Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22953
Title: อิทธิพลของการละครตะวันตกในบทละครพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: The influence of western drama on the plays of King Rama VI
Authors: นันทกา พลอยแก้ว
Advisors: สุธา ศาสตรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาอิทธิพลของการละครตะวันตก โดยเฉพาะการละครอังกฤษและฝรั่งเศสในบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์บทละครตามลำดับอิทธิพลของการละครตะวันตกที่ปรากฏในการพระราชนิพนธ์บทละครดังนี้คือ ในขั้นแรกวิเคราะห์ต้นฉบับละครอังกฤษเรื่อง The Rivals และ The School for Scandal ซึ่งเป็นบทละครในสมัยศตวรรษที่ 18 และเป็นรุ่นแรกที่พระองค์ทรงแปลงเป็นบทละครไทยทำให้ทราบวิธีการของบทละครต้นฉบับและเมื่อวิเคราะห์บทละครแปลงเรื่องชิงนางและนินทาสโมสรซึ่งทรงพระราชนิพนธ์จากต้นฉบับ เพื่อหาอิทธิพลของบทละครอังกฤษดังกล่าว ปรากฏว่าทรงเลือกรับวิธีการบางอย่าง เมื่อวิเคราะห์ต้นฉบับบทละครฝรั่งเศสเปรียบเทียบกับบทละครแปลงจากฝรั่งเศสปรากฏว่า ในบทละครแปลงจากฝรั่งเศสมีอิทธิพลจากวิธีการจากบทละครอังกฤษรุ่นแรกประกอบกับวิธีการซึ่งเป็นอิทธิพลของการละครฝรั่งเศสที่แตกต่างจากอิทธิพลของบทละครอังกฤษรุ่นแรก ทำให้สังเกตได้ว่าทรงเลือกรับวิธีการเฉพาะที่ใช้ได้ผลดีในบทละครแปลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ชมเข้าใจและยอมรับบทละครแปลงของพระองค์ ในลำดับต่อไปเป็นการวิเคราะห์ต้นฉบับบทละครอังกฤษศตวรรษที่ 19 และ 20 และบทละครแปลงจากต้นฉบับพบว่ามีอิทธิพลรวม ด้านวิธีการจากทั้งบทละครอังกฤษรุ่นแรก การละครฝรั่งเศสและจากบทละครอังกฤษ ศตวรรษที่ 19 และ 20 ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการที่ทรงใช้ได้ผลดีมาแล้ว และท้ายที่สุดเมื่อวิเคราะห์บทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ก็พบว่าอิทธิพลของการละครตะวันตกนั้นเป็นอิทธิพลรวมของทั้งการละครอังกฤษและฝรั่งเศสที่เหมาะสมกับบทละครไทย เนื่องจากอิทธิพลจากการละครตะวันตกที่ปรากฏในบทละครพระราชนิพนธ์เป็นวิธีการที่ทรงนำมาใช้ได้เหมาะสมในบทละครไทย ทำให้ผู้ชมไทยยอมรับแม้ในบทละครชนิดใหม่ของพระองค์ จึงสังเกตได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงมีวิธีการเฉพาะในการคัดเลือกวิธีการเหล่านั้นมาใช้ในบทละครพระราชนิพนธ์ของพระองค์ จากการวิเคราะห์แม้ในบทละครแปลงจากต้นฉบับละครอังกฤษรุ่นแรก ก็สังเกตพบแล้วว่าบทละครแปลงมีลักษณะความเป็นไทย เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและผู้ชมไทยในสมัยนั้น เพราะพระองค์ทรงสร้างเกณฑ์เฉพาะในการพระราชนิพนธ์บทละครแปลงให้มีลักษณะเป็นไทยมากที่สุด เกณฑ์นี้คือความสั้น ความง่าย ความชัดเจนของบทละคร และความเข้ากับความเคยชินของผู้ชมไทย ต่อมาเมื่อศึกษาการทรงใช้เกณฑ์นี้ในบทละครแปลงจากต้นฉบับละครฝรั่ง ก็ปรากฏว่า ทรงใช้เกณฑ์ดังกล่าวในบทละครแปลงนี้เช่นกัน ขั้นสุดท้ายเป็นการพิสูจน์เกณฑ์นี้ในบทละครแปลงจากต้นฉบับละครอังกฤษศตวรรษที่ 19 และ 20 และในบทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ปรากฏว่าพระองค์ทรงคงใช้เกณฑ์เดิมในการพระราชนิพนธ์บทละครให้มีลักษณะเป็นไทยในบทละครเหล่านี้โดยตลอด จึงแสดงให้เห็นว่า ในการทรงรับอิทธิพลของการละครตะวันตกมาใช้นั้น ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลด้านวิธีการเสนอละคร ความคิดหลัก หรือการสร้างตัวละคร เกณฑ์ในการพระราชนิพนธ์บทละครพูดให้มีลักษณะเป็นไทยที่ทรงสร้างขึ้นนั้นจะควบคุมและกำหนดการใช้วิธีการต่างๆที่มาจากการละครตะวันตกในบทละครไทย ดังนั้น บทละครพระราชนิพนธ์จึงต้องมีลักษณะเป็นไทยเสมอและมีรูปแบบเฉพาะที่อาจสรุปได้ดังนี้คือ มีโครงเรื่องเป็นจุดเด่น มีการดำเนินเรื่องรวดเร็วเน้นการคลี่คลายเรื่องมากกว่าบทสนทนา มีเหตุการณ์และการกระทำของตัวละครที่เข้ากับความเคยชินและประเพณีของผู้ชมไทย มีเหตุการณ์และการกระทำตัวละครที่เข้ากับความเคยชินและประเพณีของผู้ชมไทย มีวัตถุประสงค์อบรมสั่งสอนให้คนไทยมีความประพฤติดีถูกต้องตามหลักศีลธรรมช่วยขยายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ และบางเรื่องยังมุ่งปลุกใจให้คนไทยมีความสามัคคีกัน มีความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์โดยผ่านความสนุกสนานในการชมละคร ส่วนลักษณะเด่นของการละครตะวันตกที่มิได้ทรงนำมาใช้ เช่นการให้ตัวละครใช้ภาษาที่คมคายสละสลวยในบทสนทนา การสร้างลักษณะนิสัยตัวละครให้มีความรู้สึกลึกซึ้ง และมีอารมณ์ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ทรงตัดออกด้วยเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากอาจใช้ไม่ได้ผลในบทละครไทย เพราะผู้ชมไทยซึ่งมีภูมิหลังทางการละครต่างจากผู้ชมตะวันตกจะไม่เข้าใจวิธีการเหล่านี้และอาจไม่ยอมรับบทละครพูดของพระองค์ นอกจากผลของการวิจัยจะช่วยให้ผู้อ่านทราบที่มาของบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วิธีการและเกณฑ์ที่ทรงใช้ในการเสนอละครแล้วยังช่วยทำให้เข้าใจอัจฉริยภาพทางการละครของพระองค์ได้ดีขึ้นในการที่ทรงสามารถเลือกใช้วิธีการซึ่งเป็นอิทธิพลจากการละครตะวันตกในบทละครไทยอย่างได้ผลดี เห็นจากการที่บทละครพูดของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างมากในสมัยนั้น ในฐานะวรรณกรรมการแสดงที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตจริงและมีอิทธิพลในการพัฒนารสนิยมในการละครของชาวไทยในสมัยนั้นโดยตรง ผู้เขียนหวังว่าวิทยานิพนธ์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่จะนำวิธีการในการวิจัยไปใช้ศึกษาวรรณกรรมประเภทอื่นๆซึ่งจะส่งเสริมให้มีการศึกษาวรรณกรรมทางด้านที่มากกว้างขวางขึ้นและมีการประเมินคุณค่าของวรรณกรรมโดยคำนึงถึงลักษณะสังคมในสมัยผู้แต่ง
