Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22901
Title: | การศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง พ.ศ. 2518-2519 |
Other Titles: | Some demographic aspects of prisoners at Bangkwang Central prison from 1975 to 1976 |
Authors: | ณรงค์ ส่งข่าว |
Advisors: | เสาวลักษณ์ เปี่ยมปิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2520 |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ นี้ผู้ศึกษามุ่งที่จะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะทางด้านประชากรของผู้ต้องขัง ตลอดจนสภาพทางด้านครอบครัวและมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดในเรือนจำกลางบางขวาง ในปี พ.ศ. 2518 – 2519 โดยมีข้อสมมติในการศึกษาว่าจะน่ามีความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความผิดต่างๆ กับลักษณะโดยทั่วไปของผู้ต้องขัง และในการศึกษาครั้งนี้เนื่องจากมีความขาดแคลนทางด้านทุนทรัพย์ และเวลาในการศึกษามีน้อยจึงทำการศึกษาเฉพาะผู้ต้องขังที่เป็นเพศชายเท่านั้นในการศึกษาลักษณะความผิดต่างๆ นั้น ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาเฉพาะความผิดที่เห็นว่าเป็นความผิดที่มีความรุนแรงสร้างความเสียหายแก่ประชาชนและเป็นที่เสื่อมเสียต่อศีลธรรม เช่น คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์, ประทุษร้ายต่อชีวิต, ยาเสพติดให้โทษ, ประทุษร้ายต่อร่างกาย, ความผิดเกี่ยวกับเพศ, และความผิดตามตาม พ.ร.บ คอมมิวนิสต์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิซึ่งได้จากการส่งแบบสอบถามให้ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง เป็นผู้ตอบ การทำการสำรวจนี้ได้เริ่มดำเนินในเดือนกันยายน 2519 และใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ในการสำรวจโดยส่งแบบสอบถามไป 1,500 ฉบับ และได้รับแบบสอบถามที่มีคำตอบสมบูรณ์กลับคืนมา 1,007 ฉบับ จากผลการศึกษาพบว่า 1. มีความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของผิดลักษณะทั่วไปของผู้ต้องขังกล่าวคือ ส่วนใหญ่ของผู้ต้องขัง เป็นผู้ที่มีอายุ 20 – 29 ปี ได้รับการศึกษา ป. 1- ป.7 มีอาชีพรับจ้างแรงงานและกรรมกรยังไม่ได้สมรส, ไม่มีบุตร เป็นผู้ที่ไม่เคยบวชกระทำความผิดเกี่ยวกับประทุษร้ายต่อทรัพย์ และเป็นผู้ที่ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน 2. มีความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของความผิดกับลักษณะทางด้านครอบครัวของผู้ต้องขัง พบว่า ผู้ต้องขังส่วนมากกว่าก่อนกระทำความผิดได้อาศัยอยู่กับผู้อื่นมากกว่าอยู่กับบิดามารดา มีพี่น้องมากกว่า 6 คน มีลักษณะเป็นครอบครัวที่แตกแยก บิดาและมารดาเสียชีวิตสำหรับผู้ที่บิดาหรือมารดายังมีชีวิตอยู่นั้น บิดาและมารดาส่วนมากประกอบอาชีพรับจ้าง, แรงงาน และกรรมกร 3. มีความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของผู้ต้องขังกับจำนวนครั้งของการกระทำผิด และมูลเหตุจูงใจของการกระทำความผิด พบว่า ผู้ต้องขังที่ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนมีอัตราส่วนร้อยสูงกว่าผู้ต้องขังที่เคยทำความผิดมาก่อน อายุ และอาชีพมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ต้องขังกระทำความผิดขึ้นอีก โดยพบว่า ผู้ต้องขังมีอายุยังน้อย และเป็นผู้ที่ไม่มีอาชีพ หรืออาชีพรับจ้างแรงงาน กรรมกร มีโอกาสที่จะกระทำความผิดขึ้นอีก สำหรับมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดครั้งแรกและครั้งสุดท้ายนั้น พบว่า ผู้ต้องขังที่อายุน้อยและทุกระดับการศึกษามักจะกระทำความผิดเนื่องจากถูกเพื่อนชักจูง หรือความใคร่และกามารมณ์ ผู้ต้องขังที่อายุมากๆ และเป็นผู้ไม่มีอาชีพ หรืออาชีพรับจ้างแรงงานกรรมกร การศึกษาระหว่าง ป.1-ป.7 กระทำความผิดเนื่องมาจากประสงค์ต่อทรัพย์ |
Other Abstract: | The objective of this study is to examine some demographic aspects; family background and motivation factors of the inmates of The Central Prison Bangkwang in 1975-1976. The assumption has been made that there should be relation¬ship between the type of crimes commited and the prisoner's per-sonal background. However the data are only limited to male prisoners, due to shortage of time and financial support The crimes considered are those related to violent acts and acts with social consequence, namely (1) murder, (2) Criminal assults, (3) theft and robbery (4) narcotic drugs, (5) sex-related crimes, (6) communist and insurgent acts. Questionnaires were distributed on random basic to the immates of the Central Prison Bangkwang in September 1976 Out of 1,500 Questionnaires distributed, 1,007 cases were filled out and returned to the author four months later. Conclusions. 1. There is a relationship between the type of crime and the prisoner's demographic aspects. The overwhelming majority falls in the age group 20 - 29 years old, has received an education between grades 1&7,serves as unskilled laborers, is mostly unmarried and has no children, come from family with more than 7 children, committed crime related to theft and robbery, and has commited crime for the first time. 2. There is a relationship between the type of crime and the criminal's family condition. It is found that, mostly, the inmates priors imprisonment had lived with people other than with their parents. Inmates come from large families with more than seven children. Their home are broken with parents having died or are living separately. If the parents are living they are serves as unskilled laborers. 3. There is a relationship between the personal characteristics of the inmate and the frequency of crime and the motivation factors leading to crime. The percentage of first-offenders is higher than return-inmates. It is found that inmates in the low age group with ne occupations or have jobs as unskilled laborers are liable to repeat their crimes. It is found that motivation factors for the young age group consist of Provocation from friend, or sexual yearnings. In the high age group, the main motivation factor is desire for money. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22901 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narongk_So_front.pdf | 371.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_ch1.pdf | 935.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_ch2.pdf | 382.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_ch3.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_ch4.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_ch5.pdf | 703.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_ch6.pdf | 441.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
narongk_so_back.pdf | 399.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.