Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22617
Title: การศึกษาระดับของคำถามที่ครูใช้ในการสอนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: A study of levels of questions used by teachers in social studies instruction in mathayom suksa one
Authors: อัจฉรา สุวรรณนิตย์
Advisors: ลาวัลย์ วิทยาวุรฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับของคำถามที่ครูใช้ในการสอนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของคำถาม กับประสบการณ์การสอนของครูสังคมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสังเกตและบันทึกระดับของคำถามที่ครูใช้ในการสอนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น บันทึกผลการสังเกตในรูปของความถี่ และใช้แถบบันทึกเสียงการสอนครู ขณะทำการสอน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้ผู้สังเกต 2 คน สังเกตคำถามระดับต่างๆ ที่ใช้ในการสอนของครูสังคมศึกษา คนละ 5 ครั้ง ครั้ง ละ 50 นาที รวมการสังเกตทั้งสิ้น 150 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังคมศึกษาที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน รวมจำนวน 30 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ตามประสบการณ์การสอนของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละเพื่อหาปริมาณคำถามระดับต่างๆ และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับของคำถามกับประสบการณ์การสอนของครูสังคมศึกษา ด้วยการหาค่า โคสแควร์ (X²) สรุปผลการวิจัย 1. ปริมาณคำถามระดับต่างๆ ที่ครูใช้ในการสอนวิชาสังคมศึกษา 1.1 ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ถามคำถามระดับวัดความรู้ความจำมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 82.98 ของคำถามที่ใช้ทั้งหมด นอกจากนั้นถามคำถามระดับวัดการประยุกต์ความรู้ คำถามระดับวัดความเข้าใจ คำถามระดับวัดการวิเคราะห์ คำถามระดับวัดการประเมินความรู้ และถามคำถามระดับการสังเคราะห์ในปริมาณน้อย คือ ร้อยละ 5.41, 4.72, 3.65, 2.68 และ 0.56 ตามลำดับ 1.2 ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนมาก ถามคำถามระดับวัดความรู้ความจำมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.19 นอกจากนั้นถามคำถามระดับวัดการประยุกต์ความรู้ คำถามระดับวัดความเข้าใจ คำถามระดับวัดการวิเคราะห์ คำถามระดับวัดการประเมินความรู้ และถามคำถามระดับวัดการสังเคราะห์ในปริมาณน้อย คือ ร้อยละ 5.11, 3.81, 3.44, 1.99 และ 0.46 ตามลำดับ ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนน้อย ถามคำถามระดับวัดความรู้ความจำ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 79.60 นอกจากนั้นถามคำถามระดับวัดความเข้าใจ คำถามระดับวัดการประยุกต์ความรู้ คำถามระดับวัดการวิเคราะห์ คำถามระดับวัดการประเมินความรู้ และถามคำถามระดับวัดการสังเคราะห์ในปริมาณน้อย คือ ร้อยละ 6.10, 5.86, 3.99, 3.75 และ 0.70 ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของคำถามกับประสบการณ์การสอนของครูสังคมศึกษา คำถามทุกระดับ คือ คำถามระดับวัดความรู้ความจำ คำถามระดับวัดความเข้าใจ คำถามระดับวัดการประยุกต์ความรู้ คำถามระดับวัดการวิเคราะห์ คำถามระดับวัดการสังเคราะห์และคำถามระดับวัดการประเมินความรู้ มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การสอนของครูสังคมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การสอนกับประเภทย่อยของคำถามในระดับต่างๆ แต่ละระดับพบว่า ประเภทย่อยของคำถามระดับวัดความรู้ความจำ ประเภทย่อยของคำถามระดับวัดการวิเคราะห์ ประเภทย่อยของคำถามระดับวัดการประเมินความรู้ มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การสอนของครูสังคมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนประเภทย่อยของคำถามระดับวัดความเข้าใจ และประเภทย่อยของคำถามระดับวัดการสังเคราะห์ไม่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การสอนของครูสังคมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Other Abstract: Purposes of Research The purposes of this research were to study: 1. The level of questions used by teachers in social studies instruction in Mathayom Suksa One. 2. The relationship between level of questions and the teaching experiences of social studies teachers. Procedures The researcher constructed an observation checklist whereby the level of questions used by teachers in teaching social studies in Mathayom Suksa One was recorded in terms of frequency. The instruction was tape-recorded in order to verify the accuracy. Two observers observed and recorded the level of questions used by teachers in teaching social studies. Each teacher had been observed 5 times, for 50 minutes each. The total observation session covered 150 periods of teaching. The population sample group employed in the research comprised of 30 social studies teachers in Mathayom Suksa One, the Department of General Education, Ministry of Education which were purposive random selected according to teaching experiences from 15 simple randomly selected schools. The obtained data were analyzed by means of percentage, and Chi-square test. Conclusions 1. The questions in different levels used by social studies teachers were as follows: 1.1 Most questions at the amount of 82.98% used by social studies teachers were of knowledge level. In addition, the percentage of questions on application, comprehension, analysis and evaluation used by social studies teachers were 5.41, 4.72, 3.65, 2.68 and 0.56 respectively. 1.2 Social studies teachers with more teaching experiences asked most questions of 85.19 % at knowledge level. The rest of questions used by them were at the level of application, comprehension, analysis, evaluation and synthesis at the percentage of 5.11, 3.81, 1.99 and 0.46 respectively. Social studies teachers with less teaching experiences asked most questions of 79.60% at Knowledge level. The rest of questions used by them were on application, comprehension, analysis, evaluation and synthesis at the percentage of 6.10, 5.86, 3.99, 3.75 and 0.70 respectively. 2. The relationship between the level of question and the teaching experiences of social studies teachers. All levels of questions namely knowledge, comprehension, application, analysis, synthesis and evaluation had relationship with teaching experiences of social studies teachers at the 0.01 level of significance. Upon studying the relationship between teaching experiences and the kinds of questions in each level it was found that the kinds of question in knowledge, analysis and evaluation level had relationship with the teaching experiences of the social studies teachers at the 0.01 level of significance while there was no relationship between the kind of questions in comprehension and synthesis level and the teaching experiences of the social studies teachers at the 0.01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22617
ISBN: 9745645508
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
achara_su_front.pdf404.39 kBAdobe PDFView/Open
achara_su_ch1.pdf447.66 kBAdobe PDFView/Open
achara_su_ch2.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
achara_su_ch3.pdf367.01 kBAdobe PDFView/Open
achara_su_ch4.pdf442.33 kBAdobe PDFView/Open
achara_su_ch5.pdf553.19 kBAdobe PDFView/Open
achara_su_back.pdf860.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.