Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22485
Title: การวิเคราะห์โปรแกรมการออกแแบบทางสถาปัตยกรรมด้วยทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น : การหาสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยของโครงการอาคารอเนกหน้าที่ใช้สอย
Other Titles: An analysis in architectural programming by using linear programming theory : allocating functional space requirements of multi-function building complex projects
Authors: เสาวลักษณ์ สุรพลชัย
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกรู
ไกรวิชิต ตันตเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานสถาปัตยกรรมประเภทอาคารอเนกหน้าที่ใช้สอยนั้นเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอยหลายประเภทอยู่ร่วมกันภายในอาคารเดียวกัน ในลักษณะของอาคารที่มีความหนาแน่นสูงทางติดต่อภายในอาคาร แยกจากทางรถยนต์ภายนอกอาคารโดยเด็ดขาด มีผลตอบแทนทางการลงทุนเด่นชัดและมีข้อกำจัดหรือเงื่อนไขทางด้านพื้นที่ ประชาการ กฎหมาย การตลาด การเงิน ราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการออกแบบอีกมากมาย จึงเป็นการยากที่จะนำข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเหล่านั้นทั้งหมดมาเป็นข้อจำกัดในการพิจารณาหาสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยของพื้นที่แต่ละประเภทของโครงการให้มีอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด และเป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่โครงการมีข้อจำกัดที่ซับซ้อนมาก ๆ แล้วจะก่อให้เกิดปัญหาซึ่งยากที่จะหาสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมได้ วิทยานิพนธ์นี้แสดงวิธีการหาสัดส่วนผสมของพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ได้สัดส่วนที่พื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมที่สุดของโครงการอาคารอเนกหน้าที่ใช้สอย โดยสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่ได้นี้จะเป็นไปตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทุกข้อที่กำหนดไว้ในโครงการอย่างครบถ้วนได้ และสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดด้วย ตามวิธีที่เสนอในวิทยานิพนธ์นี้ได้นำทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้นมาช่วยในการวิเคราะห์หาสัดส่วนพื้นที่ดังกล่าว ทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้นเป็นทฤษฏีทางคณิตศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง กล่าวถึงวิธีการหาผลลัพธ์ซึ่งในที่นี้คือ สัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมที่สุด จากการนำข้อจำกัดหรือเงื่อนไขจำนวนมากมายมาพิจารณาพร้อม ๆ กันทั้งหมด ส่วนพื้นที่ใช้สอยของโครงการที่ได้นี้จะอยู่ภายในข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทุกข้อและเป็นสัดส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดหรือดีที่สุดที่จะหาได้ด้วย โดยวิธีการและขั้นตอนของทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้น ซึ่งทำการคำนวณหาผลลัพธ์โดยวิธีซิมเพล็กซ์ มีความยุ่งยากและซับซ้อนหลายขั้นตอน ถ้าจะทำด้วยสมองมนุษย์แล้วจะเสียเวลามากมายและอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่ายมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการหาผลลัพธ์ตามทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้นนี้ ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์จึงจัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้เฉพาะงานนี้ขึ้นเพื่อทำให้วิธีการหาสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยโดยใช้ทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้นช่วยนี้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ยังเสนอขั้นตอนในการบวนการวิเคราะห์โดยจัดให้มี 2 ขั้นตอน คือ :- ในขั้นตอนที่ 1 จะทำการตั้งเงื่อนไขและหาผลลัพธ์ตามทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้นจนได้สัดส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดออกมา และสัดส่วนพื้นที่ที่ได้นี้มีความเหมาะสมที่สุดตามเงื่อนไข และเป้าหมายที่ยังไม่ได้ปรับค่าของเวลา ในขั้นตอนที่ 2 คือ นำสัดส่วนพื้นที่ที่ได้นี้ไปวางแผนดำเนินการเป็นรายปี แล้วตั้งเป้าหมายและเงื่อนไขบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับแผนดำเนินการนี้ใหม่ นำไปทำการหาผลลัพธ์ตามทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้นอีกครั้ง จะได้ผลลัพธ์อันเป็นสัดส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดออกมาและนำสัดส่วนพื้นที่ที่ได้นั้นไปใช้ในการออกแบบต่อไปได้ นอกจากวิธีการและกระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าว ได้ทำการทดลองวิเคราะห์หาสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมที่สุด กับโครงการพัฒนาการใช้ที่ดินบริเวณราชวิถี-รางน้ำ ซึ่งเป็นที่ดินที่การเคหะแห่งชาติเข้าดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและต้องการจะพัฒนาที่ดินใหม่ มีขนาดที่ดินประมาณ 32,320 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่กว่าง 80 เมตร ยาว 404 เมตร ตั้งอยู่ติดถนนราชวิถีและถนน (ซอย) รางน้ำ โดยทำการทดลองตั้งเงื่อนไขและเป้าหมายของโครงการจากการสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้จากการเคหะแห่งชาติ และจากหลักเกณฑ์ที่เป็นจริงมากที่สุด ประกอบด้วย 22 ข้อจำกัด (เงื่อนไข) และ 9 ประเภทพื้นที่ใช้สอย (ตัวแปรตัดสินใจ) เมื่อได้เงื่อนไขและเป้าหมายแล้วก็นำไปสร้างเป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์ตามทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้น ซึ่งจะได้ 41 ตัวแปรทั้งหมดทำการหาผลลัพธ์อันเป็นสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมที่สุดของโครงการตามกระบวนการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฏีโปรแกรมเชิงเส้นช่วยนี้ สรุปผลลัพธ์ออกมาเป็นพื้นที่ (ตารางเมตร) ของแต่ละประเภทพื้นที่ใช้สอย ดังนี้ ส่วนพักอาศัย แบบ 2 ห้องนอน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18,220 ตารางเมตร หรือ 186 หน่วย แบบ 3 ห้องนอน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,002 ตารางเมตร หรือ 47 หน่วย ส่วนสรรพสินค้ารวมทั้งส่วนสนุกและซุปเปอร์มาเก็ต มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 13,762 ตารางเมตร ส่วนร้านค้าย่อย มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9,541 ตารางเมตร ส่วนสำนักงาน มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9,213 ตารางเมตร ส่วนบริบาลทารกและเด็ก มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 720 ตารางเมตร สำนักงานบริการชุมชน มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 279 ตารางเมตร ที่จอดรถ มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 46,290 ตารางเมตร หรือประมาณ 1,543 คัน สนามเด็กเล่นที่มีอุปกรณ์การเล่น มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 249 ตารางเมตร จากพื้นที่อาคารดังกล่าวข้างต้นนี้ เมื่อรวมแล้วมีพื้นที่อาคารเท่ากับ 104,029 ตารางเมตร ซึ่งไม่เกินพื้นที่ที่อนุญาตให้ก่อสร้างได้ตามข้อกำหนดของสำนักผังเมืองเท่ากับ 129,280 ตารางเมตร พื้นที่ที่ได้เหล่านี้อยู่ในข้อจำกัดทุกข้อที่เป็นไปได้ และกำไรของโครงการที่ได้ย่อมอยู่ในข้อจำกัดเช่นกัน อย่างไรก็ตามอาจจำเป็นต้องปรับขนาดและสัดส่วนพื้นที่เหล่านี้เมื่อนำไปใช้ในงานออกแบบอาคาร การพิจารณายังบอกถึงเรื่องเงินลงทุน แผนการดำเนินการเป็นรายปี แผนการก่อสร้างแต่ละปีด้วย ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง ในการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้จำเป็นต้องใช้สถาปนิกร่วมในการจัดทำเพื่อให้ได้สัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมที่สุด อันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปจัดทำโปรแกรมการออกแบบร่วมกับผลการวิเคราะห์ทางด้านที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม เช่น การใช้สอย ตำแหน่งที่ตั้ง การเข้าถึง ฯลฯ เพื่อใช้ในขั้นตอนการออกแบบต่อไป
Other Abstract: Multi – function building complex projects are large-scale architectural products, consisting of various functional spaces in the same buildings. In each building complex, the density is high and internal circulation is free from external vehicular traffic. The investment returns of such projects are obviously high. There are numerous constraints predominantly related to functional area, population, regulation, marketing, finance, construction cost, and a series of constraints in designing. Thus, due to its complicated nature, it is difficult to consider all these constraints at the same time for allocating functional spaces with optimum composition and in accordance with the maximum (or minimum) objective of the project. In case of projects with very complicate constraints, it will be very difficult to find the optimal solution of allocating functional space requirements. This study offers a method of finding the optimal spatial composition of the whole project of any multi-function building complex. The allocated functional space requirements are consistent with every stipulated constraint of the project, as well as reaching the maximum (or minimum) objective accordingly. The proposed method is based on LINEAR PROGRAMMING THEORY. This widely accepted mathematic theory, deals with a method of finding and optimal solution which maximizes or minimizes the linear objective function under a set of total linear constraints. Moreover, such findings will be the optimal or best ones to be found. The Simplex Method and various