Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23011
Title: | จริยศึกษาของสตรีไทยในสุภาษิตสอนหญิงคำกลอน |
Other Titles: | The ethical study of Thai women in Subhasit Son Ying Kham Klon |
Authors: | พัชนี อัยราวงษ์ |
Advisors: | ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาคำสอนสำหรับสตรีในเรื่องสุภาษิตสอนหญิงในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ และศึกษาเกี่ยวกับปัญหาผู้แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ด้วย ในบทที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงสาเหตุที่เลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ว่า เนื่องจากผู้เขียนสนใจคตินิยมเกี่ยวกับสตรีในสมัยนั้นว่า ควรประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร คำสอนในวรรณคดีเรื่องนี้เปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมของสังคมในเรื่องของสตรีได้อย่างดี นอกจากนี้ผู้เขียนยังสนใจที่จะศึกษาว่า คำสอนทั้งหลายในวรรณคดีเล่มนี้มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดหากจะใช้สำหรับสั่งสอนจรรยาแก่สตรีไทยในปัจจุบัน อีกประการหนึ่ง มีผู้กล่าวกันว่า สุภาษิตสอนหญิงนี้มิใช่ผลงานของสุนทรภู่ดังเคยเชื่อกันมาช้านาน ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัญหาผู้แต่งด้วยในบทที่ 2 เป็นการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผู้แต่ง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนคือ สาเหตุที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า สุนทรภู่แต่งสุภาษิตสอนหญิง, ความคิดของผู้เขียน และสรุป การที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาผู้แต่งในบทนี้ก็เพื่อต้องการศึกษาเสียก่อนว่า วรรณคดีเรื่องนี้ควรเป็นวรรณคดีในสมันใด เพื่อประโยชน์ในการวิจารณ์ต่อไป ในบทที่ 3 เป็นการศึกษาคำสอนในสุภาษิตสอนหญิงอย่างละเอียด ว่าผู้แต่งสอนให้สตรีในสมัยนั้นปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง คำสอนในทำนองเดียวกันนี้มีปรากฏในวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ในยุคเดียวกันอย่างไรบ้าง บทนี้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อสำคัญคือ การครองตน กิริยามรรยาท การปฏิบัติต่อบิดามารดา การเลือกคู่ครอง การปฏิบัติต่อสามี บทที่ 4 เป็นบทวิจารณ์คำสอนตามหัวข้อต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 3 และบทที่ 5 เป็นบทสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to write a critique on various poems with regard to training ladies in the old days in the Thai literature called “Subhasit Son Ying", and on its author named "Poo". In the first chapter, I express my interest in ascertaining how the poems reflect the "social value" of female behavior in the old days and relate to training women nowadays. I am also interested to find out whether the authentic author of these poeme is the same person as the most famous Thai poet, "Soontorn Poo”. Therefore, I devote the entire second chapter to the allégation the they are not the sane person and offer my personal opinoin as to the period in which there poems were most likly composed, The third chapter analyzes the poems in détail and in relation to other Thai literary works in the same period. The analysis portrays how ladies should behave themselves, treat their parents, select their spouses, and treat their husbands. The fourth. chapter includes a critique occordingly. The last chapter summarizes the result of this study and suggestions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23011 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pachanee_Iy_front.pdf | 411.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachanee_Iy_ch1.pdf | 491.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachanee_Iy_ch2.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachanee_Iy_ch3.pdf | 2.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachanee_Iy_ch4.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachanee_Iy_ch5.pdf | 272.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pachanee_Iy_back.pdf | 374.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.