Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22843
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพชพราวรรณ จันทรางศุ
dc.contributor.authorอำนาจ พลไชยขา
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-10-26T04:36:37Z
dc.date.available2012-10-26T04:36:37Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745664057
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22843
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างโรงเรียนในโครงการสุขศึกษาสายการศึกษา กับโรงเรียนนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพ และแบบสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 436 คน จาก 24 โรงเรียน ใน 5 อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนของโรงเรียนในโครงการสุขศึกษาสายการศึกษา จำนวน 218 คน และของโรงเรียนนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษาจำนวน 218 คน โดยผู้วิจัยได้รับแบบสอบคืนทั้งหมด และได้นำแบบสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าซี ( Z – test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ พบว่า นักเรียนระหว่างโรงเรียนในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพ พบว่า นักเรียนระหว่างโรงเรียนในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษามีทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และนักเรียนของโรงเรียนในโครงการสุขศึกษาสายการศึกษามีทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพดีกว่านักเรียนของโรงเรียนนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 9 ข้อใน 36 ข้อ 3. การปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ พบว่า นักเรียนระหว่างโรงเรียนในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษามีการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และนักเรียนของโรงเรียนในโครงการสุขศึกษาสายการศึกษามีการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพดีกว่านักเรียนของโรงเรียนนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 11 ข้อใน 36 ข้อ ผลการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างโรงเรียนในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม แม้ว่านักเรียนของโรงเรียนในโครงการสุขศึกษาสายการศึกษาจะมีทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพดีกว่านักเรียนของโรงเรียนนอกโครงการอย่างมีนัยสำคัญในบางข้อ แต่โดยส่วนใหญ่ปรากฏว่าความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนระหว่างโรงเรียนในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternativeA purpose of the study was to compare knowledge, attitudes and practices concerning health between Prathom Suksa Six students in an not in the School Health Education Project in Schools under the Jurisdiction of the Office of Maha Sarakham Provincial Primary Education. The tests and questionnaires on knowledge, attitudes and practices concerning health were developed by the researcher sent to the sample of 436 Prathom Suksa six students in 24 primary schools in 5 districts of Maha Sarakham province. The sample were 218 Prathom Suksa six students in schools in the School Health Education Project and 218 Prathom Suksa six students in schools not in the mentioned project. The 436 or 100 percent tests and questionnaires were returned. The data from tests and questionnaires were statistically analyzed by percentage, mean, standard diviations and Z-test. The results of the study revealed that; 1. Health knowledge of students in schools in and not in the School Health Education Project were equally rather good and were no significant differences at the level of .05. 2. health attitudes of students in schools in and not in the School Health Education Project were equally good and students in schools in the School Health Education Project were 9/36 items significantly better than students in schools not in the mentioned project at the level of .05. 3. health practices of students in schools in and not in the School Health Education Project were equally fair and students in schools in the School Health Education Project were 11/36 items significantly better than students in schools not in the mentioned project at the level of .05. A comparison of knowledge, attitudes and practices concerning between Prathom Suksa six students in and not in the School Health Education Project in schools under the Jurisdiction of the Office of Maha Sarakham provincial Primary Education revealed that, in general there were mostly no significant differences at the level of .05. eventhough students in schools in the Schools Health Education Project were significantly better than students in schools not in the mentioned project in few items of health attitudes and health practices.
dc.format.extent507481 bytes
dc.format.extent662655 bytes
dc.format.extent1234397 bytes
dc.format.extent571653 bytes
dc.format.extent1252521 bytes
dc.format.extent664146 bytes
dc.format.extent1015725 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างโรงเรียนในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคามen
dc.title.alternativeComparisons of knowledge, attitudes and practices concerning health between prathom suksa six students in and not in the school health education project in schools under the jurisdiction of the Office of Maha Sarakham Provincial Primary Educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amnat_Po_front.pdf495.59 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Po_ch1.pdf647.12 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Po_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Amnat_Po_ch3.pdf558.25 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Po_ch4.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Amnat_Po_ch5.pdf648.58 kBAdobe PDFView/Open
Amnat_Po_back.pdf991.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.