and 28 ℃ and RH 70 ± 5% The data indicated that physical work capacity was enhanced by movement of the ambient air, so that in the slow as well the fast air streams the capacity was significantly higher (at 0.01 level) than that in still air. However, the work capacity in the fast air stream was not significantly different from that in the slow air stream. It was concluded that in endurance exercise slow (4 km/h) or fast (16 km/h) air stream could improve working capacity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22458
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surajit_Ud_front.pdf365.48 kBAdobe PDFView/Open
Surajit_Ud_ch1.pdf613.43 kBAdobe PDFView/Open
Surajit_Ud_ch2.pdf587.14 kBAdobe PDFView/Open
Surajit_Ud_ch3.pdf284.19 kBAdobe PDFView/Open
Surajit_Ud_ch4.pdf458.32 kBAdobe PDFView/Open
Surajit_Ud_ch5.pdf451.12 kBAdobe PDFView/Open
Surajit_Ud_back.pdf541.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.