Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22751
Title: | การเปรียบเทียบการสอนมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้วยชุดสื่อการสอนและการบรรยาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 |
Other Titles: | A comparison of teaching basic concepts in mathematics by using instructional media packages and lectures to prathom two students |
Authors: | อัจฉราพรรณ เกิดแก้ว |
Advisors: | วรรณี ศิริโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลการเรียนมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดสื่อการสอน กับการสอนโดยวิธีบรรยาย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกเนื้อหาที่จะสอนมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมปีที่ 2 จำนวน 3 เรื่อง คือ การตวง เศษส่วน และรูปเรขาคณิต เพื่อสร้างเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบเพื่อวัดมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปทดลองใช้แล้ว จำนวน 3 ฉบับ ๆ ละ 20 ข้อ รวม 60 ข้อ โดยในเรื่องการตวง มีความยาก .39 - .75 อำนาจจำแนก .27 - .69 และสัมประสิทธิ์ของความเที่ยง .84 ในเรื่องเศษส่วน มีความยาก .28 - .79 อำนาจจำแนก .28 - .53 และประสัมประสิทธิ์ของความเที่ยง .77 และในเรื่องรูปเรขาคณิต มีความยาก .33 - .80 อำนาจจำแนก .25 - .5 และสัมประสิทธิ์ของความเที่ยง .82 2. ชุดสื่อการสอนจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย วัสดุ อุปกรณ์ ของจริง รูปภาพ การสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดลองใช้แล้ว 3. แผนการสอนที่ใช้ชุดสื่อการสอน และแผนการสอนที่ใช้การบรรยาย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน รวม 60 คน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดสื่อการสอน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนโดยวิธีบรรยาย มีสัมฤทธิผลในการเรียนมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดสื่อการสอนมีสัมฤทธิผลในการเรียนมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนโดยวิธีบรรยาย |
Other Abstract: | Purpose The purpose of this research was to compare the achievement of basic concepts in mathematics instruction by using instructional media package and by lectures to prathom two students. Procedures Three topics for the experiment were selected by researcher : measurement, fraction and geometrical patterns. The research instruments included the following : 1. Three tests constructed by the researcher, with 20 questions each. The tests were examined by experts and were tried out with 73 students in Phayatai School. On the topic of measurement, the level of difficulties was between 0.39 – 0.75 with a discrimination power of 0.27 – 0.69 and a reliability coefficient was 0.84. For the fraction topic, the figures were 0.28 – 0.79, 0.28 – 0.58 and 0.77 and for geometry, the figures were 0.33 – 0.80, 0.25 – 0.50 and 0.82 respectively. 2. Three sets of instructional media packages which were examined by experts and were tried out before the implementation. Each of them consisted of materials, objects, pictures, demonstration, experimentation, games and other activities. 3. Lesson plans for using instructional media pages and for lectures. The tests were administered to two groups of prathom two students of Bhibul – Uppatham School, - 30 students each, in the Office of Bangkok Primary Education, Ministry of Education. The t-test was used for analyzing the data. Results There were significant differences in studying basic concepts in mathematics between the experimental group instructed by instructional media packages and the control group instructed by lectures at the .01 level. The experimental group was found to have more solving ability than the other one. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22751 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
autcharapun_ke_front.pdf | 394.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
autcharapun_ke_ch1.pdf | 510.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
autcharapun_ke_ch2.pdf | 606.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
autcharapun_ke_ch3.pdf | 370.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
autcharapun_ke_ch4.pdf | 315.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
autcharapun_ke_ch5.pdf | 468.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
autcharapun_ke_back.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.