Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22989
Title: | คำกริยาวิเศษณ์ในภาษาไทย |
Other Titles: | Adverbs in the Thai language |
Authors: | บังอร ฤทธาภรณ์ |
Advisors: | วิจินตน์ ภาณุพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ |
Issue Date: | 2513 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาหน้าที่และรูปของคำกริยาวิเศษณ์ในภาษาไทย ข้อมูลที่ศึกษาส่วนใหญ่ได้เก็บรวบรวมมาจากภาษาพูดที่ชาวกรุงเทพฯใช้ชีวิตประจำวัน ผลของการวิจัยสรุปได้ว่าคำกริยาวิเศษณ์ซึ่งมีทั้งหมดห้าหมวด คือคำในหมวดคำกริยาวิเศษณ์ คำในหมวดกริยาวิเศษณ์-คุณศัพท์ คำในหมวดกริยาวิเศษณ์-อกรรมกริยา คำในหมวดกริยาวิเศษณ์ – คุณศัพท์ – อกรรมกริยา และคำในหมวดกริยาวิเศษณ์-สกรรมกริยา – บุพบท อาจแบ่งออกตามจำนวนหน้าที่ได้เป็นห้าชนิด คือชนิดที่ทำหน้าที่ได้อย่างเดียวจนถึงห้าอย่าง และเมื่อพิจารณาดูรูปของคำเหล่านี้ ปรากฏว่าคำในหมวดกริยาวิเศษณ์อาจแบ่งออกตามรูปได้เป็นสามประเภท คือประเภทที่มีรูปเป็นคำเดี่ยวอย่างเดียว ประเภทที่มีรูปเป็นคำเดี่ยวก็ได้ คำซ้ำก็ได้และประเภทที่มีรูปเป็นคำซ้ำอย่างเดียว ประเภทหลังนี้อาจแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้อีกสองประเภท ได้แก่ประเภทที่ซ้ำทีละคำ และประเภทที่ซ้ำทีละพยางค์ คำในหมวดคำกริยาวิเศษณ์-คุณศัพท์ และในหมวดคำกริยาวิเศษณ์-อกรรมกริยา อาจแบ่งออกตามรูปได้เป็นสองประเภท คือประเภทที่มีรูปเป็นคำเดี่ยวอย่างเดียวและประเภทที่มีรูปเป็นคำซ้ำอย่างเดียว ส่วนคำในหมวดกริยาวิเศษณ์-คุณศัพท์-อกรรมกริยา และคำในหมวดคำกริยาวิเศษณ์-สกรรมกริยา-บุพบท เมื่อพิจารณาดูรูปคำปรากฏว่ามีเพียงประเภทเดียว คือประเภทที่มีรูปเป็นคำเดี่ยว กริยาวิเศษณ์วลีอาจแบ่งออกตามลักษณะของคำที่ประกอบกันเข้าเป็นวลีได้เป็นหกประเภท และอาจแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็นสองชนิด คือชนิดที่ปรากฏได้เฉพาะในประโยคบอกเล่า และชนิดที่ปรากฏได้ทั้งในประโยคบอกเล่าและในประโยคปฏิเสธ ผลการวิจัยได้เสนอเป็นสี่บท คือบทที่หนึ่งเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัย บทที่สองกล่าวถึงคำในหมวดกริยาวิเศษณ์และคำในหมวดคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำในหมวดกริยาวิเศษณ์ รวมทั้งหมดเก้าหมวดและได้แบ่งคำทั้งเก้าหมวดนี้ออกเป็นหมวดย่อย หลังจากนั้นได้ศึกษาถึงรูปของคำกริยาวิเศษณ์ว่าคำในหมวดคำใดมีรูปเป็นคำเดี่ยว หรือมีรูปเป็นคำซ้ำอย่างไร บทที่สามศึกษาเรื่องกริยาวิเศษณวลี และได้แบ่งกริยาวิเศษณวลีออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะของคำที่ประกอบกันเข้าเป็นวลีและได้แบ่งกริยาวิเศษณวลีออกเป็นสองชนิด คือชนิดที่ปรากฏได้เฉพาะในประโยคบอกเล่า และชนิดที่ปรากฏได้ทั้งในประโยคบอกเล่าและในประโยคปฏิเสธ บทที่สี่สรุปผลการวิจัยและเสนอข้อเสนอแนะให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องลักษณะของภาษาไทยได้ศึกษาเรื่องความหมายของคำกริยาวิเศษณ์ หรืออาจจะศึกษาเรื่องตำแหน่งหน้าที่และความหมายของคำในหมวดคำอื่นๆในแนวเดียวกับการศึกษาเรื่องคำกริยาวิเศษณ์ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ สุดท้ายเป็นภาคผนวกซึ่งได้รวบรวมรายการคำของคำในหมวดคำสองหมวด คือ คำในหมวดกริยาวิเศษณ์ และคำในหมวดกริยาวิเศษณ์-อกรรมกริยา และได้รวบรวมรายการของกริยาวิเศษณวลีอีกหนึ่งประเภท พร้อมด้วยตัวอย่าง |
Other Abstract: | This thesis aims at studying the functions and forms of adverbs in the Thai language. The data were drawn mostly from conversational speech of the people who use the Bangkok dialect.lt has been found that adverbs in the Thai language may be classified by their positions into five classes : (1) adverbs,(2) adjective-adverbs,(3) intransitive -adverbs, (4) intransitive-adjective-adverbs, and (5 ) transitive-preposition-adverbs. These words may be again classified by their combined functions into five groups and by their forms into three groups. Some of the words in class 1 (adverbs) appear in simple forms only, others appear in both simple forms and reduplicated forms and the remainder appears in reduplicated forms only. Class 2 words(adjective-adverbs) and class 3 words(intransitive-adverbs) appear either in simple forms only or in reduplicated forms only. The words in the other two classes :class words(intransitive-adjective-adverbs) and; class 5 words(transitive-preposition-adverbs) appear in their simple forms only, When adverbs appear in adverbial phrases, the phrases can be classified into six groups according to their constituents, and can be class¬ified into two groups according to whether they occur in positive sentences only or in both positive and negative sentences. The writer suggests that students of the Thai language might study the meanings of adverbs or study the functions and meanings of words in other classes along the same lines as the present study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2513 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22989 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bung-orn_Ri_front.pdf | 314.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bung-orn_Ri_ch1.pdf | 185.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bung-orn_Ri_ch2.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bung-orn_Ri_ch3.pdf | 796.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bung-orn_Ri_ch4.pdf | 294.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bung-orn_Ri_back.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.