Other Abstract: This thesis is a close study of the influence of western drama especially English and French, on King. liana VI's plays. The study is made in order of the influences: that were adopted by King Sana VI in his plays. First, an analysis of the original eighteenth century English playa The Rivals and The School for Scandal which were primarily adopted into Thai by King- Rama VI is made to find the various techniques used in the texts. When the adapted Thai plays from these plays are examined, it is, clear that King Rama VI adopted particular techniques. Further analysis that of the French plays compared to that of the adapted Thai plays from French origin -reveals that the adapted Thai plays made use not only of the French dramatic techniques; which are distinct from the English ones but also the formerly adopted techniques from English plays. At the sane tine, it is found that King Rama VI was considerably particular in selecting techniques derived from western drama to employ in his adapted Thai plays to suit his Thai audience. Next, an analysis of the original nine¬teenth and twentieth century English plays and the adapted Thai ones reveals all the western technical influences effectively employed in the adapted Thai versions : the dramatic techniques, from the two eighteenth century English plays, French plays and nineteenth and twentieth century English plays. Then, when King Rams VI’s original plays are analysed, it is found that he carried both English and French technical influences into his new plays but not arbitrarily without criteria, nor without adaptation. The suitability of the western dramatic influence found in King; Rama VI's plays makes them acceptable to the Thai audience even in the new plays. It is evident that King Rama VI had certain criteria in accepting certain influences in his plays. In the analysis of the adapted Thai plays from the original eighteenth century English plays, it has been discovered that these adapted plays have assumed Thai characteristics suitable for Thai social conditions and Thai audience at that time To obtain these Thai characteristics, King, Rama VI held specific principles in constructing, his plays: brevity, simplicity, clarity and appropriateness considering Thai dramatic conventions and culture well known to the Thai audience. The study of the adapted Thai plays from French indicates that King Rama VI also maintained these, principles. Finally, the study of both the adapted Thai plays from the nineteenth and twentieth century English plays and the King's original Thai plays proves constant use of these principles,. Therefore, it is clear that acceptance of western dramatic influence in King Rama VI's plays, either in the form of techniques of presentation, the theme or characterization, is controlled by these prin¬ciples. As a result, the plays of Mug Rama VI always have Thai characteristics and their own format: the plot having primary importance, fast story development, emphasis on the development of the play rather than dialogue, the events and action appropriate to Thai audience. His plays aim to teach morality and to enlarge the knowledge of human nature and some aim to arouse a sense of collectivism and patriotism in the Thai audience through entertainment. Some other distinguished characteristics of western drama: witty dialogue and subtle characterization were not adopted by King Rama VI because these would not yet be appreciated and therefore were likely to be rejected by Thai audience who had a different dramatic background from that of the western audience. As a result, this study informs the readers of the source of Xing Rama VI's plays, his techniques, and his dramatic principles Besides, the work is hoped to enhance the appreciation of King Rama VI's dramatic talent his skill and his choice in accepting western dramatic influence in his plays, His plays hove proved to be very successful as dramatic literature because they have close contact with real life and have direct influence our the development of contemporary Thai taste in drama This thesis is hoped to be useful to those interested in adopting this method of study in studies, of other literary branches. This will, eventually pro¬mote the study of literary source and evaluation of literature with regard to social conditioning and the time of composition.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22953
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntaga_Pl_front.pdf647.74 kBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch1.pdf514.83 kBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch2.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch3.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch4.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch5.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch6.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_ch7.pdf358.06 kBAdobe PDFView/Open
Nuntaga_Pl_back.pdf639.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.