Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23054
Title: ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
Other Titles: Cost of maize seed production
Authors: เพ็ญศรี เลาหกุลจิตต์
Advisors: จำเนียร บุญมา
ธารี หิรัญรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ต้นทุนการผลิต
ข้าวโพด -- แง่เศรษฐกิจ
เมล็ดพันธุ์ -- แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศที่มีแนวโน้มความต้องการในประเทศและต่างประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากพื้นที่ในการเพาะปลูกโดยทั่วไปมีปริมาณจำกัด ดังนั้นการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีและได้มาตรฐานจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยทำให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10-50 ทั้งยังได้ผลผลิตที่คุณภาพที่ดี ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าจ้างแรงงาน เวลาในการปลูกใหม่ สารเคมีสำหรับป้องกันโรคและกำจัดโรคแมลงและเป็นการใช้พื้นที่ปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลทำให้รายได้ของเกษตรกรสูงขึ้นกว่าเดิมในระยะเวลาและในการเลี้ยงเท่ากัน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวโพด พันธ์สุวรรณ 1 ตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวและนำมาแปรสภาพในโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ ในปี 2524/25 โดยเลือกทำการศึกษาและวิจัยผลิตพันธุ์หลักพันธุ์สุวรรณ 1 จากศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟางแห่งชาติ เป็นตัวแทนในการผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก และการผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายพันธุ์สุวรรณ 1จากศูนย์ขายายพันธุ์ 1 2 4 และ 5 ของกรมส่งเสริมเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนในการศึกษาและวิจัยเมล็ดพันธุ์จำหน่าย โดยรวบรวมข้อมูลจากศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟางแห่งชาติ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชของกลุ่มส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนเอกสารและหนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์หลักต่อไร่เป็นเงิน 2.710.49 บาท และต้นทุน 1 กิโลกรัม เท่ากับ 7.56 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนมากจะเป็นประเภทค่าใช้จ่ายแรงงาน ซึ่งเฉลี่ยประมาณร้อยละ 36.35 ของต้นทุนผันแปรและผลิตต่อไร่เท่ากับ 345.80 กิโลกรัม ส่วนต้อทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายต่อปริมาณการผลิตได้ของแต่ละศูนย์เท่ากับ 14.20 1533 12.81 และ 13.84 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ หรือเฉลี่ยเท่ากับ 14.12 บาทต่อกิโลกรัม ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อเมล็ดพันธุ์คืนจากแปลงขยายพันธุ์เฉลี่ยประมาณร้อนละ 22.17 ของต้นทุนทั้งหมดและผลผลิตต่อไร่ถั่วเฉลี่ยเท่ากับ 216.13 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลควรจะส่งเสริมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีและมีคุณภาพให้ได้มาตรฐานในภาคเอกชนและรัฐบาลมากยิ่งขึ้นแต่ในการกำหนดราคาเมล็ดพันธุ์ของรัฐบาลควรคำนึงต้นทุนกรผลิตเมล็ดพันธุ์ในกรณีที่เอกชนดำเนินการผลิตด้วย ปัญหาที่สำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก คือ ปัญหาในการปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ปัญหาเกี่ยวกับการผลิต ตลอดจนถึงปัญหาด้านการตลาด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ในการช่วยแก้ไขปัญหาซึ่งผู้เขียนได้เสนอข้อเสนอแนะบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นดังนี้คือ 1. รัฐบาลควรสนใจในการให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนจัดให้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้าใจถึงประโยชน์ของเมล็ดพันธุ์ วิธีการปลูกที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเลือกประเภท ชนิดยี่ห้อ ของเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการปลูก และการเก็บเกี่ยวรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ได้ เป็นต้น 2. รัฐบาลควรกำหนดนโยบายด้านการผลิต การจำหน่าย การควบคุมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างมีมาตรฐาน เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจแก่เอกชนผู้ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์และในขนาดที่ภาคเอกชนยังไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการของตลาด รัฐบาลควรจะเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการจูงใจให้มีการผลิตในส่วนเอกชนมากขึ้น โดยเมื่อใดที่เอกชนสามารถผลิตได้เพียงพอ รัฐบาลก็ไม่ควรแข่งขันกับเอกชน 3. ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ควรคำนึงถึงเรื่องต้นทุนการผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์เพราะถ้าลดต้นทุนการผลิตลงได้ ราคาที่จำหน่ายก็จะลดลงไปด้วย ซึ่งทำให้เกษตรกรที่ยากจนสามารถซื้อเมล็ดพันธุ์ได้ ในเวลาเดียวกันผู้ผลิตต้องคำนึงถึงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย ถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ได้คุณภาพในระยะต่อไปเกษตรกรจะหมดความเชื่อถือและจะเลิกใช้เมล็ดพันธุ์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์โดยตรง
Other Abstract: Maize is one of the most important economic crops of the country and its demand both in Thailand and abroad is increasing. Due to limitation in cultivated areas, the use of the best and up to standard maize seed is the necessary factor in increasing the yield by 10-50 % per rai. This would improve the quality of the grain and reduce costs such as the cost of seeds, labour, time, pesticide and fertilizer, which in turn would help better income for farmers. The objective of this thesis is to study the cost of production of maize seed, Suwan 1, in 1983/84. The study on the cost of production of maize foundation seed was based on the production at the Thai National Corn and Sorghum Research Center while the study on the cost of produc¬tion of certified maize seed was based on the production of the Extension Center 1, 2, 4 and 5 of the Department of Agricultural Extension. The study revealed that the cost of production of maize founda¬tion seed was 2,710.45 Baht per rai and 7,56 Baht per kilogram. Labour cost averaged approximately 36.35% of variable cost. The yield per rai was 345.80 kilograms. The cost of production of certified maize seed per kilogram was 14,20 15.33 12.81 and 13.84.atExtension Center 1 2 4 and 5 respectively, making an average cost of 14.12 Baht per kilogram. The cost of purchasing seeds from the contract farmers amounts to about 22.17 percent of the total cost. The average yield per rai was 216.13 kilograms. However it was found that the total production of maize seed is insufficient comparing to the demand. Therefore, the government should promote production of standard maize seed both in the private and government sectors. In price selling, the government should also consider the cost of maize seed produced by private sector. Major Problems encountered in maize seed production are problems in cultivation, production and market distribution. To solve these problems, close cooperations among all concerned, both government and private sectors, are needed. The following are some recommendations and solutions to the problems. 1. Government should provide farmers with knowledge in proper utilization and cultivation of maize seed in order to improve the yield of maize production. 2. Government should have a clear cut policy concerning production and supply of standard maize seed to ensure continuous participation of seed producers from the private sector. At the early stage when production of maize seed from the private sector cannot yet meet the demand, the government should be the major supplier but when private sector's production can meet the demand the government should not then compete with private sector. 3. Seed producers should be aware of the cost of production and the quality of their seeds. The reduction in the cost of production would reduce selling price, thus enable maize seed to be more available to farmers, while consistent good quality of seeds will gain farmers’ confidence which would then enlarge their maize seeds business.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23054
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pensri_La_front.pdf538.74 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_La_ch1.pdf321.73 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_La_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_La_ch3.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_La_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_La_ch5.pdf570.08 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_La_back.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.