Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23093
Title: | การสร้างสมการทำนายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ จากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ |
Other Titles: | A construction of the equation predicting scienific creativity by the understanding of aspect and process of science / Paradee Thanuthep |
Authors: | ภารดี ธนูเทพ |
Advisors: | จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ความคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสมการสำหรับทำนายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ จากคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โปรแกรมวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2522 ของโรงเรียนรัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 800 คน และในจังหวัดชลบุรี จำนวน 150 คน รวมตัวอย่างประชากร 1,050 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับตัวอย่างประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นใช้สำหรับศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างสมการการทำนาย จำนวน 600 คน และใช้สำหรับทดสอบสมการทำนายที่ได้ จำนวน 300 คน ส่วนตัวอย่างประชากรในจังหวัดชลบุรี ใช้สำหรับทดสอบสมการทำนายที่ได้ทั้ง 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสมการถดถอยเพื่อทำนายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์จากคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย และค่าคงที่ของสมการถดถอย ทดสอบสมการที่ได้โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และทดสอบความแตกต่างทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากแบบทดสอบ กับคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากสมการทำนาย โดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สมการทำนายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์จากคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนทางวิทยาศาสตร์ คือ Y = 2.68X – 33.67) ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น 0.707 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to construct the equationfor predicting scientific creativity by using the understanding scores of aspect and process of science and to determine the relationship between the scientific creativity and the understanding of aspect and process of science of upper secondary school students, The Sample of this research were 1,050 upper secondary school students- in science program of the academic year 1977. Nine hundred. students were randomly sampled from the upper secondary school students in Bangkok metropolis where as 600 students were used as the sample for studying relationship- between the scientific creativity and the understanding of aspect and process of science as well as to construct the equation for predicting scientific creativity, and 300 students were used as the sample for testing the predicting equation. One hundred and fifty students were randomly sampled from the upper secondary school students in Cholburi Province for testing the predicting equation. Data collected by using the Scientific Creativity Test and the Understanding of Aspect and Process of Scienct Test were analyzed by using the Pearson's Product Moment Correlation Coefficient the regression analysis and t-test. The results of this study showed that the predicting equation is Y = 2.68X - 33.67. The simple corelation coefficient obtained between the science creativity and the understanding of aspect and process of science was 0.707 which was significant at the 0.01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23093 |
ISBN: | 9745622745 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paradee_Th_front.pdf | 416.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paradee_Th_ch1.pdf | 460.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paradee_Th_ch2.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paradee_Th_ch3.pdf | 444.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paradee_Th_ch4.pdf | 313.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paradee_Th_ch5.pdf | 460.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paradee_Th_back.pdf | 922.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.