Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23106
Title: ความสามารถในการสื่อสารของผู้หญิงไทยที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติอเมริกัน
Other Titles: Thai Working Women's Communication Competence in the U.S. Multinational Companies
Authors: จันทร์จิรา อาภาเขต
Advisors: นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพ และการยอมรับผู้หญิงไทยที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติอเมริกันในประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของผู้หญิงไทย รวมถึงลักษณะของผู้หญิงไทยที่มีความสามารถ และไม่มีความสามารถในการสื่อสาร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติอเมริกัน 12 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้สัมภาษณ์เจาะลึก ชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้หญิงไทยที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติอเมริกันได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถมากขึ้นกว่าในอดีต รวมทั้งมีผู้หญิงอยู่ในระดับบริหารมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่าสถานภาพของผู้หญิงยังคงต่ำกว่าผู้ชายเนื่องจากสัดส่วนของจำนวนผู้บริหารระดับสูงของผู้หญิงไทยยังน้อยกว่าผู้ชาย 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับผู้หญิง ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการทำงาน ตำแหน่งในการทำงาน ระดับการศึกษา สถาบันการศึกษา สถานศึกษาใน/ต่างประเทศ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ 3. ลักษณะของผู้หญิงไทยที่มีความสามารถในการสื่อสาร เป็นผู้ที่มีบุคลิกดี เปิดเผย ใจกว้าง และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำในลักษณะที่ไม่ก้าวร้าว มีความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในองค์กรและมีจริยธรรมในการทำงาน นอกจากนี้ผู้หญิงไทยที่มีความสามารถในการสื่อสารยังเป็นผู้ที่มีวิธีการ และพฤติกรรมการสื่อสารที่ได้รับการยอมรับ รวมถึงมีทักษะในการเป็นผู้นำ ทักษะในการสั่งงาน ทักษะในการรับฟัง ทักษะในการสร้างเครือข่ายการสื่อสาร และทักษะในการทำงานเป็นทีม 4. ลักษณะของผู้หญิงไทยที่ไม่มีความสามารถในการสื่อสารเป็นผู้ที่มีกิริยาท่าทางเชื่องช้า ไม่กระฉับกระเฉงเคร่งเครียด ชอบแสดงสีหน้าบูดบึ้ง และมีท่าทางหลุกหลิก ไม่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีวิธีการ และพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่ได้รับการยอมรับ พูดถึงผู้อื่นลับหลัง รวมถึงไม่มีทักษะในการเป็นผู้นำ ทักษะในการเปิดรับข้อมูลในองค์กร ตลอดจนไม่มีกาลเทศะ และมารยาทในการสื่อสาร ขาดความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในองค์กร ไม่มีจริยธรรมในการทำงาน และขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์
Other Abstract: The purposes of this survey research were to investigate the acceptance of Thai women’s work roles and status, the factors affecting the acceptance of their work competence, and the characteristics of communicatively competent and incompetent Thai working women in the U.S. multinational companies in Thailand. Questionnaire data (N = 198) were collected from 12 U.S. multinational companies in Bangkok and 5 in-depth interviews of the expatriates who worked in these companies were also conducted. Results of the study indicated that: 1. Today, Thai women who work in the U.S. multinational companies in Thailand gain more acceptance in work competence. However, the study results reveal that the number of Thai women who work in the top management level is much smaller than men. 2. The factors which affected the acceptance of Thai women’s work roles and status are age, marital status, work experience, work positions, educational background, and the levels of English competency and computer literacy. 3. The communicatively competent Thai working women were found to possess good personalities, work moralities, and organizational knowledge. They were also found to be open-minded, to be self-confident, to be assertive not aggressive in giving their opinions and ideas. Furthermore, the characteristics of communicatively competent Thai working women had to do with possessing appropriate communication styles, leadership skills, giving instructions/orders skills, listening skills, networking skills and teamworking skills. 4. The communicatively incompetent Thai working women were found to show inactive, stressful, untactful and immature personalities and mannerism. The study results also indicated that they had no work moralities; lacked organizational knowledge and ability to control self-emotion. They also used inappropriate communication styles, talked behind other’s back, and had inadequate leadership skills and seeking information skills.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23106
ISBN: 9741706081
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanjira_ar_front.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Chanjira_ar_ch1.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Chanjira_ar_ch2.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open
Chanjira_ar_ch3.pdf10.05 MBAdobe PDFView/Open
Chanjira_ar_ch4.pdf49.31 MBAdobe PDFView/Open
Chanjira_ar_ch5.pdf14.85 MBAdobe PDFView/Open
Chanjira_ar_back.pdf41.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.