steps following the LINEAR PROGRAMMING THEORY are a large-order system. Thus, to solve the complicated problem systematically only be human brain will waste much time in tedious calculations and are apt to have arithmetic errors. It is therefore necessary and valuable to get computer aid in solving the problem of finding the optimal solution along with LINEAR PROGRAMMING THEORY. A part of this study is devoted to writing Computer Programs necessary for enhancing the efficiency of the method. It proposes two major steps to be taken in the analytical process. The first step is to set up constraints and objective, to find solution until obtaining the optimal allocating functional space requirements without considering financial adjustment based on sequence of development. The second step is to make up an annual development plan by using the optimal solution from the first step, and then to set up objective and constraints pertaining to the annual development plan. The optimal functional space requirements were allocated along with LINEAR PROGRAMMING THEORY once again. The solution reveals the optimal functional space requirements to be used in design. To illustrate the methods and analytical processes more clearly, a case study of allocating functional space requirements was made on the project of land development in the vicinity of Rajvithi-Rangnam, presently under the management of the National Housing Authority. The size of the site is approximately 32,320 square meters, of 80 meters wide by 404 meters long. Its location adjoins Rajvithi Street and Soi Rangnam Road. In this case study, constraints and objective are set up from data compiled by the National Housing Authority and other most reliable sources. It consists of 22 mathematical statements of constraints and 9 types of functional spaces (decision variables). These verbal constraints and objective were used to formulate mathematical statements according to LINEAR PROGRAMMING THEORY. 41 variables were definded totally. The final optimal solution from the second step of this project shows the most suitable area (in square meters) of each type of functional space requirements as follows : Housing : - 2 bedroom type : the total area approximately 18,220 square meters of 186 units. - 3 bedroom type : the total area approximately 6,002 square meters or 47 units. Department store including toy lot and supermarket : the total area approximately 13,762 square meters. Shops : the total area approximately 9,541 square meters. Office area : the total area approximately 9,213 square meters. Day Care Center : the total area approximately 720 square meters. Community Service Office : the total area approximately 279 square meters. Parking area : the total area approximately 46,290 square meters of for 1,543 automobiles. Play lot for children with playing facilities : the total area approximately 249 square meters. The total area of the complex is approximately 104,029 square meters which are not beyond the possible building area of 129,280 square meters according to the City Planning Regulations. As the optimal solution is under all feasible constrains, and the accruing profit of the project is under all feasible constraints too. However, the total area and spatial allocation can be adjusted in process of building design. Moreover, the solution also reveals the investment needed, the basic construction plan annually. To a great extent, such solution is beneficial directly to architectural design. In such project, architects have to participate essentially in allocating the optimal functional space requirements. They are to be used in the formation of design programs together with other architectural analyses such as functional requirements, location, accessibility etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22485
ISBN: 9745614378
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowaluck_Su_front.pdf488.31 kBAdobe PDFView/Open
Saowaluck_Su_ch1.pdf427.25 kBAdobe PDFView/Open
Saowaluck_Su_ch2.pdf544.55 kBAdobe PDFView/Open
Saowaluck_Su_ch3.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Saowaluck_Su_ch4.pdf390.65 kBAdobe PDFView/Open
Saowaluck_Su_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.