Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22828
Title: การศึกษาและทดสอบปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย: การวิจัยแบบผสมวิธี
Other Titles: An exploration and test of causal factors of research utilization of university faculty members: mixed method research
Authors: ศิวะพร ภู่พันธ์
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th
wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาจารย์
อาจารย์มหาวิทยาลัย -- วิจัย
วิจัย -- การใช้ประโยชน์
วิจัยแบบผสมผสาน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยและพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย (2) พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย และ (3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย และศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี แบบลำดับเวลา โดยใช้ลักษณะของการออกแบบการสำรวจ – รูปแบบการพัฒนาเครื่องมือ (exploratory sequential instrument mixed method design) ระยะเริ่มต้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น โดยการวิจัยเอกสาร ประกอบด้วย ตำราและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์งานวิจัย ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อความ (textual analysis) ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาข้อคำถาม ในการวิจัยเชิงปริมาณ และ ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ อาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 17 แห่ง จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติบรรยายโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่นำมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในรูปแบบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร คือ (1) ตัวแปรปัจจัย เชิงบริบท วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัว คือ นโยบายด้านการวิจัยของหน่วยงาน การสนับสนุนของหน่วยงาน และบรรยากาศ การวิจัยของหน่วยงาน และ (2) ตัวแปรปัจจัยด้านคุณลักษณะงานวิจัย วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัว คือ คุณภาพของงานวิจัย ความทันสมัยของงานวิจัย และความสอดคล้องของงานวิจัยกับรายวิชาที่สอน สำหรับตัวแปรแฝงภายใน 2 ตัวแปร คือ (1) ตัวแปรปัจจัยเชิงบุคคล วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัว คือ เจตคติเชิงบวกต่องานวิจัย ความเป็นผู้มีใจเปิดกว้าง ความเป็นผู้มีความอยากรู้อยากเห็นทางวิชาการ ความสนใจในการศึกษางานวิจัย และความสนใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ (2) ตัวแปรการใช้ประโยชน์งานวิจัย วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัว คือ การใช้ประโยชน์งานวิจัยทางตรง และการใช้ประโยชน์งานวิจัยทางอ้อม (2) แบบสอบถามการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ มีคุณภาพในด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยง อยู่ในเกณฑ์ดี (3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( (17, N=500) = 12.956; p = 0.739; GFI = 0.996; AGFI = 0.979; RMR = 0.008) ปัจจัยเชิงบุคคลส่งอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย และปัจจัยเชิงบริบท ส่งอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย ผ่านปัจจัยเชิงบุคคล
Other Abstract: The purpose of this research were (1) to explore causal factors of research utilization and develop the conceptual framework, (2) to develop the scale for measuring research utilization, and (3) to develop and empirically validate the causal model of research utilization of university faculty members. In the present study, exploratory sequential instrument mixed method research design was employed. Overall, the research procedures were divided into four phases — preliminary phase, phase I, phase II, and phase III. Preliminary phase was a documentary analysis of causal factors of research utilization, in which the data were collected from textbooks and published in scientific journals. Phase I (the major qualitative study) was an interview in which the qualitative data were collected from 22 university faculty members from the Faculty of Education, Chulalongkorn University. Phase II (development of the conceptual framework), in this phase of study, the findings from the preliminary phase and phase I were taken into consideration in order to develop the conceptual framework of research utilization and construct the research utilization questionnaire, In phase III (quantitative study), the survey data were collected by using questionnaires developed in the previous phase. The sample consisted of 500 faculty members recruited from 17 government universities. Descriptive analysis was performed by using SPSS for Windows. The conceptual model was empirically validated by using structural equation modeling with LISREL. The research finding were as follows: (1) The causal factors model of research utilization of university faculty members comprised 2 external latent variables and 2 internal latent variables. The two external latent variables included (a) contextual factors (organizational research policy, organizational support, and organizational research climate) and (b) research factors (research quality, research update, and research related to curriculum), The two internal latent variables consisted of (a) individual factors (positive attitude toward research, openness, inquisitiveness, interest in information seeking, and interest in research-based instruction), and (b) research utilization (direct research utilization and indirect research utilization); (2) The research utilization questionnaire was developed on a five-point Likert scale. The questionnaire revealed a good content validity, construct validity, and internal consistency; (3) The causal model of research utilization of university faculty members fitted data well, as indicating by excellent fit indices, (17, N = 500) = 12.956; p = 0.739; GFI = 0.996; AGFI = 0.979; RMR = 0.008. Research utilization had been affected direct effect by individual factor yielded a significant direct effect on research utilization. As mediated by individual factor, contextual factor had a significant indirect effect on research utilization.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22828
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.934
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.934
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siwaporn_po.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.