Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23129
Title: ความคิดเห็นของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีต่อบทบาทและกิจกรรม ของคุรุสภา
Other Titles: Opinions of teachers in Northeastern Region concerning the roles and activities of Teacher Institute
Authors: ปกรณ์ สำราญทรัพย์
Advisors: สุรัฐ ศิลปอนันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค การดำเนินงานของคุรุสภา โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับความต้องการของครูที่มีต่อบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 4. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน และวุฒิต่างกันเกี่ยวกับบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีแบบสอบถามรวมทั้งหมด 3 แบบ คือ แบบให้เลือกตอบ แบบมาตรประมาณค่า และแบบปลายเปิด แบบสอบถามที่สร้างเสร็จได้นำไปทดลองสอบ เพื่อหาข้อบกพร่องและแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้น ต่อจากนั้นจึงใช้เป็นแบบสอบถามส่งให้แก่ตัวอย่างประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งเป็นพวกหรือชั้น และเกณฑ์การสุ่มในอัตราร้อยละ 20 จากจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืน 345 ฉบับ มีแบบสอบถามที่ตอบอย่างสมบูรณ์จำนวน 342 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าอัตราส่วนร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าคะแนนที (t-test) ผลการวิจัย ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1. จากค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยส่วนรวมของครู ครูมีความคิดเห็นว่าการดำเนินงานประเภทต่าง ๆ ที่คุรุสภาจัดทำอยู่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ “การจัดของคุรุสภายังมีข้อบกพร่อง” โดยเห็นว่าจากงานที่คุรุสภาจัดทำทั้งหมด 51 ประเภท มีงานที่แสดงว่าการจัดของคุรุสภายังมีข้อบกพร่องอยู่ 39 ประเภท ส่วนงานที่แสดงว่าคุรุสภาจัดได้ดีมีจำนวน 12 ประเภท งานที่ครูเห็นว่าการจัดของคุรุสภายังมีข้อบกพร่องส่วนใหญ่ได้แก่งานด้านสวัสดิการ งานที่ครูเห็นว่าคุรุสภาจัดได้ดี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่างานประเภทอื่น ได้แก่ การจัดตั้งองค์การช่วยเพื่อนสมาชิกคุรุสภา (ช.พ.ค.) การอบรมเพื่อการศึกษรระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน (อ.ศ.ร.) การอบรมเพื่อเตรียมสอบวิชาชุดครู ป.กศ. และ ป.ม. การจัดพิมพ์ตำราวิชาชุดครูวิชาต่าง ๆ การออกวารสารวิทยาจารย์และวารสารประชาศึกษา งานที่ครูเห็นว่าการจัดของคุรุสภายังมีข้อบกพร่อง มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่างานประเภทอื่น ได้แก่ การช่วยลดค่าครองชีพให้แก่สมาชิกโดยให้มีร้านตัดเสื้อผ้าราคาถูกกว่าท้องตลาด การจัดสรรที่ดินสำหรับสมาชิกคุรุสภา การสร้างบ้านพักตากอากาศสำหรับสมาชิกคุรุสภา การช่วยเหลือจัดพาหนะบริการสมาชิกคุรุสภา การจัดสร้างบ้านพักสมาชิกคุรุสภาในต่างจังหวัด 2. จากความคิดเห็นของครูส่วนใหญ่ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของคุรุสภา ได้แก่ ครูให้ความสนใจในการดำเนินงานของคุรุสภาไม่มากเท่าที่ควร คุรุสภาไม่สามารถเผยแพร่ข่าวการดำเนินงาน และให้บริการแก่ครูได้อย่างทั่วถึง 3. ครูต้องการให้คุรุสภาแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานทางด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการ และด้านการบริหารงานบุคคลแทน ก.พ. และ ก.จ. อีกมาก งานประเภทต่าง ๆ ที่คุรุสภาจัดทำอยู่และครูสนใจมากเป็นอันดับแรกได้แก่ งานด้านวิชาการรองลงมาได้แก่งานด้านสวัสดิการ และอันดับสุดท้าย ได้แก่งานด้านการบริหารงานบุคคล 4. ครูที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน ซึ่งได้แก่ครูประจำการ และผู้บริหารการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 98 และ ร้อยละ 95 ปรากฏในงาน รวมทั้งหมด 3 ประเภท จากจำนวนงานทั้งหมด 51 ประเภท ส่วนครูที่มีวุฒิต่างกัน ซึ่งได้แก่ครูที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ร้อยละ 98 และร้อยละ 95 ปรากฏในงานรวมทั้งหมด 10 ประเภท จากจำนวนงานทั้งหมด 51 ประเภท
Other Abstract: The Purposes of the Study : 1. To analyse the opinions of the teachers in northeastern region on the roles and activities of Teacher Institue 2. To study the opinions of the teachers on the problems concerning Teacher Institute with focus on its roles and activities 3. To study the needs of the teachers concerning the roles and activities of Teacher Institute 4. To compare the opinions of the teachers with different functions and academic degrees on the roles and activities of Teacher Institute Research Methods : Three types of questionnaires constructed by the researcher were used for data collection; they are multiple choice, rating scale and open-ended. The questionnaires were pretested before actual distribution to selected samples in northeastern region. The researcher employed a stratified random sampling teachnique to draw 20 percent of population concerned to include in the study. Three hundred and forty-five questionnaires were returned of which 342 were completed and usable. After a careful edition, coding and scoring the data were analyzed and presented in the forms of percentages, mean, standard deviation and t-test Research Results : Some of main findings can be presented as followed : 1. On the whole the teachers perceived Teacher Institute operations as ‘having defects.’ Thirty-nine out of 51 activities operated by Teacher Institute were defective, particularly welfare promotion programs. Some of activities were considered ‘good’. These include Death Benefit Programs for follow teachers, Summer Courses for Qualitfication Promotion, Preparation Course for Teachers Examination, Textbooks for Teachers Examination and professional journal publication Wittayacharn and Prachasueksa. Activities considered as having defects were such as tailoring service, land arrangement, summer hosteling, transportation service, and teachers hostel an the provinces. 2. Problems and obstacles faced by Teacher Institute, according to the teachers’ perception, were that the teachers did not pay much interest in Teacher Institute, Teacher Institute were not able to distribute its movements and services to cover most of the teachers in all areas. 3. The teachers need to see that Teacher Institute substantially improve its operations in all aspects namely, welfare promotion, academic promotion and personnel administration programs. The areas that most of the teachers have shown great interest in were academic promotion, welfare promotion and personnel administration programs, respectively. 4. The educational administrators and classroom teachers’ opinions were significantly different at 98 and 95% levels of confidence on 3 out of 51 activities while classroom teachers with different qualifications have significantly different opinions on 10 out of 51 activities at 99, 98 and 95 levels of confidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23129
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakorn_Su_front.pdf495.48 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_Su_ch1.pdf458.09 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_Su_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_Su_ch3.pdf376.05 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_Su_ch4.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_Su_ch5.pdf819.05 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_Su_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.