Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22787
Title: | ลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชนของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้ ตามการรับรุ้ของตนเอง |
Other Titles: | Community leader's characteristics of southern teachers college students as percieved by themselves |
Authors: | อาภรณ์ กาฬแก้ว |
Advisors: | สุกัญญา โฆวิไลกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชนของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้ตามการรับรู้ของตนเอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องเพศ ระดับชั้น วิชาเอก ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวของนักศึกษา ที่มีผลต่อลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยสุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2525 ของกลุ่มตัวแทนวิทยาลัยครูภาคใต้ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) คือ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช วิทยาลัยครูยะละ และวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี แล้วจึงแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย (Strata) โดยถือระดับชั้นปีและวิชาเอกเป็นหลัก จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามอัตราส่วน (Proportionate Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 300 คน เมื่อแจกแบบสอบถามแล้วได้รับคืน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 96.00 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ในการศึกษาลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชน 5 ด้าน คือ ความมีคุณธรรม ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความศรัทธาในงานพัฒนาชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ที-เทสท์ (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’) สรุปผลการวิจัย 1. นักศึกษากลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้ส่วนใหญ่มีลักษณะด้านความมีคุณธรรมสูงสุด รองลงมา คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความศรัทธาในงานพัฒนาชุมชน และความรับผิดชอบ ตามลำดับ 2. นักศึกษาเพศชายมีลักษณะผู้นำชุมชนสูงกว่านักศึกษาเพศหญิงทุกด้าน และแตกต่างกับนักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญ 4 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบ ความศรัทธาในงานพัฒนาชุมชน ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. นักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 จะมีลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชนสูงกว่านักศึกษาทุกชั้นปี โดยเฉพาะลักษณะการเป็นผู้นำชุมชนด้านความศรัทธาในงานพัฒนาชุมชน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะแตกต่างกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. นักศึกษากลุ่มที่มีประสบการณ์เป็นผู้นำมาก่อน มีลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชนสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทั้ง 5 ด้าน และนักศึกษากลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนมีลักษณะด้านความมีคุณธรรมแตกต่างกับนักศึกษาที่เคยมีประสบการณ์การเป็นผู้นำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. นักศึกษาในวิชาเอกต่างกัน มีลักษณะในการเป็นผู้นำชุมชนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพียงด้านเดียว 6. นักศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องลักษณะการเป็นผู้นำชุมชนทั้ง 5 ด้าน ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการกำหนดนโยบายการเรียนการสอนเน้นการปลูกฝังความศรัทธาในการพัฒนาชุมชนและความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายวิชาการของวิทยาลัย ประสานงานกับฝ่ายกิจการนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ได้ความรู้ความเข้าใจในประสบการณ์ชนบทมากขึ้น นอกจากนี้ วิทยาลัยควรจะได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามสัดส่วนเพศชายและหญิง โดยเฉพาะวิทยาลัยที่อยู่ในท้องถิ่นที่ต้องการการพัฒนาชุมชนอย่างเร่งด่วน ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวผู้สอน อาจารย์วิทยาครู ควรมีบทบาทในงานพัฒนาชุนชนมากขึ้น เพื่อจะได้ข้อมูลและประสบการณ์ตรงในการสร้าง “ครู” ที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำในท้องถิ่น |
Other Abstract: | Purposes of the Study The purposes of this study were as follows : 1. To study the community leader characteristics of southern teachers college students as perceived by themselves. To compare the differences of student’ sex, class level major subject, leadership experience and family economic status as factors affecting community leader characteristics. Methodology and Procedures The research was a descriptive research. The samples were selected from students of the southern teachers colleges in the second part of academic year 1982. These samples came from the simple random sampling from Nakorn Srithamraj Teacher College, Yala Teacher College and Surajthani Teacher College. Three hundred students were selected by proportionate stratified random sampling and 288 (96.00 percent) questionnaire were completed and returned. Five aspects of the community leadership : morality, human relationships, responsibility, creative thinking, and faith in community development were included in the questionnaire. The data were analyzed by computing frequency, percentage, arithmetic means, standard deviation, t-test, F-test and Scheff’ test for multiple comparison. Research Findings 1.The outstanding community leader characteristics that most southern teachers college students possessed was morality; the others were creative thinking, human relationships, faith in community development and responsibility respectively. 2. Male students had more community leader characteristics than these of females. Moreover, it was found out that there were significantly differences in all aspects except morality. 3. Among the respondents of all class levels, the fourth year students had the highest community leader characteristics, especially the faith in community development which was significantly different from those of the first year students, at .01. 4. For all aspects, the students with leadership experience had more community leader characteristics than those who had none. It was also discovered that these two groups of students were significantly different in their morality, at the .05 level of significant. 5. The students with different major fields of study also had different community leader characteristics, especially in creative thinking which was significantly different at .05. 6. There was no differences in all aspects of study among the respondents who has different economic status. Recommendation The results of study revealed that learning and teaching policy should be emphasized the importance of inculcating the faithfulness and responsibility of community development. The vice president for academic affair should coordinate with the instructors and vice president for student affair in any activities which gain the understanding and experience of the students the community development. Moreover, it should be considered the proportion of sex in recruiting students, especially the college which located in the area demanding urgent development. Asides from this, the college instructors should play more important roles in community development work in order to obtain more factual data and gain their experience which is useful in teaching the students to be good teachers with appropriate leadership characteristics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22787 |
ISBN: | 9745626694 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aphon_ka_front.pdf | 476.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphon_ka_ch1.pdf | 567.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphon_ka_ch2.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aphon_ka_ch3.pdf | 327.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphon_ka_ch4.pdf | 546.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aphon_Ka_ch5.pdf | 719.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aphon_ka_back.pdf | 713.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.